นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวว่า หลังจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้ลงพื้นที่ทำความเข้าใจและชี้แจงข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และประเด็นคำถามเพิ่มเติมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความเข้าใจมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงโค้งสุดท้ายก่อนออกเสียงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ จึงเร่งจัดเวทีสร้างความเข้าใจอีก 6 เวทีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 23-24 กรกฎาคมนี้ เพื่อให้ครอบคลุมทั่วถึง 50 เขตของกรุงเทพมหานคร โดยเป็นการนำเสนอข้อมูลให้ประชาชนได้รับทราบรายละเอียดมากขึ้นก่อนตัดสินใจออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงท้าย เพื่อให้เห็นที่มาและความสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ และชี้แจงกระแสข่าวต่างๆ ให้ประชาชนเข้าใจข้อเท็จจริง โดยยืนยันว่าเป็นการสร้างความเข้าใจ ไม่ใช่การชี้นำประชาชนแน่นอน และให้ประชาชนตัดสินใจเองบนพื้นฐานของความถูกต้อง ซึ่งที่สำคัญให้มองถึงประโยชน์ที่ประเทศชาติและประชาชนจะได้รับ จากนั้นจะนำข้อมูลที่ได้ในทุกเวทีมารวบรวมถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อประเมินต่อไป
รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จัดเวทีดีเบตร่างรัฐธรรมนูญฯ ว่า สามารถจัดขึ้นได้เพื่อให้ประชาชนที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างหรือเห็นตรงกันได้แสดงความคิดเห็น ถือเป็นเรื่องที่ดีและเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นต่างๆ ได้ ส่วนประเด็นจะโยงไปสู่ความขัดแย้งหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้ที่รับผิดชอบในแต่ละเวทีดีเบต ในการควบคุมการแสดงความคิดเห็นของประชาชนให้อยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง ซึ่งต้องไม่ปล่อยให้เกิดการรื้อฟื้นปัญหาความขัดแย้งเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมาถกเถียงกันอีก ที่สำคัญผู้แสดงความคิดเห็นเองต้องเคารพความคิดเห็นที่แตกต่างด้วยเช่นกัน
รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จัดเวทีดีเบตร่างรัฐธรรมนูญฯ ว่า สามารถจัดขึ้นได้เพื่อให้ประชาชนที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างหรือเห็นตรงกันได้แสดงความคิดเห็น ถือเป็นเรื่องที่ดีและเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นต่างๆ ได้ ส่วนประเด็นจะโยงไปสู่ความขัดแย้งหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้ที่รับผิดชอบในแต่ละเวทีดีเบต ในการควบคุมการแสดงความคิดเห็นของประชาชนให้อยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง ซึ่งต้องไม่ปล่อยให้เกิดการรื้อฟื้นปัญหาความขัดแย้งเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมาถกเถียงกันอีก ที่สำคัญผู้แสดงความคิดเห็นเองต้องเคารพความคิดเห็นที่แตกต่างด้วยเช่นกัน