พลตำรวจตรีสุรเชษฐ์ หักพาล ผู้บังคับการตำรวจท่องเที่ยว พร้อมด้วยตำรวจ สภ.เมืองอุดรธานี จับกุมตัว น.ส.ตะวันนา ธาราวสันต์ ผู้ต้องหา ร่วมกันฉ้อโกง และ ข้อหาอื่นๆ คดีดังกล่าวมีมูลค่าความเสียหาย กว่า 23 ล้านบาท โดยเจ้าหน้าที่ จับกุมผู้ต้องหา ได้ที่ จ.สุราษฎร์ธานี
สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 11 เมษายน ที่ผ่านมา ผู้เสียหายเข้าแจ้งความกับตำรวจท่องเที่ยว จ.อุดรธานี ว่า ถูกบุคคลอ้างชื่อ ว่า นายแฟรงค์ นิโคลาส ชาวไนจีเรีย ซึ่งรู้จักกันผ่านทางเฟซบุ๊ก ไม่เคยพบเห็นกันมาก่อน หลอกให้โอนเงินหลายล้านบาท ต่อมาเจ้าหน้าที่สืบทราบว่า บัญชีที่ผู้เสียหายโอนเงินไปให้ มีทั้งสิ้น 3 บัญชี
จากนั้นเจ้าหน้าที่ จับ กุม เจ้าของบัญชี ทั้ง 3 คน ได้ และ ซัดทอดมายัง น.ส.ตะวันนา ว่า เป็นผู้ให้เปิดบัญชีธนาคาร ได้ค่าจ้างเป็นเงินบัญชีละ 5,000 บาท ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่สืบทราบว่า มีผู้เกี่ยวข้องมากกว่า 7 คนขึ้นไป กำลังขออนุมัติหมายจับ อีก 3 คน เป็นคนไทย และ คาดว่ายังคงอาศัยอยู่ในประเทศไทย
สำหรับนายแฟรงค์ นั้น คาดว่า ไม่มีตัวตนจริง เป็นเพียงเฟซบุ๊กปลอม ที่สร้างขึ้นมา เพื่อหลอกเอาเงินผู้ที่หลงเชื่อ สอบสวน น.ส.ตะวันนา ให้การว่า รับจ้างจากหญิงสาวรายหนึ่ง ให้ช่วยเปิดบัญชี โดยจะมีค่าตอบแทนบัญชีละ 5,000 บาท และ ให้ตนเองไปจ้างคนอื่นเพื่อเปิดบัญชีอีกทอด
ขณะที่ผู้เสียหายรายหนึ่ง ระบุว่า รู้จักกับนายแฟรงค์ ผ่านทางเฟซบุ๊ก นายแฟรงค์ ทำทีมาตีสนิทพูดคุย ตอนแรกไม่สนใจ กระทั่งคุยกัน ได้ 6 เดือน จึงเกิดความเชื่อใจ และ เมื่อปี 2557 / นายแฟรงค์ บอกว่า พ่อเสียชีวิต และ ให้เช็คไว้ แต่ต้องมีค่าธรรมเนียมในการขึ้นเช็ค
จึงขอยืมเงินตนเอง ครั้งแรกโอนไปให้ 60,000 เหรียญสหรัฐ จากนั้นขอยืมเงิน เรื่อยๆ จึงโอนไปให้ประมาณ 10 ครั้ง ในระยะเวลา 2-3 เดือน มูลค่ากว่า 23 ล้านบาท เหตุที่ให้เพราะ สงสารอยากช่วยเหลือ แต่ไม่คิดว่าจะพบกับเหตุการณ์ดังกล่าว
สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 11 เมษายน ที่ผ่านมา ผู้เสียหายเข้าแจ้งความกับตำรวจท่องเที่ยว จ.อุดรธานี ว่า ถูกบุคคลอ้างชื่อ ว่า นายแฟรงค์ นิโคลาส ชาวไนจีเรีย ซึ่งรู้จักกันผ่านทางเฟซบุ๊ก ไม่เคยพบเห็นกันมาก่อน หลอกให้โอนเงินหลายล้านบาท ต่อมาเจ้าหน้าที่สืบทราบว่า บัญชีที่ผู้เสียหายโอนเงินไปให้ มีทั้งสิ้น 3 บัญชี
จากนั้นเจ้าหน้าที่ จับ กุม เจ้าของบัญชี ทั้ง 3 คน ได้ และ ซัดทอดมายัง น.ส.ตะวันนา ว่า เป็นผู้ให้เปิดบัญชีธนาคาร ได้ค่าจ้างเป็นเงินบัญชีละ 5,000 บาท ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่สืบทราบว่า มีผู้เกี่ยวข้องมากกว่า 7 คนขึ้นไป กำลังขออนุมัติหมายจับ อีก 3 คน เป็นคนไทย และ คาดว่ายังคงอาศัยอยู่ในประเทศไทย
สำหรับนายแฟรงค์ นั้น คาดว่า ไม่มีตัวตนจริง เป็นเพียงเฟซบุ๊กปลอม ที่สร้างขึ้นมา เพื่อหลอกเอาเงินผู้ที่หลงเชื่อ สอบสวน น.ส.ตะวันนา ให้การว่า รับจ้างจากหญิงสาวรายหนึ่ง ให้ช่วยเปิดบัญชี โดยจะมีค่าตอบแทนบัญชีละ 5,000 บาท และ ให้ตนเองไปจ้างคนอื่นเพื่อเปิดบัญชีอีกทอด
ขณะที่ผู้เสียหายรายหนึ่ง ระบุว่า รู้จักกับนายแฟรงค์ ผ่านทางเฟซบุ๊ก นายแฟรงค์ ทำทีมาตีสนิทพูดคุย ตอนแรกไม่สนใจ กระทั่งคุยกัน ได้ 6 เดือน จึงเกิดความเชื่อใจ และ เมื่อปี 2557 / นายแฟรงค์ บอกว่า พ่อเสียชีวิต และ ให้เช็คไว้ แต่ต้องมีค่าธรรมเนียมในการขึ้นเช็ค
จึงขอยืมเงินตนเอง ครั้งแรกโอนไปให้ 60,000 เหรียญสหรัฐ จากนั้นขอยืมเงิน เรื่อยๆ จึงโอนไปให้ประมาณ 10 ครั้ง ในระยะเวลา 2-3 เดือน มูลค่ากว่า 23 ล้านบาท เหตุที่ให้เพราะ สงสารอยากช่วยเหลือ แต่ไม่คิดว่าจะพบกับเหตุการณ์ดังกล่าว