นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข อดีตรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานมูลนิธิมัลลิกาเพื่อประชาชน กล่าวว่า จากการติดตามนโยบายแต่ละด้านของรัฐบาล ขณะนี้มีความเป็นห่วงด้านพลังงาน แม้จะชื่นชมรัฐมนตรีพลังงานคนล่าสุดที่เข้ามาจัดระเบียบพลังงาน แต่ถ้าดูจากการวางแผนนโยบายและแผนการสร้างพลังงานเพื่อการปฏิรูปและความมั่นคงทางพลังงาน ประกอบกับยุทธศาสตร์พลังงานเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ ตามเป้าหมายของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีนั้น ยังห่างไกลความจริง
นางมัลลิกา กล่าวว่า ประเด็นวันนี้ คือ ผลกระทบและทางออกกรณีสัมปทานปิโตรเลียมหมดอายุ ต้องใช้เวลาหาผู้รับสัมปทานใหม่ และผลกระทบหากโรงไฟฟ้าถ่านหิน 2 แห่ง คือ ที่จังหวัดกระบี่และสงขลา ที่อาจเกิดขึ้นไม่ได้ตามเวลาที่กำหนด ในปี 2562 กับ 2564 เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ไม่เห็นด้วย นอกจากนี้ ยังมีกรณีโรงไฟฟ้าหลายแห่งต้องทยอยปลดระวางไป และจากข่าวของสำนักนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ประเมินไว้ว่าในปี 2564 ประเทศไทยมีความต้องการก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG อยู่ที่ประมาณ 20 ล้านตันต่อปี แต่มีความสามารถในการนำเข้า และการรองรับของคลัง LNG ได้เพียง 11 ล้านตัน ทำให้ยังขาดอีกประมาณ 9 ล้านตัน โดยคิดเป็นกำลังผลิตไฟฟ้าที่ 6,300 เมกะวัตต์ ทำให้ต้องหาเชื้อเพลิงชนิดอื่นเข้ามารองรับ ซึ่งถ้านับรวมโรงไฟฟ้าถ่านหิน 2 แห่ง ที่อาจเกิดขึ้นไม่ได้ตามเวลาที่กำหนดปี 2562 กับ 2564 ด้วยแล้ว เท่ากับกำลังการผลิตไฟฟ้าหายไปรวม 8,300 เมกะวัตต์ ซึ่งยังไม่รวมโรงไฟฟ้าที่กำลังจะปลดระวางลงไป จุดนี้กระทรวงพลังงานควรวางแผนรองรับเสียตั้งแต่ตอนนี้ คือยุทธศาสตร์ที่นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติต้องดำเนินการ
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล แต่จากการติดตามทิศทางของกระทรวงพลังงาน ประกาศของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานยังเป็นแผนแบบระบบราชการ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงชนิดที่เรียกได้ว่าเป็นการปฏิรูปพลังงาน ขอเสนอให้นายกรัฐมนตรีใช้คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 54/2557 ซึ่งมีอยู่แล้วเรื่องคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้บริหารนโยบาย มาตรการแผนการบริหารเพื่อพัฒนาพลังงานของประเทศต่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
อดีตรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขอเสนอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาปฏิวัติวงการพลังงานด้วยการพิจารณาสร้างพลังงานทดแทนเพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชน พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) ทุกเชื้อเพลิง เช่น พลังงานไฟฟ้าจากแสงแดด ลม ชีวมวล เพราะลดโลกร้อน กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น และหากดำเนินการอนุมัติอย่างโปร่งใส เร่งด่วน อย่างน้อย 3,000 เมกะวัตต์ จะเป็นการลงทุนจากเอกชนที่มีความพร้อมไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท นอกจากจะเป็นการสร้างความยั่งยืนมั่นคงทางพลังงานเสริมกับพลังงานอื่นแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มจีดีพี เห็นผลเร็วด้วย
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงขณะนี้ คือ รัฐบาลจะต้องระมัดระวังการผลักดันสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ (IPP) ที่ต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว LNG ซึ่งเป็นปัญหาที่รัฐบาลชุดก่อนทิ้งทวนเอาไว้กว่า 5,000 เมกะวัตต์ ถูกสหภาพฯ การไฟฟ้าชุดเก่าร้องคัดค้านไว้ ควรส่งตรวจสอบให้รอบคอบสิ้นความเสียก่อนแม้ล่าสุดมีความพยายามจากราชการบางส่วนต้องการความชัดเจนแต่อาจเสี่ยงต่อความโปร่งใสและมีผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าประชาชนในอนาคต
นางมัลลิกา กล่าวว่า ประเด็นวันนี้ คือ ผลกระทบและทางออกกรณีสัมปทานปิโตรเลียมหมดอายุ ต้องใช้เวลาหาผู้รับสัมปทานใหม่ และผลกระทบหากโรงไฟฟ้าถ่านหิน 2 แห่ง คือ ที่จังหวัดกระบี่และสงขลา ที่อาจเกิดขึ้นไม่ได้ตามเวลาที่กำหนด ในปี 2562 กับ 2564 เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ไม่เห็นด้วย นอกจากนี้ ยังมีกรณีโรงไฟฟ้าหลายแห่งต้องทยอยปลดระวางไป และจากข่าวของสำนักนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ประเมินไว้ว่าในปี 2564 ประเทศไทยมีความต้องการก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG อยู่ที่ประมาณ 20 ล้านตันต่อปี แต่มีความสามารถในการนำเข้า และการรองรับของคลัง LNG ได้เพียง 11 ล้านตัน ทำให้ยังขาดอีกประมาณ 9 ล้านตัน โดยคิดเป็นกำลังผลิตไฟฟ้าที่ 6,300 เมกะวัตต์ ทำให้ต้องหาเชื้อเพลิงชนิดอื่นเข้ามารองรับ ซึ่งถ้านับรวมโรงไฟฟ้าถ่านหิน 2 แห่ง ที่อาจเกิดขึ้นไม่ได้ตามเวลาที่กำหนดปี 2562 กับ 2564 ด้วยแล้ว เท่ากับกำลังการผลิตไฟฟ้าหายไปรวม 8,300 เมกะวัตต์ ซึ่งยังไม่รวมโรงไฟฟ้าที่กำลังจะปลดระวางลงไป จุดนี้กระทรวงพลังงานควรวางแผนรองรับเสียตั้งแต่ตอนนี้ คือยุทธศาสตร์ที่นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติต้องดำเนินการ
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล แต่จากการติดตามทิศทางของกระทรวงพลังงาน ประกาศของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานยังเป็นแผนแบบระบบราชการ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงชนิดที่เรียกได้ว่าเป็นการปฏิรูปพลังงาน ขอเสนอให้นายกรัฐมนตรีใช้คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 54/2557 ซึ่งมีอยู่แล้วเรื่องคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้บริหารนโยบาย มาตรการแผนการบริหารเพื่อพัฒนาพลังงานของประเทศต่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
อดีตรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขอเสนอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาปฏิวัติวงการพลังงานด้วยการพิจารณาสร้างพลังงานทดแทนเพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชน พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) ทุกเชื้อเพลิง เช่น พลังงานไฟฟ้าจากแสงแดด ลม ชีวมวล เพราะลดโลกร้อน กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น และหากดำเนินการอนุมัติอย่างโปร่งใส เร่งด่วน อย่างน้อย 3,000 เมกะวัตต์ จะเป็นการลงทุนจากเอกชนที่มีความพร้อมไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท นอกจากจะเป็นการสร้างความยั่งยืนมั่นคงทางพลังงานเสริมกับพลังงานอื่นแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มจีดีพี เห็นผลเร็วด้วย
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงขณะนี้ คือ รัฐบาลจะต้องระมัดระวังการผลักดันสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ (IPP) ที่ต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว LNG ซึ่งเป็นปัญหาที่รัฐบาลชุดก่อนทิ้งทวนเอาไว้กว่า 5,000 เมกะวัตต์ ถูกสหภาพฯ การไฟฟ้าชุดเก่าร้องคัดค้านไว้ ควรส่งตรวจสอบให้รอบคอบสิ้นความเสียก่อนแม้ล่าสุดมีความพยายามจากราชการบางส่วนต้องการความชัดเจนแต่อาจเสี่ยงต่อความโปร่งใสและมีผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าประชาชนในอนาคต