นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.การต่างประเทศกล่าวถึงกรณีนายเกล็น เดวีส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย แสดงข้อห่วงใยต่อสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในไทย ซึ่งนอกเหนือการหารือกับ กต.เมื่อวันที่ 12 พ.ค.ว่า ขอให้ก้าวข้ามในเรื่องนี้ เรามีเรื่องสำคัญกว่านี้เยอะแยะ ส่วนกระแสการต่อต้านทูตสหรัฐอาจถึงขั้นให้เปลี่ยนตัวทูตนั้น อย่าไปถึงขนาดนั้นเลย หวังว่าไม่บานปลาย เพราะเรามีความสัมพันธ์ที่ยาวนาน นี่เป็นอุบัติเหตุเล็กน้อยที่เกิดขึ้นโดยที่เขาอาจไม่รู้ตัว
เมื่อถามว่า เขาจงใจหรือไม่ นายดอนกล่าวว่า ก็อาจจะมีส่วน แต่เราไม่อยากให้มอง เพราะจะมีผลกับภาพใหญ่เรื่องความสัมพันธ์ เราอย่าไปห่วงเรื่องนี้เลย มองข้ามไปเลย ซึ่งทูตสหรัฐคงต้องเรียนรู้ว่ามีอะไรหลายอย่างที่ต้องเข้าใจ ซึ่งคงไม่มีปัญหา และคงไม่ต้องทักท้วงกลับไปแต่อย่างใด เพราะเขาไม่มีข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเมืองไทยมาก่อน เลยเป็นเรื่องธรรมดาต้องมาเรียนรู้ ต้องใช้เวลาหน่อย ไม่อยากให้พวกเราไปติดใจอะไรมาก ข้ามๆ กันไป เชื่อว่าอีกสักพักเรื่องอาจเบาบางลงไป และเชื่อว่าคนไทยคงไม่เกิดความรู้สึกสะสมกับการกระทำของทูตสหรัฐ
นายดอนยังกล่าวถึงประเด็นการสร้างความเข้าใจกับทูตสหรัฐในเรื่องกฎหมายมาตรา 112 ว่า ทูตสหรัฐมารับตำแหน่งโดยอาจไม่มีข้อมูลพื้นฐานเรื่องนี้ว่าไทยเป็นอย่างไร เขาไม่รู้จักประเทศไทย จึงไม่เข้าใจถึงสิ่งที่พระมหากษัตริย์ของเราได้ทำอะไรให้กับประเทศชาติบ้าง เมื่อมารับตำแหน่งเพียงแค่รับทราบว่าพระองค์ท่านได้รับการสดุดีเป็นบิดาของชาติ ก็รู้แค่นั้น แต่เมื่อเขาไม่เคยเห็น ไม่เคยเข้าเฝ้าจะไม่เข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเขาแคร์ประเทศไทยเข้าใจ และพูดกับคนไทยที่ถูกคนคือ คนที่เล่าเรื่องราวด้วยเหตุด้วยผล เขาอาจเข้าใจได้ดีกว่าไปเจอและพูดคุยกับคนไทยที่ผิดคน เพราะอาจเข้าใจไปอีกด้านหนึ่ง
“เราหวังว่าคงได้คุยกับกลุ่มคนที่ถูกคน คนที่อยากให้เขาคุยด้วยมากที่สุดคืออดีตทูตไทยรุ่นก่อนๆ ที่เคยประจำอยู่สหรัฐ คนพวกนี้จะรู้ เพราะภารกิจของทูตคือ ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ขณะเดียวกัน อดีตทูตสหรัฐที่เคยประจำประเทศไทยก็คืออีกกลุ่มคนที่เขาควรคุยด้วยมากที่สุด จะได้รู้ความหมายและคุณค่าของการมาอยู่เมืองไทยว่าเป็นอย่างไร แต่ถ้าเขาไปคุยกับนักการเมืองก็จะมีภาพที่แปดเปื้อนด้วยการเมืองเยอะ ที่ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องความสัมพันธ์เป็นหลัก นักการเมืองมองเฉพาะประโยชน์ของกลุ่ม หรือของตัวเองมากกว่า” นายดอนกล่าว
เมื่อถามว่า การที่ทูตสหรัฐไม่มีข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับไทยนั้น แสดงว่าเตรียมตัวน้อยไปหน่อยใช่หรือไม่ รมว.กต.กล่าวว่า ไม่อยากบอกว่าเตรียมตัวน้อยหรือไม่ แต่มีอยู่ครั้งหนึ่งที่เคยคุยกับเขาในช่วงแรกที่เข้ามารับตำแหน่ง ถามว่ารู้ถึงเรื่องโรดแมปของไทยหรือไม่ เขาก็อาจงงๆ และเมื่อถามว่ารู้หรือไม่ว่าช่วงตรงกลางคือช่วงการปฏิรูป เขาก็ไม่รู้ เมื่อไม่รู้แปลว่าไม่ได้เตรียมตัวมา ซึ่งได้ชี้แจงไปว่าการปฏิรูปเป็นสิ่งสำคัญของประเทศไทยที่เขาต้องเข้าใจ ว่าทำไมถึงคิดจะต้องปฏิรูป
“ทุกเหตุการณ์ล้วนเป็นบทเรียนของทุกเรื่องราว และเป็นบทเรียนของทุกคนด้วย รวมถึงผมและทูตสหรัฐด้วยที่จะรู้ว่าคนไทยให้อภัยง่าย และหวังว่าจะเข้าใจคนไทยดีขึ้น การจะให้อภัยหมายความว่าต้องเข้าใจคนไทยดีขึ้นอีกประมาณ 300%” นายดอนกล่าว
เมื่อถามย้ำว่า รู้สึกช็อกหรือไม่เมื่อทูตสหรัฐหยิบโพยออกมาพร้อมระบุข้อห่วงใยเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นประเด็นนอกเหนือการหารือ นายดอนกล่าวว่า ถ้ามืออาชีพเขาไม่ทำอย่างนั้น แต่ที่ไม่ไปแย่งไมค์ เพราะถือว่าเรามีประสบการณ์กับเหตุการณ์ประเภทนี้
เมื่อถามว่า เขาจงใจหรือไม่ นายดอนกล่าวว่า ก็อาจจะมีส่วน แต่เราไม่อยากให้มอง เพราะจะมีผลกับภาพใหญ่เรื่องความสัมพันธ์ เราอย่าไปห่วงเรื่องนี้เลย มองข้ามไปเลย ซึ่งทูตสหรัฐคงต้องเรียนรู้ว่ามีอะไรหลายอย่างที่ต้องเข้าใจ ซึ่งคงไม่มีปัญหา และคงไม่ต้องทักท้วงกลับไปแต่อย่างใด เพราะเขาไม่มีข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเมืองไทยมาก่อน เลยเป็นเรื่องธรรมดาต้องมาเรียนรู้ ต้องใช้เวลาหน่อย ไม่อยากให้พวกเราไปติดใจอะไรมาก ข้ามๆ กันไป เชื่อว่าอีกสักพักเรื่องอาจเบาบางลงไป และเชื่อว่าคนไทยคงไม่เกิดความรู้สึกสะสมกับการกระทำของทูตสหรัฐ
นายดอนยังกล่าวถึงประเด็นการสร้างความเข้าใจกับทูตสหรัฐในเรื่องกฎหมายมาตรา 112 ว่า ทูตสหรัฐมารับตำแหน่งโดยอาจไม่มีข้อมูลพื้นฐานเรื่องนี้ว่าไทยเป็นอย่างไร เขาไม่รู้จักประเทศไทย จึงไม่เข้าใจถึงสิ่งที่พระมหากษัตริย์ของเราได้ทำอะไรให้กับประเทศชาติบ้าง เมื่อมารับตำแหน่งเพียงแค่รับทราบว่าพระองค์ท่านได้รับการสดุดีเป็นบิดาของชาติ ก็รู้แค่นั้น แต่เมื่อเขาไม่เคยเห็น ไม่เคยเข้าเฝ้าจะไม่เข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเขาแคร์ประเทศไทยเข้าใจ และพูดกับคนไทยที่ถูกคนคือ คนที่เล่าเรื่องราวด้วยเหตุด้วยผล เขาอาจเข้าใจได้ดีกว่าไปเจอและพูดคุยกับคนไทยที่ผิดคน เพราะอาจเข้าใจไปอีกด้านหนึ่ง
“เราหวังว่าคงได้คุยกับกลุ่มคนที่ถูกคน คนที่อยากให้เขาคุยด้วยมากที่สุดคืออดีตทูตไทยรุ่นก่อนๆ ที่เคยประจำอยู่สหรัฐ คนพวกนี้จะรู้ เพราะภารกิจของทูตคือ ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ขณะเดียวกัน อดีตทูตสหรัฐที่เคยประจำประเทศไทยก็คืออีกกลุ่มคนที่เขาควรคุยด้วยมากที่สุด จะได้รู้ความหมายและคุณค่าของการมาอยู่เมืองไทยว่าเป็นอย่างไร แต่ถ้าเขาไปคุยกับนักการเมืองก็จะมีภาพที่แปดเปื้อนด้วยการเมืองเยอะ ที่ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องความสัมพันธ์เป็นหลัก นักการเมืองมองเฉพาะประโยชน์ของกลุ่ม หรือของตัวเองมากกว่า” นายดอนกล่าว
เมื่อถามว่า การที่ทูตสหรัฐไม่มีข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับไทยนั้น แสดงว่าเตรียมตัวน้อยไปหน่อยใช่หรือไม่ รมว.กต.กล่าวว่า ไม่อยากบอกว่าเตรียมตัวน้อยหรือไม่ แต่มีอยู่ครั้งหนึ่งที่เคยคุยกับเขาในช่วงแรกที่เข้ามารับตำแหน่ง ถามว่ารู้ถึงเรื่องโรดแมปของไทยหรือไม่ เขาก็อาจงงๆ และเมื่อถามว่ารู้หรือไม่ว่าช่วงตรงกลางคือช่วงการปฏิรูป เขาก็ไม่รู้ เมื่อไม่รู้แปลว่าไม่ได้เตรียมตัวมา ซึ่งได้ชี้แจงไปว่าการปฏิรูปเป็นสิ่งสำคัญของประเทศไทยที่เขาต้องเข้าใจ ว่าทำไมถึงคิดจะต้องปฏิรูป
“ทุกเหตุการณ์ล้วนเป็นบทเรียนของทุกเรื่องราว และเป็นบทเรียนของทุกคนด้วย รวมถึงผมและทูตสหรัฐด้วยที่จะรู้ว่าคนไทยให้อภัยง่าย และหวังว่าจะเข้าใจคนไทยดีขึ้น การจะให้อภัยหมายความว่าต้องเข้าใจคนไทยดีขึ้นอีกประมาณ 300%” นายดอนกล่าว
เมื่อถามย้ำว่า รู้สึกช็อกหรือไม่เมื่อทูตสหรัฐหยิบโพยออกมาพร้อมระบุข้อห่วงใยเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นประเด็นนอกเหนือการหารือ นายดอนกล่าวว่า ถ้ามืออาชีพเขาไม่ทำอย่างนั้น แต่ที่ไม่ไปแย่งไมค์ เพราะถือว่าเรามีประสบการณ์กับเหตุการณ์ประเภทนี้