สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนจำนวน 1,138 คน จากทั่วประเทศ เกี่ยวกับการสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองที่ยังคงมีความแตกต่างทางด้านความคิด
ทั้งนี้ ผลสำรวจระบุว่า ประชาชนร้อยละ 45.52 เชื่อว่าการปรองดองจะเกิดขึ้นในหมู่คนไทยในสมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ได้ยาก เพราะสถานการณ์บ้านเมืองยังไม่ดีขึ้น มีแต่การทะเลาะเบาะแว้ง ใส่ร้าย โจมตี รวมทั้งยังมีการเคลื่อนไหวให้เห็น มุมมองความคิดเห็นแตกต่างกัน ไม่เปิดใจยอมรับ เปลี่ยนความคิดได้ยาก
ขณะที่ร้อยละ 33.21 เห็นว่าคงจะสำเร็จ เพราะรัฐบาลน่าจะทำได้สำเร็จ ประชาชนตื่นตัวให้ความร่วมมือมากขึ้น เป็นสิ่งที่คนไทยต่างคาดหวังอยากเห็นความปรองดองเกิดขึ้นในสังคม เพื่อความเจริญก้าวหน้าและความสงบสุขของบ้านเมือง ฯลฯ
ส่วนร้อยละ 21.27 เห็นว่าคงไม่สำเร็จ เพราะเป็นปัญหาที่สะสมมานาน แก้ไขยาก คนบางกลุ่มไม่พอใจการบริหารงานของรัฐบาล มองว่าถูกรัฐบาลปิดกั้น ควบคุม ขาดความเป็นอิสระ ฯลฯ
สำหรับสาเหตุที่การปรองดองของคนไทยทำได้ยาก ร้อยละ 85.06 มองว่าเป็นเพราะมีทิฐิ อคติ ไม่รับฟังความเห็นผู้อื่น ร้อยละ 77.15 ระบุ เป็นเพราะคนเห็นแก่ตัว มุ่งหวังแต่อำนาจและผลประโยชน์ ขณะที่ร้อยละ 71.65 ระบุ เป็นเพราะได้รับข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือน ไม่รู้ข้อเท็จจริง ขณะที่ร้อยละ 70.21 ระบุเป็นเพราะเลือกข้างเลือกฝ่าย เห็นแก่พวกพ้อง ร้อยละ 62.65 ระบุ ไม่เชื่อมั่นในกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม
อย่างไรก็ตาม สำหรับการแก้ไขความขัดแย้งแตกแยก เพื่อให้เกิดความปรองดอง ร้อยละ 79.35 ระบุ ต้องรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ให้อภัย ลดทิฐิ เห็นแก่บ้านเมือง ร้อยละ 68.37 เห็นว่าต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดจริงจัง กฎหมายต้องเป็นธรรม มีมาตรฐานเดียวกัน ขณะที่ร้อยละ 67.49 ระบุต้องปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับคนไทย จัดกิจกรรมเสริมสร้างความปรองดอง นอกจากนี้ ร้อยละ 51.93 ระบุ ต้องพัฒนาเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง วางรากฐานการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และร้อยละ 47.89 ระบุ ต้องนำเสนอข้อมูลข่าวสารอย่างสร้างสรรค์ ชัดเจน ตรงไปตรงมา
ทั้งนี้ ผลสำรวจระบุว่า ประชาชนร้อยละ 45.52 เชื่อว่าการปรองดองจะเกิดขึ้นในหมู่คนไทยในสมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ได้ยาก เพราะสถานการณ์บ้านเมืองยังไม่ดีขึ้น มีแต่การทะเลาะเบาะแว้ง ใส่ร้าย โจมตี รวมทั้งยังมีการเคลื่อนไหวให้เห็น มุมมองความคิดเห็นแตกต่างกัน ไม่เปิดใจยอมรับ เปลี่ยนความคิดได้ยาก
ขณะที่ร้อยละ 33.21 เห็นว่าคงจะสำเร็จ เพราะรัฐบาลน่าจะทำได้สำเร็จ ประชาชนตื่นตัวให้ความร่วมมือมากขึ้น เป็นสิ่งที่คนไทยต่างคาดหวังอยากเห็นความปรองดองเกิดขึ้นในสังคม เพื่อความเจริญก้าวหน้าและความสงบสุขของบ้านเมือง ฯลฯ
ส่วนร้อยละ 21.27 เห็นว่าคงไม่สำเร็จ เพราะเป็นปัญหาที่สะสมมานาน แก้ไขยาก คนบางกลุ่มไม่พอใจการบริหารงานของรัฐบาล มองว่าถูกรัฐบาลปิดกั้น ควบคุม ขาดความเป็นอิสระ ฯลฯ
สำหรับสาเหตุที่การปรองดองของคนไทยทำได้ยาก ร้อยละ 85.06 มองว่าเป็นเพราะมีทิฐิ อคติ ไม่รับฟังความเห็นผู้อื่น ร้อยละ 77.15 ระบุ เป็นเพราะคนเห็นแก่ตัว มุ่งหวังแต่อำนาจและผลประโยชน์ ขณะที่ร้อยละ 71.65 ระบุ เป็นเพราะได้รับข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือน ไม่รู้ข้อเท็จจริง ขณะที่ร้อยละ 70.21 ระบุเป็นเพราะเลือกข้างเลือกฝ่าย เห็นแก่พวกพ้อง ร้อยละ 62.65 ระบุ ไม่เชื่อมั่นในกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม
อย่างไรก็ตาม สำหรับการแก้ไขความขัดแย้งแตกแยก เพื่อให้เกิดความปรองดอง ร้อยละ 79.35 ระบุ ต้องรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ให้อภัย ลดทิฐิ เห็นแก่บ้านเมือง ร้อยละ 68.37 เห็นว่าต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดจริงจัง กฎหมายต้องเป็นธรรม มีมาตรฐานเดียวกัน ขณะที่ร้อยละ 67.49 ระบุต้องปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับคนไทย จัดกิจกรรมเสริมสร้างความปรองดอง นอกจากนี้ ร้อยละ 51.93 ระบุ ต้องพัฒนาเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง วางรากฐานการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และร้อยละ 47.89 ระบุ ต้องนำเสนอข้อมูลข่าวสารอย่างสร้างสรรค์ ชัดเจน ตรงไปตรงมา