นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เปิดเผยถึงความคืบหน้าการตีความมาตรา 7 พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535 ว่า คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งภายในสัปดาห์นี้จะเป็นขั้นตอนของการตรวจความเห็น ก่อนจะส่งกลับไปให้กับรัฐบาลคือนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลงานสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ซึ่งเป็นผู้ยื่นเรื่องมายังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา รวมทั้งส่งให้ผู้ตรวจการแผ่นดินด้วย โดยคาดว่าจะส่งได้ในสัปดาห์นี้หรือต้นสัปดาห์หน้า
ส่วนกรณีที่บางฝ่ายคัดค้านการปรับแก้มาตรา 7 พ.ร.บ.สงฆ์ดังกล่าวนั้นนายดิสทัตกล่าวว่า พอที่จะทราบข่าวดังกล่าวอยู่บ้าง แต่ขอยืนยันว่าทางสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ดำเนินการทุกอย่างตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายและวิธีระเบียบปฏิบัตินั้นมีความสอดคล้องกันอยู่แล้ว
เมื่อถามถึงข้อสรุปของการตีความมาตราดังกล่าว นายดิสทัตกล่าวว่า ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้
รายงานข่าวจากคณะกรรมการกฤษฎีกาเปิดเผยความคืบหน้ากรณีการตีความมาตรา 7 ใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2535 เรื่องขั้นตอนการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชว่า ขณะนี้คณะกรรมการกฤษฎีกาเตรียมพิจารณาลงมติเพื่อเขียนความเห็นของกรรมการกฤษฎีกาเสนอต่อรัฐบาลแล้ว โดยจะมีการนัดประชุมนัดสุดท้ายเพื่อลงมติชี้ขาดความเห็นในวันพฤหัสบดีที่ 7 ก.ค.นี้ ซึ่งเมื่อกรรมการมีความเห็นและมีมติแล้ว จะมีการเรียบเรียงความเห็นทำเป็นหนังสือของคณะกรรมการกฤษฎีกาออกมาอย่างเป็นทางการ ว่ามีความเห็นเกี่ยวกับการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชอย่างไร โดยขั้นตอนต้องเริ่มจากนายกรัฐมนตรี หรือที่ประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) ทางกรรมการกฤษฎีกาก็จะมีความเห็นออกมาเป็นที่ชัดเจนเมื่อมีความเห็นแล้ว คาดว่าจะส่งหนังสือดังกล่าวไปยังนายกฯ ได้ในสัปดาห์หน้า
“ขณะนี้ข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในเรื่องการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช ทางกรรมการกฤษฎีกาได้ข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์แล้วที่จะวินิจฉัย โดยเฉพาะข้อมูลที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติส่งมา ที่ผ่านมายังไม่สามารถชี้ขาดได้เพราะรอเอกสารจากสำนักพุทธฯ อยู่ ล่าสุดได้รับครบถ้วนแล้ว มีความสมบูรณ์เพียงพอที่จะนำมาพิจารณาลงมติ และจะมีความเห็นออกมา เรื่องนี้กรรมการกฤษฎีกาไม่ได้มีความหนักใจ แม้รู้ดีว่ามีบางฝ่ายกำลังจับตาอยู่ ก็จะพิจารณาไปตามความเห็น”
ก่อนหน้านี้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติว่า การเสนอชื่อสมเด็จสังฆราชพระองค์ใหม่ มติที่ประชุม มส. เมื่อวันที่ 5 ม.ค.2559 ทำข้ามขั้นตอนไม่ถูกต้องตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2535 เนื่องจากผู้ตรวจฯ เห็นว่ากระบวนการเสนอชื่อ ต้องให้นายกฯ เป็นผู้นำรายชื่อให้ที่ประชุม มส.เห็นชอบ แต่มติ มส.วันดังกล่าวได้เห็นชอบสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญโญ) ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ใหม่ แล้วนำส่งไปที่นายกฯ เพื่อขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งผู้ตรวจฯเห็นว่าข้ามขั้นตอน
ส่วนกรณีที่บางฝ่ายคัดค้านการปรับแก้มาตรา 7 พ.ร.บ.สงฆ์ดังกล่าวนั้นนายดิสทัตกล่าวว่า พอที่จะทราบข่าวดังกล่าวอยู่บ้าง แต่ขอยืนยันว่าทางสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ดำเนินการทุกอย่างตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายและวิธีระเบียบปฏิบัตินั้นมีความสอดคล้องกันอยู่แล้ว
เมื่อถามถึงข้อสรุปของการตีความมาตราดังกล่าว นายดิสทัตกล่าวว่า ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้
รายงานข่าวจากคณะกรรมการกฤษฎีกาเปิดเผยความคืบหน้ากรณีการตีความมาตรา 7 ใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2535 เรื่องขั้นตอนการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชว่า ขณะนี้คณะกรรมการกฤษฎีกาเตรียมพิจารณาลงมติเพื่อเขียนความเห็นของกรรมการกฤษฎีกาเสนอต่อรัฐบาลแล้ว โดยจะมีการนัดประชุมนัดสุดท้ายเพื่อลงมติชี้ขาดความเห็นในวันพฤหัสบดีที่ 7 ก.ค.นี้ ซึ่งเมื่อกรรมการมีความเห็นและมีมติแล้ว จะมีการเรียบเรียงความเห็นทำเป็นหนังสือของคณะกรรมการกฤษฎีกาออกมาอย่างเป็นทางการ ว่ามีความเห็นเกี่ยวกับการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชอย่างไร โดยขั้นตอนต้องเริ่มจากนายกรัฐมนตรี หรือที่ประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) ทางกรรมการกฤษฎีกาก็จะมีความเห็นออกมาเป็นที่ชัดเจนเมื่อมีความเห็นแล้ว คาดว่าจะส่งหนังสือดังกล่าวไปยังนายกฯ ได้ในสัปดาห์หน้า
“ขณะนี้ข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในเรื่องการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช ทางกรรมการกฤษฎีกาได้ข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์แล้วที่จะวินิจฉัย โดยเฉพาะข้อมูลที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติส่งมา ที่ผ่านมายังไม่สามารถชี้ขาดได้เพราะรอเอกสารจากสำนักพุทธฯ อยู่ ล่าสุดได้รับครบถ้วนแล้ว มีความสมบูรณ์เพียงพอที่จะนำมาพิจารณาลงมติ และจะมีความเห็นออกมา เรื่องนี้กรรมการกฤษฎีกาไม่ได้มีความหนักใจ แม้รู้ดีว่ามีบางฝ่ายกำลังจับตาอยู่ ก็จะพิจารณาไปตามความเห็น”
ก่อนหน้านี้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติว่า การเสนอชื่อสมเด็จสังฆราชพระองค์ใหม่ มติที่ประชุม มส. เมื่อวันที่ 5 ม.ค.2559 ทำข้ามขั้นตอนไม่ถูกต้องตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2535 เนื่องจากผู้ตรวจฯ เห็นว่ากระบวนการเสนอชื่อ ต้องให้นายกฯ เป็นผู้นำรายชื่อให้ที่ประชุม มส.เห็นชอบ แต่มติ มส.วันดังกล่าวได้เห็นชอบสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญโญ) ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ใหม่ แล้วนำส่งไปที่นายกฯ เพื่อขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งผู้ตรวจฯเห็นว่าข้ามขั้นตอน