นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้รับเรื่องร้องเรียนจากสมาคม 9 สมาคมด้านปศุสัตว์สัตว์ปีก อาทิ สมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมเลี้ยงไก่เนื้อ สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อการส่งออก และสมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อเพื่อการส่งออก เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์ และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. ... ซึ่งได้เข้าสู่การพิจารณาของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งขาติ หรือ สนช. โดยเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อจำหน่ายเนื้อสัตว์ มีเจตนารมณ์เพื่อยกระดับมาตรฐานอาหารปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค เพื่อลดการใช้โรงฆ่าสัตว์เถื่อน ขณะเดียวกันจะเป็นการส่งเสริมมาตรฐานโรงฆ่าสัตว์ในประเทศให้ได้มาตรฐานสากลเพื่อการบริโภค และรองรับตลาดส่งออก แต่การเก็บค่าอากรและค่าธรรมเนียมจำหน่ายเนื้อสัตว์ของกฎหมายฉบับใหม่ จะจัดเก็บค่าอากรการฆ่าเพิ่มขึ้นตัวละ 2 บาท และค่าธรรมเนียมการจำหน่าย ไก่ เป็ด ห่าน อีกตัวละ 2 บาท ซึ่งปัจจุบันไม่ได้มีการเก็บค่าอากรการฆ่า และค่าธรรมเนียมการจำหน่ายสัตว์ปีกดังกล่าว ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนที่สูงขึ้น และผลักภาระให้กับผู้บริโภค จนต้องรับภาระราคาเนื้อสัตว์ปีกที่สูงขึ้น รวมทั้งยังอาจทำให้ผู้บริโภคเสี่ยงต่อการบริโภคเนื้อสัตว์ปีกที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เพราะต้นทุนที่สูงขึ้นอาจทำให้เกิดการลักลอบค้าสัตว์นอกโรงฆ่าสัตว์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้มีการปนเปื้อนและแพร่กระจายของโรคระบาดต่าง ๆ
นอกจากนี้ อาจทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกของไทย มีภาระต้นทุนเพิ่มขึ้น จนเกิดภาวะขาดทุนได้ รวมทั้งยังเป็นการลดขีดความสามารถในการแข่งขันในการส่งออก เพราะมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าคู่แข่ง เช่น บราซิล สหรัฐฯ และจีน
ทั้งนี้ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมด้านปศุสัตว์ ไม่ได้คัดค้านร่างพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อจำหน่ายเนื้อสัตว์ เพราะมองว่าจะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมปศุสัตว์ของไทยให้ได้มาตรฐาน ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ แต่ต้องการให้รัฐพิจารณายกเลิกการเก็บค่าอากรฆ่า และค่าธรรมเนียมการรับรองให้จำหน่ายเนื้อไก่ เป็ด ห่าน ในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเท่านั้น
นอกจากนี้ อาจทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกของไทย มีภาระต้นทุนเพิ่มขึ้น จนเกิดภาวะขาดทุนได้ รวมทั้งยังเป็นการลดขีดความสามารถในการแข่งขันในการส่งออก เพราะมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าคู่แข่ง เช่น บราซิล สหรัฐฯ และจีน
ทั้งนี้ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมด้านปศุสัตว์ ไม่ได้คัดค้านร่างพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อจำหน่ายเนื้อสัตว์ เพราะมองว่าจะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมปศุสัตว์ของไทยให้ได้มาตรฐาน ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ แต่ต้องการให้รัฐพิจารณายกเลิกการเก็บค่าอากรฆ่า และค่าธรรมเนียมการรับรองให้จำหน่ายเนื้อไก่ เป็ด ห่าน ในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเท่านั้น