นายศรีราชา วงศารยางกูร ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นประธานประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาคำร้องกรณีที่นายจอน อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) และคณะ ยื่นหนังสือขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 61 ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
นายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการผู้ตรวจการแผ่นดิน แถลงภายหลังประชุมว่า การประชุมวันนี้มีความคืบหน้ามาก แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป เพราะต้องรอคำชี้แจงเพิ่มเติมจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เนื่องจากเป็นหน่วยงานรักษาการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ที่ประชุมจึงเห็นควรให้รอความเห็นจาก กกต. เพื่อประกอบการพิจารณาว่าจะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือไม่
โดยผู้ตรวจการฯ จะประชุมและมีคำวินิจฉัยประเด็นนี้ในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ อย่างไรก็ตาม หาก กกต.ไม่ส่งความเห็นชี้แจงมา ผู้ตรวจการแผ่นดินสามารถพิจารณาได้ตามข้อมูลที่มี เพราะผู้ร้องและสำนักงานเลขาวุฒิสภาได้ส่งคำชี้แจงมาแล้ว ยืนยันว่าผู้ตรวจการแผ่นดินมีความเห็นเรื่องนี้ไปในทิศทางเดียวกัน เพียงแต่ต้องรอเอกสารจาก กกต.
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาถ้อยคำตามมาตรา 61 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ กรณีการแสดงความคิดเห็นด้วยถ้อยคำ รุนแรง หยาบคาย ก้าวร้าว ข่มขู่ เข้าข่ายเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพหรือไม่ ซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินได้เปรียบเทียบกับ พ.ร.บ.ประชามติครั้งที่ผ่านมา ไม่พบว่ามีการกำหนดถ้อยคำดังกล่าว โดยพิจารณาว่าการบัญญัติถ้อยคำเหล่านี้จะก่อให้เกิดความสับสนเพิ่มมากขึ้นหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
เลขาธิการผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า หากที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินมีความเห็นไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ต้องชี้แจงให้ผู้ร้องหรือสังคมได้รับทราบ เช่น หากมีความเห็นว่า มาตรา 61 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็จะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และหากศาลรับคำร้องและวินิจฉัยว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็จะส่งผลให้มาตรา 61 ไม่มีผลบังคับใช้ แต่ไม่มีผลต่อพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติทั้งฉบับ
นายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการผู้ตรวจการแผ่นดิน แถลงภายหลังประชุมว่า การประชุมวันนี้มีความคืบหน้ามาก แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป เพราะต้องรอคำชี้แจงเพิ่มเติมจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เนื่องจากเป็นหน่วยงานรักษาการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ที่ประชุมจึงเห็นควรให้รอความเห็นจาก กกต. เพื่อประกอบการพิจารณาว่าจะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือไม่
โดยผู้ตรวจการฯ จะประชุมและมีคำวินิจฉัยประเด็นนี้ในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ อย่างไรก็ตาม หาก กกต.ไม่ส่งความเห็นชี้แจงมา ผู้ตรวจการแผ่นดินสามารถพิจารณาได้ตามข้อมูลที่มี เพราะผู้ร้องและสำนักงานเลขาวุฒิสภาได้ส่งคำชี้แจงมาแล้ว ยืนยันว่าผู้ตรวจการแผ่นดินมีความเห็นเรื่องนี้ไปในทิศทางเดียวกัน เพียงแต่ต้องรอเอกสารจาก กกต.
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาถ้อยคำตามมาตรา 61 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ กรณีการแสดงความคิดเห็นด้วยถ้อยคำ รุนแรง หยาบคาย ก้าวร้าว ข่มขู่ เข้าข่ายเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพหรือไม่ ซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินได้เปรียบเทียบกับ พ.ร.บ.ประชามติครั้งที่ผ่านมา ไม่พบว่ามีการกำหนดถ้อยคำดังกล่าว โดยพิจารณาว่าการบัญญัติถ้อยคำเหล่านี้จะก่อให้เกิดความสับสนเพิ่มมากขึ้นหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
เลขาธิการผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า หากที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินมีความเห็นไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ต้องชี้แจงให้ผู้ร้องหรือสังคมได้รับทราบ เช่น หากมีความเห็นว่า มาตรา 61 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็จะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และหากศาลรับคำร้องและวินิจฉัยว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็จะส่งผลให้มาตรา 61 ไม่มีผลบังคับใช้ แต่ไม่มีผลต่อพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติทั้งฉบับ