นายศุภชัย สมเจริญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงความคืบหน้ากระบวนการจัดทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ว่า กกต.เตรียมแผนงานต่าง ๆ ไว้พร้อมทุกขั้นตอนแล้ว ทั้งการจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญ สรุปสาระสำคัญร่างรัฐธรรมนูญ การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิออกเสียงให้มากที่สุด ซึ่งขั้นตอนของการจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญทางฝ่ายที่รับผิดชอบอยู่ระหว่างดำเนินการประกวดราคา เพื่อหาโรงพิมพ์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ จะประสานขอความร่วมมือจากสภานายจ้างเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกแก่ลูกจ้างในการลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงนอกเขตจังหวัดทางอินเทอร์เน็ต โดยสามารถใช้อินเทอร์เน็ตของนายจ้างได้ รวมทั้งขอความร่วมมือจากสภาอุตสาหกรรมและทางหอการค้าไทยเพื่อให้ลูกจ้างออกมาใช้สิทธิออกเสียงในวันที่ 7 สิงหาคม ด้วย
นายศุภชัย กล่าวว่า ส่วนข้อสังเกตว่าประกาศ กกต.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการแสดงความคิดเห็นการออกเสียงประชามติไม่ชัดเจน ขอชี้แจงว่าหลักการง่ายๆ ถ้าการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติเป็นไปโดยสุจริต ไม่ปลุกระดม ไม่ขัดต่อหลักกฎหมายสามารถทำได้ เช่น ไม่เห็นด้วยเพราะอะไร แสดงเหตุผลออกมาในเชิงวิชาการ แบบนี้ทำได้ แต่หากปลุกระดมว่าไม่ควรรับร่างรัฐธรรมนูญ แบบนี้ทำไม่ได้ แม้กระทั่งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) จะปลุกระดมให้ประชาชนรับร่างรัฐธรรมนูญก็ทำไม่ได้เช่นกัน ทำได้เพียงอธิบายสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก็ทำหน้าที่อธิบายประเด็นคำถามเพิ่มเติมและเหตุผล
ขณะที่คนที่ทำหน้าที่ชี้ว่าสิ่งใดผิดหรือไม่ผิดคือศาลยุติธรรม ขณะนี้ กกต.ออกแนวทางปฏิบัติทำได้ 6 ข้อ ทำไม่ได้ 8 ข้อ ซึ่งถ้าหลังจากนี้จะมีสิ่งใดอีก กกต.จะออกเป็นประกาศเพิ่มเติมต่อไป ขณะนี้ กกต.กำลังทยอยคิดอยู่ แต่เอาง่าย ๆ ว่าการวิจารณ์ถ้าอยู่บนพื้นฐานของความสุจริตใจทำได้ การโพสต์ข้อความอย่าปลุกระดมหรือใช้ถ้อยคำหยาบคายก้าวร้าว รุนแรง ทั้งนี้ ขอประชาชนอย่ากังวลเกินเหตุกับแนวทางต่าง ๆ ที่ออกมา หากปฏิบัติตามกรอบกฎหมายไม่ต้องกังวล อยากให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิกันให้มาก ส่วนจะมีความเห็นอย่างไรเป็นสิทธิอันชอบธรรมของทุกคน กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ ใช้บังคับกับทุกคน จึงอยากให้ทุกคนออกมาใช้สิทธิ
ทั้งนี้ จะประสานขอความร่วมมือจากสภานายจ้างเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกแก่ลูกจ้างในการลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงนอกเขตจังหวัดทางอินเทอร์เน็ต โดยสามารถใช้อินเทอร์เน็ตของนายจ้างได้ รวมทั้งขอความร่วมมือจากสภาอุตสาหกรรมและทางหอการค้าไทยเพื่อให้ลูกจ้างออกมาใช้สิทธิออกเสียงในวันที่ 7 สิงหาคม ด้วย
นายศุภชัย กล่าวว่า ส่วนข้อสังเกตว่าประกาศ กกต.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการแสดงความคิดเห็นการออกเสียงประชามติไม่ชัดเจน ขอชี้แจงว่าหลักการง่ายๆ ถ้าการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติเป็นไปโดยสุจริต ไม่ปลุกระดม ไม่ขัดต่อหลักกฎหมายสามารถทำได้ เช่น ไม่เห็นด้วยเพราะอะไร แสดงเหตุผลออกมาในเชิงวิชาการ แบบนี้ทำได้ แต่หากปลุกระดมว่าไม่ควรรับร่างรัฐธรรมนูญ แบบนี้ทำไม่ได้ แม้กระทั่งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) จะปลุกระดมให้ประชาชนรับร่างรัฐธรรมนูญก็ทำไม่ได้เช่นกัน ทำได้เพียงอธิบายสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก็ทำหน้าที่อธิบายประเด็นคำถามเพิ่มเติมและเหตุผล
ขณะที่คนที่ทำหน้าที่ชี้ว่าสิ่งใดผิดหรือไม่ผิดคือศาลยุติธรรม ขณะนี้ กกต.ออกแนวทางปฏิบัติทำได้ 6 ข้อ ทำไม่ได้ 8 ข้อ ซึ่งถ้าหลังจากนี้จะมีสิ่งใดอีก กกต.จะออกเป็นประกาศเพิ่มเติมต่อไป ขณะนี้ กกต.กำลังทยอยคิดอยู่ แต่เอาง่าย ๆ ว่าการวิจารณ์ถ้าอยู่บนพื้นฐานของความสุจริตใจทำได้ การโพสต์ข้อความอย่าปลุกระดมหรือใช้ถ้อยคำหยาบคายก้าวร้าว รุนแรง ทั้งนี้ ขอประชาชนอย่ากังวลเกินเหตุกับแนวทางต่าง ๆ ที่ออกมา หากปฏิบัติตามกรอบกฎหมายไม่ต้องกังวล อยากให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิกันให้มาก ส่วนจะมีความเห็นอย่างไรเป็นสิทธิอันชอบธรรมของทุกคน กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ ใช้บังคับกับทุกคน จึงอยากให้ทุกคนออกมาใช้สิทธิ