นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์วานนี้ (14พ.ค.) ถึงแนวทางการสร้างความปรองดองของรัฐบาล ภายหลังอดีตคณะกรรมการศึกษาแนวทางสร้างความปรองดอง สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่มีนายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นประธาน เตรียมเสนอแนวทางปรองดองว่า สำหรับการสร้างความปรองดอง รัฐบาลมีแนวทางของตัวเองอยู่แล้ว โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พูดถึงแนวทางดังกล่าวมานาน แต่อาจยังไม่ลงรายละเอียดในวิธีการ
ทั้งนี้พล.อ.ประยุทธ์พูดมาโดยตลอดว่ารัฐบาลสนับสนุนให้ผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามปกติ จากนั้นจึงค่อยว่ากันต่อ ว่าจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งวิธีการนี้มีความเป็นธรรม ไม่เหลื่อมล้ำ นอกจากนี้รัฐบาลไม่ได้ปิดกั้นหากหลายฝ่ายจะเสนอแนวทางการสร้างความปรองดองเข้ามา และ พล.อ.ประยุทธ์ก็หวังว่าสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) จะคิดวิธีการที่ดีเพื่อเสนอมายังรัฐบาล
สำหรับกรณีที่นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ปฏิรูปด้านการเมืองสปท. เสนอทางปรองดองโดยมีแนวคิดออกกฎหมายรอการลงโทษว่า ไม่ผิด ถือเป็นการสนองนโยบายรัฐบาล แต่อาจจะมีความไม่เหมาะสมตรงที่ยังไม่ตกผลึกแล้วออกมาพูด จึงถูกวิจารณ์ จากนั้นก็ขยับต่อไปยากลำบาก แม้จะไม่ได้ตั้งใจทำอย่างที่พูดทั้งหมด แต่ก็เสียไปหมดทั้งรูปแล้ว
"แนวของคุณเสรี ที่บอกว่าถ้าให้ผู้มีคดีการเมืองรับสารภาพผิด ตรงนี้ถ้าอีกฝ่ายเห็นว่าตัวเองไม่ได้ทำอะไรผิด เขาก็ต้องปฏิเสธการไปศาลเพื่อสารภาพ ถามว่าเสื้อแดงเขาต้องการการปรองดองหรือไม่ เขาก็ต้องการ แต่ถ้าบอกว่าให้เขามาสารภาพแล้วรอการลงโทษ เขาก็จะบอกว่าแล้วมันเรื่องอะไร เพราะเขายืนยันตลอดว่าไม่ผิด"
ผู้สื่อข่าวถามว่า การปรองดองต้องออกกฎหมายนิรโทษกรรมหรือไม่ รองนายกฯ ตอบว่า รัฐบาลย้ำเสมอว่าการปรองดองเป็นสิ่งที่ต้องทำ ซึ่งรัฐบาลต้องทำ 3 อย่าง 1.บริหารราชการแผ่นดิน 2.ปฏิรูปประเทศ 3.ปรองดอง แต่การปรองดองไม่จำเป็นที่ต้องจบด้วยการนิรโทษกรรมหรืออภัยโทษ การปรองดองมีหลายวิธี และจำเป็นต้องใช้หลายวิธีการรวมกัน ซึ่งการสร้างความเข้าใจต่อประชาชน การให้อภัย หรือการเสนอกฎหมายต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น
“คำว่าปรองดอง ลองคิดว่าถ้าคนเรามันไม่มีคดี ก็ไม่มีอะไรที่จะต้องไปนิรโทษกรรม ลองคิดถึงคนที่ไม่มีคดีแล้วจะไปปรองดองด้วยยังไง ดังนั้นจะเอาเรื่องนิรโทษฯ อภัยโทษ มาบวกกับปรองดองไม่ได้ การปรองดองกับนิรโทษกรรมอาจต้องคู่กัน แต่ไม่จำเป็นต้องคู่กัน เหมือนคนเราเวลาหิวก็ต้องกิน แต่ไม่จำเป็นต้องกินข้าว เพราะสามารถกินแซนด์วิช ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว กินน้ำได้” นายวิษณุกล่าว
ทั้งนี้พล.อ.ประยุทธ์พูดมาโดยตลอดว่ารัฐบาลสนับสนุนให้ผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามปกติ จากนั้นจึงค่อยว่ากันต่อ ว่าจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งวิธีการนี้มีความเป็นธรรม ไม่เหลื่อมล้ำ นอกจากนี้รัฐบาลไม่ได้ปิดกั้นหากหลายฝ่ายจะเสนอแนวทางการสร้างความปรองดองเข้ามา และ พล.อ.ประยุทธ์ก็หวังว่าสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) จะคิดวิธีการที่ดีเพื่อเสนอมายังรัฐบาล
สำหรับกรณีที่นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ปฏิรูปด้านการเมืองสปท. เสนอทางปรองดองโดยมีแนวคิดออกกฎหมายรอการลงโทษว่า ไม่ผิด ถือเป็นการสนองนโยบายรัฐบาล แต่อาจจะมีความไม่เหมาะสมตรงที่ยังไม่ตกผลึกแล้วออกมาพูด จึงถูกวิจารณ์ จากนั้นก็ขยับต่อไปยากลำบาก แม้จะไม่ได้ตั้งใจทำอย่างที่พูดทั้งหมด แต่ก็เสียไปหมดทั้งรูปแล้ว
"แนวของคุณเสรี ที่บอกว่าถ้าให้ผู้มีคดีการเมืองรับสารภาพผิด ตรงนี้ถ้าอีกฝ่ายเห็นว่าตัวเองไม่ได้ทำอะไรผิด เขาก็ต้องปฏิเสธการไปศาลเพื่อสารภาพ ถามว่าเสื้อแดงเขาต้องการการปรองดองหรือไม่ เขาก็ต้องการ แต่ถ้าบอกว่าให้เขามาสารภาพแล้วรอการลงโทษ เขาก็จะบอกว่าแล้วมันเรื่องอะไร เพราะเขายืนยันตลอดว่าไม่ผิด"
ผู้สื่อข่าวถามว่า การปรองดองต้องออกกฎหมายนิรโทษกรรมหรือไม่ รองนายกฯ ตอบว่า รัฐบาลย้ำเสมอว่าการปรองดองเป็นสิ่งที่ต้องทำ ซึ่งรัฐบาลต้องทำ 3 อย่าง 1.บริหารราชการแผ่นดิน 2.ปฏิรูปประเทศ 3.ปรองดอง แต่การปรองดองไม่จำเป็นที่ต้องจบด้วยการนิรโทษกรรมหรืออภัยโทษ การปรองดองมีหลายวิธี และจำเป็นต้องใช้หลายวิธีการรวมกัน ซึ่งการสร้างความเข้าใจต่อประชาชน การให้อภัย หรือการเสนอกฎหมายต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น
“คำว่าปรองดอง ลองคิดว่าถ้าคนเรามันไม่มีคดี ก็ไม่มีอะไรที่จะต้องไปนิรโทษกรรม ลองคิดถึงคนที่ไม่มีคดีแล้วจะไปปรองดองด้วยยังไง ดังนั้นจะเอาเรื่องนิรโทษฯ อภัยโทษ มาบวกกับปรองดองไม่ได้ การปรองดองกับนิรโทษกรรมอาจต้องคู่กัน แต่ไม่จำเป็นต้องคู่กัน เหมือนคนเราเวลาหิวก็ต้องกิน แต่ไม่จำเป็นต้องกินข้าว เพราะสามารถกินแซนด์วิช ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว กินน้ำได้” นายวิษณุกล่าว