ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (14 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่จะทราบผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อวานนี้และจะเสร็จสิ้นในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่ว่าชาวอังกฤษอาจจะลงประชามติสนับสนุนการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit)
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,674.82 จุด ลดลง 57.66 จุด หรือ -0.33% ดัชนีแนสแด็ก ปิดที่ 4,843.55 จุด ลดลง 4.89 จุด หรือ -0.10% และดัชนีเอสแอนด์พี500 ปิดวัที่ 2,075.32 จุด ลดลง 3.74 จุด หรือ -0.18%
ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบติดต่อกัน 4 วันทำการ เนื่องจากนักลงทุนหลีกเลี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ก่อนที่จะทราบผลการประชุมเฟดซึ่งจะเสร็จสิ้นในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ พร้อมกับจับตาแถลงการณ์หลังการประชุมเพื่อหาทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต
นอกจากนี้ นักลงทุนยังวิตกกังวลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ชาวอังกฤษจะลงประชามติสนับสนุนการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป ในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ ขณะที่นักวิเคราะห์มองว่า หากผลโหวตบ่งชี้ว่าอังกฤษตัดสินใจออกจากสหภาพยุโรป ก็จะเกิดแรงเทขายอย่างหนักในตลาดหุ้น
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐได้ช่วยสกัดแรงลบของตลาดในระหว่างวัน โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า ยอดค้าปลีกเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้น 0.5% เทียบรายเดือน ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 2 และมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะขยับขึ้นเพียง 0.3% โดยได้แรงหนุนจากยอดขายรถยนต์ที่แข็งแกร่ง
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนเม.ย. ขณะที่ยอดขายในภาคธุรกิจพุ่งขึ้น 0.9% ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.2014
หุ้นกลุ่มการเงินร่วงลง โดยหุ้นอเมริกัน เอ็กซ์เพรส ดิ่งลง 4.1% หุ้นแคปิตอล วัน ไฟแนนเชียล ร่วงลง 6.6% หุ้นคีย์คอร์ป และหุ้นซิติเซนส์ ไฟแนนเชียล คอร์ป ต่างก็ปรับตัวลงอย่างน้อย 3.4%
หุ้นกลุ่มสายการบินร่วงลงติดต่อกัน 2 วันทำการ โดยหุ้นเซาท์เวสต์ แอร์ไลน์ส ดิ่งลง 5.4% และหุ้นยูไนเต็ด คอนติเนนตัล โฮลดิงส์ ร่วงลง 4.5%
หุ้นกลุ่มสินค้าตกแต่งบ้านปรับตัวลงเช่นกัน โดยหุ้นโฮม ดีโปท์ และหุ้นลูว์ คอส ต่างก็ปรับตัวลงกว่า 1.8% หลังจากทั้งสองบริษัทเปิดเผยยอดขายเดือนพ.ค.ที่อ่อนแรงลง ขณะที่หุ้นโคลท์ และหุ้นนอร์ดสตรอม ปรับตัวลงอย่างน้อย 2.3%
นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐในวันนี้ รวมถึงดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม (Empire State Index) เดือนมิ.ย., ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพ.ค. และการผลิตภาคอุตสาหกรรม-อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนพ.ค.
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,674.82 จุด ลดลง 57.66 จุด หรือ -0.33% ดัชนีแนสแด็ก ปิดที่ 4,843.55 จุด ลดลง 4.89 จุด หรือ -0.10% และดัชนีเอสแอนด์พี500 ปิดวัที่ 2,075.32 จุด ลดลง 3.74 จุด หรือ -0.18%
ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบติดต่อกัน 4 วันทำการ เนื่องจากนักลงทุนหลีกเลี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ก่อนที่จะทราบผลการประชุมเฟดซึ่งจะเสร็จสิ้นในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ พร้อมกับจับตาแถลงการณ์หลังการประชุมเพื่อหาทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต
นอกจากนี้ นักลงทุนยังวิตกกังวลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ชาวอังกฤษจะลงประชามติสนับสนุนการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป ในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ ขณะที่นักวิเคราะห์มองว่า หากผลโหวตบ่งชี้ว่าอังกฤษตัดสินใจออกจากสหภาพยุโรป ก็จะเกิดแรงเทขายอย่างหนักในตลาดหุ้น
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐได้ช่วยสกัดแรงลบของตลาดในระหว่างวัน โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า ยอดค้าปลีกเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้น 0.5% เทียบรายเดือน ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 2 และมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะขยับขึ้นเพียง 0.3% โดยได้แรงหนุนจากยอดขายรถยนต์ที่แข็งแกร่ง
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนเม.ย. ขณะที่ยอดขายในภาคธุรกิจพุ่งขึ้น 0.9% ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.2014
หุ้นกลุ่มการเงินร่วงลง โดยหุ้นอเมริกัน เอ็กซ์เพรส ดิ่งลง 4.1% หุ้นแคปิตอล วัน ไฟแนนเชียล ร่วงลง 6.6% หุ้นคีย์คอร์ป และหุ้นซิติเซนส์ ไฟแนนเชียล คอร์ป ต่างก็ปรับตัวลงอย่างน้อย 3.4%
หุ้นกลุ่มสายการบินร่วงลงติดต่อกัน 2 วันทำการ โดยหุ้นเซาท์เวสต์ แอร์ไลน์ส ดิ่งลง 5.4% และหุ้นยูไนเต็ด คอนติเนนตัล โฮลดิงส์ ร่วงลง 4.5%
หุ้นกลุ่มสินค้าตกแต่งบ้านปรับตัวลงเช่นกัน โดยหุ้นโฮม ดีโปท์ และหุ้นลูว์ คอส ต่างก็ปรับตัวลงกว่า 1.8% หลังจากทั้งสองบริษัทเปิดเผยยอดขายเดือนพ.ค.ที่อ่อนแรงลง ขณะที่หุ้นโคลท์ และหุ้นนอร์ดสตรอม ปรับตัวลงอย่างน้อย 2.3%
นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐในวันนี้ รวมถึงดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม (Empire State Index) เดือนมิ.ย., ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพ.ค. และการผลิตภาคอุตสาหกรรม-อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนพ.ค.