ร.ต.ต.เกรียงศักดิ์ โลหะชาละ ประธานสภากรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานการประชุมสภากรุงเทพมหานคร โดยมีม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คณะผู้บริหารกทม. สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
ทั้งนี้ในที่ประชุม ได้มีการรายงานผลการศึกษาของคณะกรรมการวิสามัญศึกษาแนวทางการบังคับใช้บัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการจัดเก็บค่าธรรมเนียมน้ำเสีย การบริหารทรัพยากรน้ำ และการบำบัดน้ำเสีย โดยเรือโทวารินทร์ เดชเจริญ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร กล่าวว่ากรุงเทพมหานครมีการออกข้อบัญญัติการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียมาตั้งแต่ปี 2547 แต่ยังไม่สามารถดำเนินการจัดเก็บได้ ดังนั้น จึงต้องมีการศึกษาเพื่อวางแนวทางในการจัดเก็บให้เกิดผลสำเร็จ
โดยจากการศึกษา จะเริ่มทำการจัดเก็บในพื้นที่ 8 บริเวณที่มีโรงบำบัดน้ำเสีย คือ บริเวณสี่พระยา รัตนโกสินทร์ ดินแดง ช่องนนทรี หนองแขม ทุ่งครุ จตุจักร บางซื่อ มีนบุรี ธนบุรีเหนือ คลองเตย หนองบอน ธนบุรีใต้ โดยมีการกำหนดประเภทการจัดเก็บในแหล่งกำเนิด คือประเภทหนึ่งบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย จัดเก็บในอัตราเหมาจ่าย 3 บาทต่อหลังต่อเดือน ซึ่งปัจจุบัน มีบ้านเรือนประมาณ 2 แสนราย คาดว่าจะจัดเก็บได้ประมาณ 100 ล้านบาทต่อปี โดยจะจัดเก็บร่วมไปกับการจัดเก็บค่าธรรมเนียมเก็บมูลฝอย ประเภทสองหน่วยงานราชการ โรงเรียน โรงพยาบาล อาคารต่างๆ จัดเก็บในอัตราเหมาะจ่าย ตามจำนวนการใช้น้ำ เริ่มตั้งแต่ 500 1,000 และ 1,500 บาท ซึ่งคาดว่า จะจัดเก็บได้กว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเจ้าของอาคารสามารถจ่ายได้ที่สำนักงานเขต หรือหน่วยงานต่างๆ ซึ่งได้ประสานงานไว้ ประเภทสาม กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ มีจำนวนกว่า 2,000 ราย ซึ่งจะจัดเก็บตามปริมาณการเกิดน้ำเสียจริง 4 บาทต่อโดยคาดว่าจะจัดเก็บได้ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเจ้าของอาคาร สามารถจ่ายได้ที่สำนักงานเขต หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่กรุงเทพมหานครได้ประสานงานไว้
ทั้งนี้ในที่ประชุม ได้มีการรายงานผลการศึกษาของคณะกรรมการวิสามัญศึกษาแนวทางการบังคับใช้บัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการจัดเก็บค่าธรรมเนียมน้ำเสีย การบริหารทรัพยากรน้ำ และการบำบัดน้ำเสีย โดยเรือโทวารินทร์ เดชเจริญ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร กล่าวว่ากรุงเทพมหานครมีการออกข้อบัญญัติการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียมาตั้งแต่ปี 2547 แต่ยังไม่สามารถดำเนินการจัดเก็บได้ ดังนั้น จึงต้องมีการศึกษาเพื่อวางแนวทางในการจัดเก็บให้เกิดผลสำเร็จ
โดยจากการศึกษา จะเริ่มทำการจัดเก็บในพื้นที่ 8 บริเวณที่มีโรงบำบัดน้ำเสีย คือ บริเวณสี่พระยา รัตนโกสินทร์ ดินแดง ช่องนนทรี หนองแขม ทุ่งครุ จตุจักร บางซื่อ มีนบุรี ธนบุรีเหนือ คลองเตย หนองบอน ธนบุรีใต้ โดยมีการกำหนดประเภทการจัดเก็บในแหล่งกำเนิด คือประเภทหนึ่งบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย จัดเก็บในอัตราเหมาจ่าย 3 บาทต่อหลังต่อเดือน ซึ่งปัจจุบัน มีบ้านเรือนประมาณ 2 แสนราย คาดว่าจะจัดเก็บได้ประมาณ 100 ล้านบาทต่อปี โดยจะจัดเก็บร่วมไปกับการจัดเก็บค่าธรรมเนียมเก็บมูลฝอย ประเภทสองหน่วยงานราชการ โรงเรียน โรงพยาบาล อาคารต่างๆ จัดเก็บในอัตราเหมาะจ่าย ตามจำนวนการใช้น้ำ เริ่มตั้งแต่ 500 1,000 และ 1,500 บาท ซึ่งคาดว่า จะจัดเก็บได้กว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเจ้าของอาคารสามารถจ่ายได้ที่สำนักงานเขต หรือหน่วยงานต่างๆ ซึ่งได้ประสานงานไว้ ประเภทสาม กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ มีจำนวนกว่า 2,000 ราย ซึ่งจะจัดเก็บตามปริมาณการเกิดน้ำเสียจริง 4 บาทต่อโดยคาดว่าจะจัดเก็บได้ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเจ้าของอาคาร สามารถจ่ายได้ที่สำนักงานเขต หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่กรุงเทพมหานครได้ประสานงานไว้