นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (มปท.) ได้เผยแพร่ถ่ายทอดสดเฟสบุ๊กไลฟ์ ผ่านเพจSuthep Thaugsuban (สุเทพ เทือกสุบรรณ) ถึงเหตุผลการรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับของ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ว่าเรื่องที่น่ากลัวที่สุดคือ การทุจริตในวงราชการ โดยนักการเมือง ผู้มีอำนาจ และเจ้าหน้าที่รัฐท้งหลาย ซึ่งในร่างรัฐธรรมนูญฉบับได้ระบุให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นผู้ปราบโกง ซึ่งได้กำหนกหน้าที่ของ ป.ป.ช. ไว้ ใครก็ตามแต่ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตำแหน่งในองค์กรอิสระ ถ้าคนเหล่านี้ถ้าถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ หรือทุจริตต่อหน้าที่ จงใจปฏิบัติหน้าที่ขัดต่อกฎหมายต้องเจอ ป.ป.ช. หรือแม้ไม่ผิดกฎหมาย แต่ถ้าฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตราฐานตามจริยธรรม นี้ก็ให้เป็นอำนาจ ป.ป.ช.ไต่สวนได้
ทั้งนี้ ซึ่งเมื่อร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติแล้ว ทางกรธ.ก็จะร่างกฎหมายลูกว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตขึ้นมาอีก ซึ่งในกฎหมายนั้นจะกำหนดว่า ป.ป.ช. จะต้องใต่สวนข้อเท็จจริงของบรรดาผู้ที่ถูกกล่าวหาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด หมายความว่าจะดองเรื่องไว้ไม่ได้ ที่สำคัญอีกคือเมื่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษา ผู้นั้นจะต้องพ้นจากตำแหน่งทันที และถูกเพิกสิทธิ์การลงสมัครเลือกตั้งตลอดชีวิต และไม่สามรถดำรงตำหน่งใดๆทางการเมืองไม่ได้ด้วย นอกจากนี้ข้อดีมีอีกประเด็นคือ ป.ป.ช. เองก็ถูกตรวจสอบได้ด้วย ในมาตรา 236 ระบุชัดว่าส.ส. ส.ว. หรือทั้งสองสภารวมกัน มีจำนวน 1 ใน 5 สามารถยื่นเรื่องกล่าวหา ปปช.ได้ส่งเรื่องให้ประธานสภาของตนเอง เพื่อให้ส่วเรื่องไปยังศาลฎีกา ให้แต่งตั้งคณะผู้ไต่สวนอิสระที่เป็นกลางทางการเมือง ดำเนินการไต่สวน คณะกรรมการป.ป.ช.ได้ จากนั้นนำสำนวนการไต่สวนต่อศาลฎีกาให้วินิฉัยลงโทษได้เรียกได้ว่า ป.ป.ช. ก็ติดคุกได้ โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้สร้างระบบการถ่วงดุลเอาไว้เหมาะสมกับสภาพการณ์ของเมืองไทย
ทั้งนี้ ซึ่งเมื่อร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติแล้ว ทางกรธ.ก็จะร่างกฎหมายลูกว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตขึ้นมาอีก ซึ่งในกฎหมายนั้นจะกำหนดว่า ป.ป.ช. จะต้องใต่สวนข้อเท็จจริงของบรรดาผู้ที่ถูกกล่าวหาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด หมายความว่าจะดองเรื่องไว้ไม่ได้ ที่สำคัญอีกคือเมื่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษา ผู้นั้นจะต้องพ้นจากตำแหน่งทันที และถูกเพิกสิทธิ์การลงสมัครเลือกตั้งตลอดชีวิต และไม่สามรถดำรงตำหน่งใดๆทางการเมืองไม่ได้ด้วย นอกจากนี้ข้อดีมีอีกประเด็นคือ ป.ป.ช. เองก็ถูกตรวจสอบได้ด้วย ในมาตรา 236 ระบุชัดว่าส.ส. ส.ว. หรือทั้งสองสภารวมกัน มีจำนวน 1 ใน 5 สามารถยื่นเรื่องกล่าวหา ปปช.ได้ส่งเรื่องให้ประธานสภาของตนเอง เพื่อให้ส่วเรื่องไปยังศาลฎีกา ให้แต่งตั้งคณะผู้ไต่สวนอิสระที่เป็นกลางทางการเมือง ดำเนินการไต่สวน คณะกรรมการป.ป.ช.ได้ จากนั้นนำสำนวนการไต่สวนต่อศาลฎีกาให้วินิฉัยลงโทษได้เรียกได้ว่า ป.ป.ช. ก็ติดคุกได้ โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้สร้างระบบการถ่วงดุลเอาไว้เหมาะสมกับสภาพการณ์ของเมืองไทย