นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)กล่าวถึงการชี้แจงคำถามพ่วงประชามติว่า สปท.ได้จัดส่งรายชื่อสมาชิก สปท.ที่อาสาสมัครไปร่วมชี้แจงคำถามพ่วงประชามติให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ตามที่ขอความร่วมมือมาจำนวน 42 คน จากการประชุมคณะกรรมการประสานงานระหว่าง สนช.และ สปท.เมื่อวันพุธที่ผ่านมา สรุปผลการประชุมเรื่องความร่วมมือในการชี้แจงคำถามพ่วงประชามติได้ดังนี้ จะมีการประชุมอาสาสมัคร สนช.และ สปท.ร่วมกันครั้งแรกที่รัฐสภา วันที่ 13 พ.ค. เพื่อซักซ้อมการทำงานร่วมกัน นอกจากนั้นจะมีประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ชี้แจงเรื่องร่างรัฐธรรมนูญและประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) หรือผู้แทนชี้แจงพระราชบัญญัติการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า สปท.จะเปิดรับอาสาสมัคร สปท.เพิ่มเติมในวันที่10 พ.ค และจะส่งรายชื่อให้สนช.ในวันถัดไป เพื่อจัดอาสาสมัคร สปท.เพิ่มเติมใน 9 กลุ่มจังหวัด เนื่องจาก สนช.มีเป้าหมายจะลงพื้นที่ชี้แจงทุกจังหวัด และเข้าถึงระดับอำเภอจึงต้องการอาสาสมัครเพิ่มขึ้น อาสาสมัคร สนช.และ สปท.จะเข้าร่วมอบรมวิทยากร(ครู ก.) ที่กรธ.จัดระหว่างวันที่ 18-19 พ.ค.ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ เพื่อเตรียมความพร้อมขั้นสุดท้ายก่อนลงพื้นที่ปฏิบัติการทุกจังหวัดทั่วประเทศ
นายอลงกรณ์ กล่าวอีกว่า เรายืนยันชัดเจนในการทำหน้าที่ชี้แจงคำถามพ่วงประชามติ ต้องดำเนินการภายใต้กรอบกฎหมาย และแนวปฏิบัติของ กกต.อย่างเคร่งครัด จะเป็นการอธิบายสาระสำคัญของคำถามประกอบเหตุผลและข้อเท็จจริง จะไม่มีการชี้นำ เพราะเราเคารพความคิดเห็นของประชาชนซึ่งควรใช้เสรีภาพโดยอิสระในการใช้ดุลยพินิจด้วยตัวเองว่า จะรับหรือไม่รับคำถามหรือร่างรัฐธรรมนูญ การออกเสียงประชามติเป็นกระบวนการทางการเมืองที่ต้องเปิดกว้างสร้างความเข้าใจเป็นหลัก แต่หากมีการกระทำความผิดก็ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเสมอภาค
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า สปท.จะเปิดรับอาสาสมัคร สปท.เพิ่มเติมในวันที่10 พ.ค และจะส่งรายชื่อให้สนช.ในวันถัดไป เพื่อจัดอาสาสมัคร สปท.เพิ่มเติมใน 9 กลุ่มจังหวัด เนื่องจาก สนช.มีเป้าหมายจะลงพื้นที่ชี้แจงทุกจังหวัด และเข้าถึงระดับอำเภอจึงต้องการอาสาสมัครเพิ่มขึ้น อาสาสมัคร สนช.และ สปท.จะเข้าร่วมอบรมวิทยากร(ครู ก.) ที่กรธ.จัดระหว่างวันที่ 18-19 พ.ค.ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ เพื่อเตรียมความพร้อมขั้นสุดท้ายก่อนลงพื้นที่ปฏิบัติการทุกจังหวัดทั่วประเทศ
นายอลงกรณ์ กล่าวอีกว่า เรายืนยันชัดเจนในการทำหน้าที่ชี้แจงคำถามพ่วงประชามติ ต้องดำเนินการภายใต้กรอบกฎหมาย และแนวปฏิบัติของ กกต.อย่างเคร่งครัด จะเป็นการอธิบายสาระสำคัญของคำถามประกอบเหตุผลและข้อเท็จจริง จะไม่มีการชี้นำ เพราะเราเคารพความคิดเห็นของประชาชนซึ่งควรใช้เสรีภาพโดยอิสระในการใช้ดุลยพินิจด้วยตัวเองว่า จะรับหรือไม่รับคำถามหรือร่างรัฐธรรมนูญ การออกเสียงประชามติเป็นกระบวนการทางการเมืองที่ต้องเปิดกว้างสร้างความเข้าใจเป็นหลัก แต่หากมีการกระทำความผิดก็ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเสมอภาค