นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง หรือเอ็มโอยู (MOU) วันนี้ (21 พ.ค.) ที่ท่าเทียบเรือประมงสงขลา พร้อมเปิดศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมง ถือเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือขององค์การสะพานปลา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สมาคมวางแผ่นครอบครัวแห่งประเทศไทย ศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา (บ้านสุขสันต์)และบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) เพื่อสร้างเครือข่ายอาสาสมัครแรงงานต่างด้าวและสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีเอื้อต่อการให้บริการคุ้มครองป้องกันผู้ที่เสี่ยงหรือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ รวมทั้งขับเคลื่อนนโยบายป้องกันการค้ามนุษย์ระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น ตลอดจนเป็นศูนย์ประสานงานรับแจ้งเรื่องร้องทุกข์ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมของแรงงาน
สำหรับศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงนั้น ได้จัดสรรพื้นที่เป็น 4 ส่วน คือ ห้องเรียนสำหรับเด็กต่างด้าว ห้องละหมาด ห้องพยาบาล ห้องอเนกประสงค์ รวมถึงศูนย์ติดต่อประสานงาน ห้องประชุมและห้องสมุด โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี ซึ่งคณะกรรมการศูนย์นจะพิจารณาและประเมินผลดำเนินงานแบบปีต่อปี มีกลุ่มเป้าหมายหลักในพื้นที่ 5 กลุ่ม ครอบคลุมแรงงานและกลุ่มเสี่ยงกว่า 25,000 คน ประกอบด้วยกลุ่มลูกเรือประมงและแรงงานประมงต่อเนื่องจำนวน 3,565 คน กลุ่มแรงงานที่เสี่ยงต่อการเข้าสู่วงจรการค้ามนุษย์จำนวน 20,000 คน กลุ่มเด็กต่างด้าวอายุ 4-15 ปี จำนวน 50 คน กลุ่มแรงงานสตรี จำนวน 1,200 คน กลุ่มครอบครัวเด็กต่างด้าวจำนวน 320 คน สำหรับผลสำเร็จของโครงการนี้จะเป็นต้นแบบในการขยายผลการดำเนินงานไปยังท่าเรืออื่น ๆ ในประเทศไทย
นายธีรภัทร กล่าวว่า รัฐบาลไทยให้ความสำคัญเดินหน้าการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ และการใช้แรงงานผิดกฎหมายในอุตสาหกรรมประมงทุกรูปแบบอย่างจริงจังและปราบปรามอย่างเคร่งครัด ขณะเดียวกันการยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวตามหลักมนุษยธรรมและมาตรฐานสากลถือเป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติอย่างชัดเจน ซึ่งโครงการนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายและแรงงานผิดกฎหมายที่ต้องการความช่วยเหลือให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม
สำหรับศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงนั้น ได้จัดสรรพื้นที่เป็น 4 ส่วน คือ ห้องเรียนสำหรับเด็กต่างด้าว ห้องละหมาด ห้องพยาบาล ห้องอเนกประสงค์ รวมถึงศูนย์ติดต่อประสานงาน ห้องประชุมและห้องสมุด โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี ซึ่งคณะกรรมการศูนย์นจะพิจารณาและประเมินผลดำเนินงานแบบปีต่อปี มีกลุ่มเป้าหมายหลักในพื้นที่ 5 กลุ่ม ครอบคลุมแรงงานและกลุ่มเสี่ยงกว่า 25,000 คน ประกอบด้วยกลุ่มลูกเรือประมงและแรงงานประมงต่อเนื่องจำนวน 3,565 คน กลุ่มแรงงานที่เสี่ยงต่อการเข้าสู่วงจรการค้ามนุษย์จำนวน 20,000 คน กลุ่มเด็กต่างด้าวอายุ 4-15 ปี จำนวน 50 คน กลุ่มแรงงานสตรี จำนวน 1,200 คน กลุ่มครอบครัวเด็กต่างด้าวจำนวน 320 คน สำหรับผลสำเร็จของโครงการนี้จะเป็นต้นแบบในการขยายผลการดำเนินงานไปยังท่าเรืออื่น ๆ ในประเทศไทย
นายธีรภัทร กล่าวว่า รัฐบาลไทยให้ความสำคัญเดินหน้าการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ และการใช้แรงงานผิดกฎหมายในอุตสาหกรรมประมงทุกรูปแบบอย่างจริงจังและปราบปรามอย่างเคร่งครัด ขณะเดียวกันการยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวตามหลักมนุษยธรรมและมาตรฐานสากลถือเป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติอย่างชัดเจน ซึ่งโครงการนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายและแรงงานผิดกฎหมายที่ต้องการความช่วยเหลือให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม