ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (12 เม.ย.) เนื่องจากการดีดตัวขึ้นของราคาน้ำมันดิบ WTI ช่วยหนุนหุ้นกลุ่มพลังงานดีดตัวขึ้นด้วย ขณะที่นักลงทุนจับตาดูการเปิดเผยผลประกอบการของบริษัทรายใหญ่ในสหรัฐ รวมถึงเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,721.25 จุด พุ่งขึ้น 164.84 จุด หรือ +0.94% ดัชนีแนสแด็ก ปิดที่ 4,872.09 จุด เพิ่มขึ้น 38.69 จุด หรือ +0.80% ดัชนีเอสแอนด์พี500 ปิดที่ 2,061.72 จุด เพิ่มขึ้น 19.73 จุด หรือ +0.97%
ดัชนีดาวโจนส์เคลื่อนไหวในแดนบวกตั้งแต่ตลาดเปิดทำการ ก่อนที่จะปิดพุ่งขึ้นเกือบ 1% โดยภาวะการซื้อขายในตลาดได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันดิบ WTI ที่พุ่งขึ้นกว่า 1.8% หลังจากมีกระแสคาดการณ์ว่า ซาอุดิอาระเบียและรัสเซียอาจจะตกลงกันได้ในประเด็นการตรึงกำลังการผลิต ก่อนที่การประชุมกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน (โอเปก) และประเทศนอกกลุ่มโอเปก จะมีขึ้นในวันที่ 17 เม.ย.นี้ที่เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์
ราคาน้ำมันที่ฟื้นตัวขึ้นช่วยหนุนหุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวขึ้นด้วย โดยหุ้นเอ็กซอน โมบิล หุ้นเชฟรอน และหุ้นเชซาพี เอนเนอร์จี ทะยานขึ้นแข็งแกร่งสุดในบรรดาหุ้นกลุ่มพลังงาน
นอกจากนี้ การปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันยังช่วยให้ตลาดหุ้นนิวยอร์กสามารถต้านทานปัจจัยลบจากรายงานที่ว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2559 ลงสู่ระดับ 3.2% โดยระบุว่าเศรษฐกิจโลกขยายตัวอย่างเชื่องช้า ซึ่งทำให้เศรษฐกิจโลกเผชิญความเสี่ยงต่างๆมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม หุ้นอัลโค อิงค์ ร่วงลง 3.4% หลังจากบริษัทผู้ผลิตอลูมิเนียมรายใหญ่แห่งนี้เปิดเผยว่า กำไรสุทธิของบริษัทในไตรมาสแรกปีนี้ทรุดฮวบลง 92% สู่ระดับ 16 ล้านดอลลาร์ จากไตรมาสแรกของปีที่แล้วที่ระดับ 195 ล้านดอลลาร์ โดยมีสาเหตุมาจากราคาอลูมิเนียมที่ปรับตัวลดลง ขณะเดียวกัน อัลโค อิงค์ ยังได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของตลาดเครื่องบิน โดยคาดว่าจะขยายตัวราว 6%-8% เทียบกับที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 8%-9%
นักลงทุนรอดูการเปิดเผยผลประกอบการของหลายบริษัทในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค, ซิตี้กรุ๊ป และแบล็คร็อค อิงค์
ในส่วนของข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดของสหรัฐที่มีการเปิดเผยเมื่อวานนั้น กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ราคานำเข้าสินค้าปรับตัวขึ้น 0.2% ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นครั้งแรกในรอบ 9 เดือน หลังจากลดลง 0.4% ในเดือนก.พ.
ทั้งนี้ ราคานำเข้าปรับตัวขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.ปีที่แล้ว และเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค.ปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม แม้ปรับตัวขึ้นในเดือนที่แล้ว แต่ราคานำเข้าก็ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยราคานำเข้าร่วงลงไปถึง 6.2% ในช่วงปีที่ผ่านมา
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,721.25 จุด พุ่งขึ้น 164.84 จุด หรือ +0.94% ดัชนีแนสแด็ก ปิดที่ 4,872.09 จุด เพิ่มขึ้น 38.69 จุด หรือ +0.80% ดัชนีเอสแอนด์พี500 ปิดที่ 2,061.72 จุด เพิ่มขึ้น 19.73 จุด หรือ +0.97%
ดัชนีดาวโจนส์เคลื่อนไหวในแดนบวกตั้งแต่ตลาดเปิดทำการ ก่อนที่จะปิดพุ่งขึ้นเกือบ 1% โดยภาวะการซื้อขายในตลาดได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันดิบ WTI ที่พุ่งขึ้นกว่า 1.8% หลังจากมีกระแสคาดการณ์ว่า ซาอุดิอาระเบียและรัสเซียอาจจะตกลงกันได้ในประเด็นการตรึงกำลังการผลิต ก่อนที่การประชุมกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน (โอเปก) และประเทศนอกกลุ่มโอเปก จะมีขึ้นในวันที่ 17 เม.ย.นี้ที่เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์
ราคาน้ำมันที่ฟื้นตัวขึ้นช่วยหนุนหุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวขึ้นด้วย โดยหุ้นเอ็กซอน โมบิล หุ้นเชฟรอน และหุ้นเชซาพี เอนเนอร์จี ทะยานขึ้นแข็งแกร่งสุดในบรรดาหุ้นกลุ่มพลังงาน
นอกจากนี้ การปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันยังช่วยให้ตลาดหุ้นนิวยอร์กสามารถต้านทานปัจจัยลบจากรายงานที่ว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2559 ลงสู่ระดับ 3.2% โดยระบุว่าเศรษฐกิจโลกขยายตัวอย่างเชื่องช้า ซึ่งทำให้เศรษฐกิจโลกเผชิญความเสี่ยงต่างๆมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม หุ้นอัลโค อิงค์ ร่วงลง 3.4% หลังจากบริษัทผู้ผลิตอลูมิเนียมรายใหญ่แห่งนี้เปิดเผยว่า กำไรสุทธิของบริษัทในไตรมาสแรกปีนี้ทรุดฮวบลง 92% สู่ระดับ 16 ล้านดอลลาร์ จากไตรมาสแรกของปีที่แล้วที่ระดับ 195 ล้านดอลลาร์ โดยมีสาเหตุมาจากราคาอลูมิเนียมที่ปรับตัวลดลง ขณะเดียวกัน อัลโค อิงค์ ยังได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของตลาดเครื่องบิน โดยคาดว่าจะขยายตัวราว 6%-8% เทียบกับที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 8%-9%
นักลงทุนรอดูการเปิดเผยผลประกอบการของหลายบริษัทในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค, ซิตี้กรุ๊ป และแบล็คร็อค อิงค์
ในส่วนของข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดของสหรัฐที่มีการเปิดเผยเมื่อวานนั้น กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ราคานำเข้าสินค้าปรับตัวขึ้น 0.2% ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นครั้งแรกในรอบ 9 เดือน หลังจากลดลง 0.4% ในเดือนก.พ.
ทั้งนี้ ราคานำเข้าปรับตัวขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.ปีที่แล้ว และเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค.ปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม แม้ปรับตัวขึ้นในเดือนที่แล้ว แต่ราคานำเข้าก็ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยราคานำเข้าร่วงลงไปถึง 6.2% ในช่วงปีที่ผ่านมา