นายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า วันนี้ (19 เม.ย.) เวลา 14.17 น. ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุด หรือ พีค (Peak) อยู่ที่ 28,351.7 เมกะวัตต์ ทำลายตัวเลขการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในปีนี้เป็นครั้งที่ 2 จากพีคครั้งแรก เมื่อวันที่ 6 เมษายน ที่ผ่านมา ซึ่งมีการใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 27,639.3 เมกะวัตต์ สำหรับสาเหตุสำคัญมาจากสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว โดยวันนี้มีอุณหภูมิสูงถึง 36.6 อาศาเซลเซียส และเป็นช่วงวันทำงานปกติหลังจากการหยุดเทศกาลสงกรานต์ จึงมีการใช้ไฟฟ้าทั้งภาคอุตสาหกรรม บริการ และบ้านอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ กฟผ. ได้เตรียมกำลังผลิตไฟฟ้าและเชื้อเพลิงเพียงพอกับความต้องการใช้ไฟฟ้า และขอความร่วมมือประชาชนช่วยกันประหยัดไฟฟ้าตามมาตรการ "ปิด - ปรับ - ปลด - เปลี่ยน" วันละ 1 ชั่วโมง ในช่วงเวลา 14.00-15.00 น. เป็นเวลา 2 เดือน ตั้งแต่ 20 มีนาคม - 20 พฤษภาคม 2559 โดยปิดไฟดวงที่ไม่ใช้ ปรับลดอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศมาอยู่ที่ระดับ 26 องศาเซลเซียส ปลดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช้งาน และเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ที่ประหยัดไฟฟ้า ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศได้เป็นอย่างดี
ส่วนเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2559 เวลา 21.00 น. ยอดใช้ไฟฟ้าสูงสุดของภาคใต้ 14 จังหวัด ตั้งแต่ จ.ชุมพร ลงมาอยู่ที่ 2,630 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ร้อยละ 5 หรือ 125 เมกะวัตต์ เนื่องจากอากาศร้อนอบอ้าว มีการใช้เครื่องปรับอากาศมากขึ้น และการใช้ไฟฟ้าใน 14 จังหวัดภาคใต้ ส่งสัญญาณเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยทำลายสถิติเดิมมาแล้วถึง 10 ครั้ง โดยจังหวัดที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด ได้แก่ สงขลา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และกระบี่
ทั้งนี้ กฟผ. ได้เตรียมกำลังผลิตไฟฟ้าและเชื้อเพลิงเพียงพอกับความต้องการใช้ไฟฟ้า และขอความร่วมมือประชาชนช่วยกันประหยัดไฟฟ้าตามมาตรการ "ปิด - ปรับ - ปลด - เปลี่ยน" วันละ 1 ชั่วโมง ในช่วงเวลา 14.00-15.00 น. เป็นเวลา 2 เดือน ตั้งแต่ 20 มีนาคม - 20 พฤษภาคม 2559 โดยปิดไฟดวงที่ไม่ใช้ ปรับลดอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศมาอยู่ที่ระดับ 26 องศาเซลเซียส ปลดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช้งาน และเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ที่ประหยัดไฟฟ้า ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศได้เป็นอย่างดี
ส่วนเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2559 เวลา 21.00 น. ยอดใช้ไฟฟ้าสูงสุดของภาคใต้ 14 จังหวัด ตั้งแต่ จ.ชุมพร ลงมาอยู่ที่ 2,630 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ร้อยละ 5 หรือ 125 เมกะวัตต์ เนื่องจากอากาศร้อนอบอ้าว มีการใช้เครื่องปรับอากาศมากขึ้น และการใช้ไฟฟ้าใน 14 จังหวัดภาคใต้ ส่งสัญญาณเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยทำลายสถิติเดิมมาแล้วถึง 10 ครั้ง โดยจังหวัดที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด ได้แก่ สงขลา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และกระบี่