เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ที่สำนักงานองค์การสหประชาชาติ ถนนราชดำเนิน กทม.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เครือข่าย นักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง นำโดย นายอนุสรณ์ อุณโณ คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) นายพิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มธ.และน.ส.ชลิตา บัณฑุวงศ์ อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.) เข้าพบตัวแทนสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ(ยูเอ็นโอเอชซีเอชอาร์) เพื่อยื่นหนังสือขอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อผู้ที่คิดเห็นต่างจากรัฐบาล
โดยหนังสือระบุว่า ภายใต้รัฐบาลของ คสช.มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนผู้มีความคิดเห็นต่างจากรัฐบาล และอาศัยอำนาจที่ไร้ขอบเขตจากมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญปี 2557 รวมถึงคำสั่ง คสช.ฉบับที่ 3/2558 และ 13/2559 โดยมีการจับกุมและซ้อมทรมานประชาชนต่างขั้วการเมือง รวมถึงนิสิต นักศึกษา นักวิชาการ สื่อมวลชน นักกิจกรรมสังคม และนักการเมือง จากการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ คสช. ด้วยการเรียกตัวเข้าค่ายทหารเพื่อเข้าสู่กระบวนการปรับทัศนคติ และส่งเจ้าหน้าที่ติดตามชีวิตประจำวัน สร้างแรงกดดันผ่านหน่วยงาน องค์กรที่พวกเขาทำงานอยู่ นอกจากนี้ยังละเมิดสิทธิส่วนตัวในระบบคอมพิวเตอร์ และแจ้งความดำเนินคดีกับผู้เห็นต่างโดยใช้กฎหมายที่รุนแรง
นอกจากนี้ยังมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่รุนแรงมากขึ้นในระหว่าง ช่วงการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีการจับกุมผู้ดูแลเพจเฟซบุ๊ก ที่ล้อเลียนผู้นำ คสช. พร้อมจับกุมผู้ที่เกี่ยวข้องทั้ง 8 คน ที่ จ.ขอนแก่น และกรุงเทพฯ และต่อมาศาลทหารได้ออกหมายจับในความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และ 112
เครือข่ายนักวิชาการฯ มองว่า การจับกุมประชาชนทั้ง 8 คน เป็นจุดเริ่มต้นการกวาดล้างของผู้เห็นต่าง และสร้างบรรยากาศความกดดัน หวาดกลัว และสอดคล้องกับที่รัฐบาลพยายามผลักดันให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ ดังนั้นจึงมีความกังวลต่อสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง จึงขอเรียกร้องต่อสำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ ให้ช่วยดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว และแสดงท่าทีไปยังรัฐบาลและ คสช.ให้ยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนในทุกกรณีโดยเร็ว
จากนั้น นายอนุสรณ์ กล่าวหลังเข้าพบรักษาการข้าหลวงใหญ่ฯ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่า ได้หารือถึงแนวทางสิทธิการแสดงออก สิทธิมนุษยชน และการออกเสียงประชามติในทางที่ชอบธรรม ซึ่งยูเอ็นโอเอชซีเอชอาร์มีความห่วงใยและติดตามสถานการณ์กลุ่มชุมนุมต่างๆโดยส่งเจ้าหน้าที่สอบถามทหารและตำรวจระดับปฏิบัติการแต่คำตอบที่ได้คือ เจ้าหน้าที่ทำตามคำสั่ง ซึ่งอยู่ในสถานการณ์พิเศษ ทำให้ไทยไม่สามารถดำเนินการตามสัตยาบรรณได้
ทั้งนี้ มีแนวทางหลัก 2แนวทาง คือการยกระดับการพูดคุยในประเด็นดังกล่าวกับเจ้าหน้าที่ไทยให้สูงขึ้นและยกระดับไปที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อความกดดันเจ้าหน้าที่ไทยอีกทางหนึ่ง พร้อมทั้งหาแนวทางให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยในระดับนโยบายมาพูดคุยกับนักวิชาการมากขึ้น ในลักษณะกิจกรรมแบบปิด โดยเน้นเรื่องเสรีภาพทางวิชาการ ความคิดเห็นและการลงประชามติ โดยจะมีการพูดกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เพราะที่ผ่านมานักวิชาการไม่เคยได้มีโอกาสในการพูดคุย มีแต่การเรียกไปปรับทัศนคติ
ก่อนหน้านี้ พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้ออกมาประกาศเตือนกลุ่มต่อต้านและกลุ่มนักศึกษายุติการหยุดเคลื่อนไหวก่อกวน หรือต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญหรือโจมตีการทำงานของรัฐบาล โดยขู่ที่จะใช้กฏหมายทุกอย่างที่มีอยู่เพื่อจัดการอย่างเฉียบขาดกับกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวช่วงนี้
โดยหนังสือระบุว่า ภายใต้รัฐบาลของ คสช.มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนผู้มีความคิดเห็นต่างจากรัฐบาล และอาศัยอำนาจที่ไร้ขอบเขตจากมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญปี 2557 รวมถึงคำสั่ง คสช.ฉบับที่ 3/2558 และ 13/2559 โดยมีการจับกุมและซ้อมทรมานประชาชนต่างขั้วการเมือง รวมถึงนิสิต นักศึกษา นักวิชาการ สื่อมวลชน นักกิจกรรมสังคม และนักการเมือง จากการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ คสช. ด้วยการเรียกตัวเข้าค่ายทหารเพื่อเข้าสู่กระบวนการปรับทัศนคติ และส่งเจ้าหน้าที่ติดตามชีวิตประจำวัน สร้างแรงกดดันผ่านหน่วยงาน องค์กรที่พวกเขาทำงานอยู่ นอกจากนี้ยังละเมิดสิทธิส่วนตัวในระบบคอมพิวเตอร์ และแจ้งความดำเนินคดีกับผู้เห็นต่างโดยใช้กฎหมายที่รุนแรง
นอกจากนี้ยังมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่รุนแรงมากขึ้นในระหว่าง ช่วงการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีการจับกุมผู้ดูแลเพจเฟซบุ๊ก ที่ล้อเลียนผู้นำ คสช. พร้อมจับกุมผู้ที่เกี่ยวข้องทั้ง 8 คน ที่ จ.ขอนแก่น และกรุงเทพฯ และต่อมาศาลทหารได้ออกหมายจับในความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และ 112
เครือข่ายนักวิชาการฯ มองว่า การจับกุมประชาชนทั้ง 8 คน เป็นจุดเริ่มต้นการกวาดล้างของผู้เห็นต่าง และสร้างบรรยากาศความกดดัน หวาดกลัว และสอดคล้องกับที่รัฐบาลพยายามผลักดันให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ ดังนั้นจึงมีความกังวลต่อสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง จึงขอเรียกร้องต่อสำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ ให้ช่วยดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว และแสดงท่าทีไปยังรัฐบาลและ คสช.ให้ยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนในทุกกรณีโดยเร็ว
จากนั้น นายอนุสรณ์ กล่าวหลังเข้าพบรักษาการข้าหลวงใหญ่ฯ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่า ได้หารือถึงแนวทางสิทธิการแสดงออก สิทธิมนุษยชน และการออกเสียงประชามติในทางที่ชอบธรรม ซึ่งยูเอ็นโอเอชซีเอชอาร์มีความห่วงใยและติดตามสถานการณ์กลุ่มชุมนุมต่างๆโดยส่งเจ้าหน้าที่สอบถามทหารและตำรวจระดับปฏิบัติการแต่คำตอบที่ได้คือ เจ้าหน้าที่ทำตามคำสั่ง ซึ่งอยู่ในสถานการณ์พิเศษ ทำให้ไทยไม่สามารถดำเนินการตามสัตยาบรรณได้
ทั้งนี้ มีแนวทางหลัก 2แนวทาง คือการยกระดับการพูดคุยในประเด็นดังกล่าวกับเจ้าหน้าที่ไทยให้สูงขึ้นและยกระดับไปที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อความกดดันเจ้าหน้าที่ไทยอีกทางหนึ่ง พร้อมทั้งหาแนวทางให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยในระดับนโยบายมาพูดคุยกับนักวิชาการมากขึ้น ในลักษณะกิจกรรมแบบปิด โดยเน้นเรื่องเสรีภาพทางวิชาการ ความคิดเห็นและการลงประชามติ โดยจะมีการพูดกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เพราะที่ผ่านมานักวิชาการไม่เคยได้มีโอกาสในการพูดคุย มีแต่การเรียกไปปรับทัศนคติ
ก่อนหน้านี้ พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้ออกมาประกาศเตือนกลุ่มต่อต้านและกลุ่มนักศึกษายุติการหยุดเคลื่อนไหวก่อกวน หรือต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญหรือโจมตีการทำงานของรัฐบาล โดยขู่ที่จะใช้กฏหมายทุกอย่างที่มีอยู่เพื่อจัดการอย่างเฉียบขาดกับกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวช่วงนี้