การประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) วันนี้ มีการพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ระบบการแพทย์ฉุกเฉินช่วงก่อนถึงโรงพยาบาล โดยกรรมาธิการฯ ชี้แจงว่า เป้าหมายหลักของการแพทย์ฉุกเฉินช่วงก่อนถึงโรงพยาบาล คือการช่วยชีวิตให้ทันเวลา โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ที่จะปฏิเสธการช่วยเหลือ แม้ว่าที่ผ่านมา มี พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551 และประมวลกฎหมายอาญาสนับสนุนระบบการแพทย์ฉุกเฉินอยู่ แต่จากสถิติของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ พบว่า มีผู้เสียชีวิตนอกโรงพยาบาลมากถึงปีละ 60,000 คน หากมีระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพช่วงก่อนถึงโรงพยาบาล จะช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินได้อีกร้อยละ 20 หรือปีละ 12,000 คน
ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องปฏิรูปอย่างเร่งด่วน คือ การแจ้งเหตุและรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน รวมถึงการจ่ายงานและการปฏิบัติการฉุกเฉินในที่เกิดเหตุจนถึงโรงพยาบาล โดยเสนอให้มีระบบการแจ้งเหตุฉุกเฉินโดยการโทรติดต่อเลขหมายฉุกเฉินเดียว ทำให้ประชาชนจดจำได้ง่าย เข้าถึงคนทุกกลุ่ม โทรออกได้ด้วยการกดปุ่มฉุกเฉินของโทรศัพท์ ไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้เครื่องที่ถูกระงับการให้บริการสามารถโทรฉุกเฉินได้ รวมทั้งต้องให้ความรู้แก่ประชาชนได้มีทักษะในการปฐมพยาบาลพื้นฐาน
ส่วนการปฏิรูปการจ่ายงานและปฏิบัติการฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล จะต้องใช้รถพยาบาลระดับถึง 4,000 คัน กระจายครอบคลุมทุกพื้นที่ เข้าถึงจุดเกิดเหตุได้ภายใน 5 นาที ภายในรัศมี 5 กิโลเมตร ทีมปฏิบัติการต้องมีหัวหน้าทีมที่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตได้ โดยอย่างน้อยต้องมีนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ 1 คนต่อรถพยาบาลระดับสูง 1 คัน จัดให้มีศูนย์จ่ายงานที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมงานการช่วยเหลือประชาชน พร้อมเสนอให้มีระเบียบโดยกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการบริหารจัดการแพทย์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลด้วย
ทั้งนี้ สมาชิก สปท.ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการปฏิรูปดังกล่าว เพราะที่ผ่านมาเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางถนนและเจ้าหน้าที่ตำรวจมาถึงที่เกิดเหตุแล้วกลับพบว่ารถพยาบาลมาล่าช้า สิ่งที่ช่วยเหลือประชาชนได้มากที่สุด จึงเป็นมูลนิธิอาสาสมัครต่างๆ จึงเห็นด้วยที่จะปฏิรูประบบนี้ อีกทั้งยังสนับสนุนให้เพิ่มจำนวนรถของมูลนิธิอาสาสมัครต่างๆ เพื่อกระจายให้ทั่วถึงมากขึ้นด้วย แต่การให้มีศูนย์จ่ายงานเพียงศูนย์เดียวทั้งประเทศ จะทำให้เสียเวลาในการช่วยชีวิต จึงต้องกระจายงานให้มีศูนย์ประจำจังหวัดต่างๆ ด้วย
จากนั้น ที่ประชุม สปท.มีมติเห็นชอบ 144 ต่อ 2 เสียง งดออกเสียง 12 เสียง เพื่อส่งให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องปฏิรูปอย่างเร่งด่วน คือ การแจ้งเหตุและรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน รวมถึงการจ่ายงานและการปฏิบัติการฉุกเฉินในที่เกิดเหตุจนถึงโรงพยาบาล โดยเสนอให้มีระบบการแจ้งเหตุฉุกเฉินโดยการโทรติดต่อเลขหมายฉุกเฉินเดียว ทำให้ประชาชนจดจำได้ง่าย เข้าถึงคนทุกกลุ่ม โทรออกได้ด้วยการกดปุ่มฉุกเฉินของโทรศัพท์ ไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้เครื่องที่ถูกระงับการให้บริการสามารถโทรฉุกเฉินได้ รวมทั้งต้องให้ความรู้แก่ประชาชนได้มีทักษะในการปฐมพยาบาลพื้นฐาน
ส่วนการปฏิรูปการจ่ายงานและปฏิบัติการฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล จะต้องใช้รถพยาบาลระดับถึง 4,000 คัน กระจายครอบคลุมทุกพื้นที่ เข้าถึงจุดเกิดเหตุได้ภายใน 5 นาที ภายในรัศมี 5 กิโลเมตร ทีมปฏิบัติการต้องมีหัวหน้าทีมที่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตได้ โดยอย่างน้อยต้องมีนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ 1 คนต่อรถพยาบาลระดับสูง 1 คัน จัดให้มีศูนย์จ่ายงานที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมงานการช่วยเหลือประชาชน พร้อมเสนอให้มีระเบียบโดยกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการบริหารจัดการแพทย์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลด้วย
ทั้งนี้ สมาชิก สปท.ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการปฏิรูปดังกล่าว เพราะที่ผ่านมาเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางถนนและเจ้าหน้าที่ตำรวจมาถึงที่เกิดเหตุแล้วกลับพบว่ารถพยาบาลมาล่าช้า สิ่งที่ช่วยเหลือประชาชนได้มากที่สุด จึงเป็นมูลนิธิอาสาสมัครต่างๆ จึงเห็นด้วยที่จะปฏิรูประบบนี้ อีกทั้งยังสนับสนุนให้เพิ่มจำนวนรถของมูลนิธิอาสาสมัครต่างๆ เพื่อกระจายให้ทั่วถึงมากขึ้นด้วย แต่การให้มีศูนย์จ่ายงานเพียงศูนย์เดียวทั้งประเทศ จะทำให้เสียเวลาในการช่วยชีวิต จึงต้องกระจายงานให้มีศูนย์ประจำจังหวัดต่างๆ ด้วย
จากนั้น ที่ประชุม สปท.มีมติเห็นชอบ 144 ต่อ 2 เสียง งดออกเสียง 12 เสียง เพื่อส่งให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป