นายศรีราชา วงศารยางกูร ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นประธานการประชุมพิจารณาคำร้องของนายจอน อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ (iLaw) ที่ขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 61 วรรค 2 ,3 และ 4 ขัดรัฐธรรมนูญ 2557 (ฉบับชั่วคราว) หรือไม่
หลังเสร็จสิ้นการประชุม นายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน แถลงว่า ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ ว่า มาตรา 61 วรรคสอง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2559 มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ตามที่นายจอน อึ๊งภากรณ์ ขอให้วินิจฉัย โดยจะเสนอเรื่องพร้อมความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยภายในสัปดาห์นี้
อย่างไรก็ตาม หากศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าบทบัญญัติขัดรัฐธรรมนูญแล้ว จะเป็นการเปิดช่องให้เกิดการปลุกระดม หรือใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็นเกินขอบเขตหรือไม่นั้น นายรักษเกชา กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นอำนาจของเจ้าหน้าที่บ้านเมืองที่จะดูแล ซึ่งการออกเสียงประชามติปี 2550 กฎหมายประชามติขณะนั้นก็ไม่มีบทบัญญัติในลักษณะนี้ แต่ก็สามารถดูแลความสงบเรียบร้อยได้ ส่วนวรรคสาม และวรรคสี่ ของ พ.ร.บ ประชามติที่ทางไอลอว์ได้เสนอให้วินิจฉัยด้วยนั้น ผู้ตรวจฯ เห็นว่า เป็นดุลพินิจของผู้ออกกฎหมาย และเป็นบทลงโทษที่อยู่ในดุลพินิจของศาลยุติธรรม ผู้ตรวจจึงไม่ก้าวล่วง อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า การวินิจฉัยครั้งนี้ของผู้ตรวจฯ ได้มีการรวบรวมข้อมูล ข้อกฎหมายต่างๆ รวมถึงขั้นตอนในการพิจารณาออกกฎหมายแล้วอย่างครบถ้วน
หลังเสร็จสิ้นการประชุม นายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน แถลงว่า ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ ว่า มาตรา 61 วรรคสอง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2559 มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ตามที่นายจอน อึ๊งภากรณ์ ขอให้วินิจฉัย โดยจะเสนอเรื่องพร้อมความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยภายในสัปดาห์นี้
อย่างไรก็ตาม หากศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าบทบัญญัติขัดรัฐธรรมนูญแล้ว จะเป็นการเปิดช่องให้เกิดการปลุกระดม หรือใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็นเกินขอบเขตหรือไม่นั้น นายรักษเกชา กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นอำนาจของเจ้าหน้าที่บ้านเมืองที่จะดูแล ซึ่งการออกเสียงประชามติปี 2550 กฎหมายประชามติขณะนั้นก็ไม่มีบทบัญญัติในลักษณะนี้ แต่ก็สามารถดูแลความสงบเรียบร้อยได้ ส่วนวรรคสาม และวรรคสี่ ของ พ.ร.บ ประชามติที่ทางไอลอว์ได้เสนอให้วินิจฉัยด้วยนั้น ผู้ตรวจฯ เห็นว่า เป็นดุลพินิจของผู้ออกกฎหมาย และเป็นบทลงโทษที่อยู่ในดุลพินิจของศาลยุติธรรม ผู้ตรวจจึงไม่ก้าวล่วง อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า การวินิจฉัยครั้งนี้ของผู้ตรวจฯ ได้มีการรวบรวมข้อมูล ข้อกฎหมายต่างๆ รวมถึงขั้นตอนในการพิจารณาออกกฎหมายแล้วอย่างครบถ้วน