จากกรณีที่ นายมนูญ ศิริวรรณ ตัวแทนกลุ่มปฎิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กถึงกรณีการไปอัดรายการโทรทัศน์ โดยได้ถกเถียงกับ นางสาวรสนา โตสิตระกูล ตัวแทนเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงาน แล้วถูกขอให้ยกเลิกเทปที่เพิ่งอัดไป
รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ (8 มิถุนายน) นางสาวรสนา โตสิตระกูล โพสต์ข้อความชี้แจงความเห็นอีกฝ่าย ระบุว่า
“หมายเหตุความจริงวิวาทะรายการเถียงให้รู้เรื่อง กรณีสัมปทานปิโตรเลียม”
รายการเถียงให้รู้เรื่องตอน ” สัมปทานปิโตรเลียม ได้คุ้มเสียจริงหรือ? ” ออกอากาศเมื่อคืนวันที่ 7 มิถุนายน 2559 ที่มีผู้ร่วมรายการคือคุณมนูญ ศิริวรรณในฐานะตัวแทนของกลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน (ERS) กับ รสนา โตสิตระกูล ในฐานะตัวแทนของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย(คปพ.)
รายการเถียงให้รู้เรื่องเชิญผู้วิจารณ์2ท่านคือดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ซึ่งอยู่ในกลุ่มERSร่วมกับคุณมนูญ ศิริวรรณ และดร.อีกท่านจากจุฬา (จำชื่อไม่ได้) ซึ่งมีแนวคิดอยู่ในแนวทางเดียวกับกลุ่มความคิดของERS
ดิฉันไม่ได้รับการบอกล่วงหน้าว่าไปเถียงกันในฐานะตัวแทนคปพ. และไม่ได้รับแจ้งว่ามีใครเป็นผู้วิจารณ์ หากเป็นการเถียงในฐานะตัวแทนกลุ่ม เมื่อกลุ่มERSมีคุณมนูญเป็นตัวแทน และมีดร.พรายพลซึ่งอยู่ในกลุ่มแกนของERS เป็นผู้ให้ความเห็นเสริมคุณมนูญ ฝ่ายคปพ.ก็ควรมีทั้งผู้พูดและผู้วิจารณ์ที่มาจากคปพ.เช่นเดียวกัน แต่ในการเชิญคนมาร่วมรายการของไทยพีบีเอส ที่เชิญคนวิจารณ์ที่มีแนวความคิดในสายเดียวกับฝ่าย ERS จะโดยความไม่รู้ หรือเตี๊ยมกันก็ไม่ทราบได้ แต่ทำให้การเถียงกันคราวนี้ไม่เป็นธรรมต่อฝ่ายคปพ.
ในการอัดเทปล่วงหน้าคืนวันที่6 มิถุนายน พิธีกรให้โอกาสคุณมนูญได้เป็นทั้งคนเปิดประเด็น และปิดประเด็นโดยพิธีกรกล่าวว่าให้คุณมนูญเป็นผู้กล่าวปิดท้ายแบบปลายเปิดอีกด้วย ทั้งที่การเถียงกัน2ฝ่าย ควรจะให้ฝ่ายหนึ่งเปิด และอีกฝ่ายเป็นผู้ปิดท้าย จึงจะยุติธรรม ยิ่งกว่านั้นในระหว่างรายการ พิธีกรจะให้โอกาสคุณมนูญพูดได้มากกว่าทั้งจำนวนครั้งและจำนวนเวลา เมื่อบวกกับผู้วิจารณ์อีก2ท่าน เท่ากับตัวแทนฝ่ายERS มีโอกาสพูดเสนอแนวคิดได้มากกว่าคปพ.จนผิดสังเกตว่าเป็นรายการเตี๊ยมกันมาก่อนหรือไม่?
ดิฉันได้กล่าวกับพิธีกรหลังเสร็จการอัดเทปว่าจัดแบบนี้ไม่เป็นธรรม เป็นแบบ3รุม1
หากจะให้สองฝ่ายที่มีแนวคิดต่างกันมานำเสนอ ควรจะมีจำนวนคนที่เท่ากัน และมีเวลาที่เท่ากันด้วย ยิ่งกว่านั้นไม่ควรเป็นในลักษณะการโต้วาที แต่ควรนำข้อมูล2ฝ่ายมาเปรียบเทียบในประเด็นเดียวกันเพื่อเสนอต่อสาธารณชนตามวัตถุประสงค์สื่อสาธารณะ และวัตถุประสงค์ของรายการที่ต้องการสื่อความจริง2ด้านเพื่อให้ผู้ชมได้ตัดสินใจเลือก จึงไม่ควรเปิดโอกาสการเตรียมข้อมูลให้ฝ่ายหนึ่งโดยไม่บอกอีกฝ่ายหนึ่ง พิธีกรรู้ล่วงหน้าว่าฝ่ายคุณมนูญมีเอกสารมานำเสนอ แต่พิธีกรเพิ่งมาถามดิฉันตอนจะเข้าสู่รายการว่ามีเอกสารประกอบไหมดิฉันจึงหาภาพมาแสดงตามที่หาได้ในเวลานั้น
วันรุ่งขึ้น ดิฉันโทรหาเจ้าหน้าที่ที่เชิญดิฉันและร้องเรียนว่ารายการนี้จัดแบบเอียงข้างเกินไป และขอให้แก้ไขโดยอัดรายการใหม่และให้มีผู้วิจารณ์ที่เป็นฝ่ายคปพ. มิเช่นนั้นดิฉันไม่เห็นด้วยที่จะให้ออกอากาศเทปรายการนี้
ทางเจ้าหน้าที่จึงนำเรื่องไปหารือกับหัวหน้ารายการกรณีที่ดิฉันร้องเรียน
ทางสถานียินยอมจะอัดเทปรายการใหม่โดยดิฉันเสนอคุณธีรชัย ภูวนาถนรานุบาลมาเป็นผู้วิจารณ์ของฝ่ายคปพ.แต่ภายหลังทราบจากทางสถานีว่าคุณมนูญไม่ยอมมาอัดเทปใหม่
รองผู้อำนวยการของไทยพีบีเอสหลังจากได้ดูเทปรายการนี้แล้ว มีความเห็นว่าสัดส่วนของผู้ร่วมรายการขัดกับหลักความเป็นกลางตามที่ดิฉันทักท้วงเพราะนักวิชาการที่มาร่วมรายการสังกัดอยู่ในกลุ่มERSอย่างชัดเจน ท่านจึงเสนอวิธีแก้ไขว่าจะตัดผู้วิจารณ์ออกไป
แม้ดิฉันจะไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้เพราะเห็นว่าควรอัดเทปรายการใหม่โดยมีน้ำหนักของตัวแทนสองฝ่ายเท่ากัน แต่ก็ไม่ประสงค์จะแทรกแซงสื่อซึ่งย่อมมีสำนึกตามจรรยาบรรณวิชาชีพของสื่ออยู่แล้วว่าจะแก้ปัญหานี้อย่างไร
การที่คุณมนูญออกมากล่าวหาว่าที่ทางสถานีตัดผู้วิจารณ์ออกไป เป็นเพราะผู้อำนวยการอยู่ในแวดวงNGOนั้น เป็นการกล่าวที่สมควรหรือไม่? เพราะประเด็นที่ควรพิจารณาก็คือ มีความเป็นธรรมหรือไม่ที่ให้ตัวแทนของกลุ่มERSมีมากกว่าตัวแทนของกลุ่มคปพ.ซึ่งตรงนี้ไม่ใช่ความผิดของคุณมนูญและผู้รับเชิญ แต่เป็นความผิดพลาดของเจ้าของรายการเองที่ก่อให้เกิดความลำเอียงจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ก็ต้องแก้ไขเมื่อถูกร้องเรียน
แต่แล้วคุณมนูญกลับไปยกตัวอย่างรายการอื่นที่มีการถูกรุมแบบรายการนี้ ว่าเมื่อไม่มีการแก้ไขรายการนั้น รายการนี้ก็ไม่ควรต้องได้รับการแก้ไขอย่างนั้นหรือ?
ดิฉันเชื่อว่ากรณีรายการที่ยกตัวอย่างนั้น ถ้ามีการทักท้วงจากผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ดิฉันเชื่อว่าสื่อที่มีจรรยาบรรณย่อมต้องรับฟังและแก้ไขปัญหาด้วยจิตสำนึกอิสระอย่างแน่นอน และขอพูดอย่างตรงไปตรงมาว่า ในเนื้อหารายการ”สัมปทานปิโตรเลียม ได้คุ้มเสียจริงหรือ?”นั้น คุณมนูญก็ได้รับการชงให้พูดอย่างเต็มที่มากกว่าทั้งช่วงเปิดประเด็น และช่วงปิดประเด็น”แบบปลายเปิด” ขนาดนี้แล้วยังไม่พอใจอีกหรือ?
การพูดแบบนี้ อาจทำให้คนเข้าใจได้ว่า ถ้าตัวเองเป็นคนได้เปรียบก็พอใจ บอกให้ประชาชนตัดสินใจเอาเอง? แต่ถ้าท่านเป็นฝ่ายถูก3รุม1 ท่านจะยอมหรือไม่?
จึงไม่ควรเบี่ยงเบนประเด็นด้วยการกล่าวหาว่าNGOใช้อิทธิพลเข้าไปเซนเซอร์รายการดังกล่าว เพราะคนทำงานภาคประชาสังคมตัวเล็กๆอย่างดิฉันไม่มีอิทธิพลอะไรนอกจากความยึดมั่นในหลักการอันชอบธรรมและความเท่าเทียม
คนส่วนใหญ่สังคมไทยที่ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝงย่อมรู้ดีว่าผู้ทรงอิทธิพลตัวจริงนั้นคือใคร ?
รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ (8 มิถุนายน) นางสาวรสนา โตสิตระกูล โพสต์ข้อความชี้แจงความเห็นอีกฝ่าย ระบุว่า
“หมายเหตุความจริงวิวาทะรายการเถียงให้รู้เรื่อง กรณีสัมปทานปิโตรเลียม”
รายการเถียงให้รู้เรื่องตอน ” สัมปทานปิโตรเลียม ได้คุ้มเสียจริงหรือ? ” ออกอากาศเมื่อคืนวันที่ 7 มิถุนายน 2559 ที่มีผู้ร่วมรายการคือคุณมนูญ ศิริวรรณในฐานะตัวแทนของกลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน (ERS) กับ รสนา โตสิตระกูล ในฐานะตัวแทนของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย(คปพ.)
รายการเถียงให้รู้เรื่องเชิญผู้วิจารณ์2ท่านคือดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ซึ่งอยู่ในกลุ่มERSร่วมกับคุณมนูญ ศิริวรรณ และดร.อีกท่านจากจุฬา (จำชื่อไม่ได้) ซึ่งมีแนวคิดอยู่ในแนวทางเดียวกับกลุ่มความคิดของERS
ดิฉันไม่ได้รับการบอกล่วงหน้าว่าไปเถียงกันในฐานะตัวแทนคปพ. และไม่ได้รับแจ้งว่ามีใครเป็นผู้วิจารณ์ หากเป็นการเถียงในฐานะตัวแทนกลุ่ม เมื่อกลุ่มERSมีคุณมนูญเป็นตัวแทน และมีดร.พรายพลซึ่งอยู่ในกลุ่มแกนของERS เป็นผู้ให้ความเห็นเสริมคุณมนูญ ฝ่ายคปพ.ก็ควรมีทั้งผู้พูดและผู้วิจารณ์ที่มาจากคปพ.เช่นเดียวกัน แต่ในการเชิญคนมาร่วมรายการของไทยพีบีเอส ที่เชิญคนวิจารณ์ที่มีแนวความคิดในสายเดียวกับฝ่าย ERS จะโดยความไม่รู้ หรือเตี๊ยมกันก็ไม่ทราบได้ แต่ทำให้การเถียงกันคราวนี้ไม่เป็นธรรมต่อฝ่ายคปพ.
ในการอัดเทปล่วงหน้าคืนวันที่6 มิถุนายน พิธีกรให้โอกาสคุณมนูญได้เป็นทั้งคนเปิดประเด็น และปิดประเด็นโดยพิธีกรกล่าวว่าให้คุณมนูญเป็นผู้กล่าวปิดท้ายแบบปลายเปิดอีกด้วย ทั้งที่การเถียงกัน2ฝ่าย ควรจะให้ฝ่ายหนึ่งเปิด และอีกฝ่ายเป็นผู้ปิดท้าย จึงจะยุติธรรม ยิ่งกว่านั้นในระหว่างรายการ พิธีกรจะให้โอกาสคุณมนูญพูดได้มากกว่าทั้งจำนวนครั้งและจำนวนเวลา เมื่อบวกกับผู้วิจารณ์อีก2ท่าน เท่ากับตัวแทนฝ่ายERS มีโอกาสพูดเสนอแนวคิดได้มากกว่าคปพ.จนผิดสังเกตว่าเป็นรายการเตี๊ยมกันมาก่อนหรือไม่?
ดิฉันได้กล่าวกับพิธีกรหลังเสร็จการอัดเทปว่าจัดแบบนี้ไม่เป็นธรรม เป็นแบบ3รุม1
หากจะให้สองฝ่ายที่มีแนวคิดต่างกันมานำเสนอ ควรจะมีจำนวนคนที่เท่ากัน และมีเวลาที่เท่ากันด้วย ยิ่งกว่านั้นไม่ควรเป็นในลักษณะการโต้วาที แต่ควรนำข้อมูล2ฝ่ายมาเปรียบเทียบในประเด็นเดียวกันเพื่อเสนอต่อสาธารณชนตามวัตถุประสงค์สื่อสาธารณะ และวัตถุประสงค์ของรายการที่ต้องการสื่อความจริง2ด้านเพื่อให้ผู้ชมได้ตัดสินใจเลือก จึงไม่ควรเปิดโอกาสการเตรียมข้อมูลให้ฝ่ายหนึ่งโดยไม่บอกอีกฝ่ายหนึ่ง พิธีกรรู้ล่วงหน้าว่าฝ่ายคุณมนูญมีเอกสารมานำเสนอ แต่พิธีกรเพิ่งมาถามดิฉันตอนจะเข้าสู่รายการว่ามีเอกสารประกอบไหมดิฉันจึงหาภาพมาแสดงตามที่หาได้ในเวลานั้น
วันรุ่งขึ้น ดิฉันโทรหาเจ้าหน้าที่ที่เชิญดิฉันและร้องเรียนว่ารายการนี้จัดแบบเอียงข้างเกินไป และขอให้แก้ไขโดยอัดรายการใหม่และให้มีผู้วิจารณ์ที่เป็นฝ่ายคปพ. มิเช่นนั้นดิฉันไม่เห็นด้วยที่จะให้ออกอากาศเทปรายการนี้
ทางเจ้าหน้าที่จึงนำเรื่องไปหารือกับหัวหน้ารายการกรณีที่ดิฉันร้องเรียน
ทางสถานียินยอมจะอัดเทปรายการใหม่โดยดิฉันเสนอคุณธีรชัย ภูวนาถนรานุบาลมาเป็นผู้วิจารณ์ของฝ่ายคปพ.แต่ภายหลังทราบจากทางสถานีว่าคุณมนูญไม่ยอมมาอัดเทปใหม่
รองผู้อำนวยการของไทยพีบีเอสหลังจากได้ดูเทปรายการนี้แล้ว มีความเห็นว่าสัดส่วนของผู้ร่วมรายการขัดกับหลักความเป็นกลางตามที่ดิฉันทักท้วงเพราะนักวิชาการที่มาร่วมรายการสังกัดอยู่ในกลุ่มERSอย่างชัดเจน ท่านจึงเสนอวิธีแก้ไขว่าจะตัดผู้วิจารณ์ออกไป
แม้ดิฉันจะไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้เพราะเห็นว่าควรอัดเทปรายการใหม่โดยมีน้ำหนักของตัวแทนสองฝ่ายเท่ากัน แต่ก็ไม่ประสงค์จะแทรกแซงสื่อซึ่งย่อมมีสำนึกตามจรรยาบรรณวิชาชีพของสื่ออยู่แล้วว่าจะแก้ปัญหานี้อย่างไร
การที่คุณมนูญออกมากล่าวหาว่าที่ทางสถานีตัดผู้วิจารณ์ออกไป เป็นเพราะผู้อำนวยการอยู่ในแวดวงNGOนั้น เป็นการกล่าวที่สมควรหรือไม่? เพราะประเด็นที่ควรพิจารณาก็คือ มีความเป็นธรรมหรือไม่ที่ให้ตัวแทนของกลุ่มERSมีมากกว่าตัวแทนของกลุ่มคปพ.ซึ่งตรงนี้ไม่ใช่ความผิดของคุณมนูญและผู้รับเชิญ แต่เป็นความผิดพลาดของเจ้าของรายการเองที่ก่อให้เกิดความลำเอียงจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ก็ต้องแก้ไขเมื่อถูกร้องเรียน
แต่แล้วคุณมนูญกลับไปยกตัวอย่างรายการอื่นที่มีการถูกรุมแบบรายการนี้ ว่าเมื่อไม่มีการแก้ไขรายการนั้น รายการนี้ก็ไม่ควรต้องได้รับการแก้ไขอย่างนั้นหรือ?
ดิฉันเชื่อว่ากรณีรายการที่ยกตัวอย่างนั้น ถ้ามีการทักท้วงจากผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ดิฉันเชื่อว่าสื่อที่มีจรรยาบรรณย่อมต้องรับฟังและแก้ไขปัญหาด้วยจิตสำนึกอิสระอย่างแน่นอน และขอพูดอย่างตรงไปตรงมาว่า ในเนื้อหารายการ”สัมปทานปิโตรเลียม ได้คุ้มเสียจริงหรือ?”นั้น คุณมนูญก็ได้รับการชงให้พูดอย่างเต็มที่มากกว่าทั้งช่วงเปิดประเด็น และช่วงปิดประเด็น”แบบปลายเปิด” ขนาดนี้แล้วยังไม่พอใจอีกหรือ?
การพูดแบบนี้ อาจทำให้คนเข้าใจได้ว่า ถ้าตัวเองเป็นคนได้เปรียบก็พอใจ บอกให้ประชาชนตัดสินใจเอาเอง? แต่ถ้าท่านเป็นฝ่ายถูก3รุม1 ท่านจะยอมหรือไม่?
จึงไม่ควรเบี่ยงเบนประเด็นด้วยการกล่าวหาว่าNGOใช้อิทธิพลเข้าไปเซนเซอร์รายการดังกล่าว เพราะคนทำงานภาคประชาสังคมตัวเล็กๆอย่างดิฉันไม่มีอิทธิพลอะไรนอกจากความยึดมั่นในหลักการอันชอบธรรมและความเท่าเทียม
คนส่วนใหญ่สังคมไทยที่ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝงย่อมรู้ดีว่าผู้ทรงอิทธิพลตัวจริงนั้นคือใคร ?