กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) ปรับประมาณการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกเป็นครั้งที่ 4 นับตั้งแต่ปีที่แล้ว เมื่อวันอังคาร(12เม.ย.) โดยอ้างถึงภาวะชะลอตัวในจีน ราคาน้ำมันตกต่ำต่อเนื่องและความอ่อนแอเรื้อรังในเหล่าชาติพัฒนาแล้ว
ไอเอ็มเอฟ ซึ่งมีกำหนดประชุมประจำปีช่วงฤดูใบไม้ผลิกับธนาคารโลก(เวิลด์แบงค์) ในวอชิงตัน สัปดาห์นี้ ประมาณการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 3.2 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2016 ปรับลดจากการคาดคะเนก่อนหน้านี้ในเดือนมกราคม ที่ประมาณการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกน่าจะเติบโตราว 3.4 เปอร์เซ็นต์
ในรายงานทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook หรือ WEO) ฉบับล่าสุด กองทุนแห่งนี้เตือนถึงความเสี่ยงเผชิญกับภาวะซบเซาอย่างกว้างขวาง และบอกว่าการเติบโตที่ทรุดโทรมลงอาจทำให้เศรษฐกิจโลกอ่อนแอลงกว่าเดิมในการรับมือกับเรื่องช็อคต่างๆ อย่างเช่นการลดค่าเงินหรือความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่กำลังเลวร้ายลงเรื่อยๆ
ทางไอเอ็มเอฟเรียกร้องเหล่าผู้กำหนดนโยบายทั่วโลกที่กำลังเข้าร่วมประชุมระหว่างกองทุนกับเวิลด์แบงค์ ดำเนินการอย่างสอดคล้องกันเพื่อเพิ่มอุปสงค์ด้วยการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ กระตุ้นเศรษฐกิจโดยผ่านมาตรการทางการคลังเท่าที่จะเป็นไปได้และผ่อนคลายนโยบายทางการเงิน
"การเติบโตในอัตราที่ต่ำลง นั่นหมายว่าเหลือช่องว่างให้ก่อความผิดพลาดน้อยลงเช่นกัน" มอริซ อ็อบส์เฟรด หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของไอเอ็มเอฟกล่าว "ภาวะเติบโตชะลอตัวอย่างรื้อรังส่งผลกระทบที่น่ากลัว ที่จะอาจกัดเซาะผลิตผล อุปสงค์และการลงทุน"
ไอเอ็มเอฟ ซึ่งมีกำหนดประชุมประจำปีช่วงฤดูใบไม้ผลิกับธนาคารโลก(เวิลด์แบงค์) ในวอชิงตัน สัปดาห์นี้ ประมาณการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 3.2 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2016 ปรับลดจากการคาดคะเนก่อนหน้านี้ในเดือนมกราคม ที่ประมาณการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกน่าจะเติบโตราว 3.4 เปอร์เซ็นต์
ในรายงานทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook หรือ WEO) ฉบับล่าสุด กองทุนแห่งนี้เตือนถึงความเสี่ยงเผชิญกับภาวะซบเซาอย่างกว้างขวาง และบอกว่าการเติบโตที่ทรุดโทรมลงอาจทำให้เศรษฐกิจโลกอ่อนแอลงกว่าเดิมในการรับมือกับเรื่องช็อคต่างๆ อย่างเช่นการลดค่าเงินหรือความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่กำลังเลวร้ายลงเรื่อยๆ
ทางไอเอ็มเอฟเรียกร้องเหล่าผู้กำหนดนโยบายทั่วโลกที่กำลังเข้าร่วมประชุมระหว่างกองทุนกับเวิลด์แบงค์ ดำเนินการอย่างสอดคล้องกันเพื่อเพิ่มอุปสงค์ด้วยการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ กระตุ้นเศรษฐกิจโดยผ่านมาตรการทางการคลังเท่าที่จะเป็นไปได้และผ่อนคลายนโยบายทางการเงิน
"การเติบโตในอัตราที่ต่ำลง นั่นหมายว่าเหลือช่องว่างให้ก่อความผิดพลาดน้อยลงเช่นกัน" มอริซ อ็อบส์เฟรด หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของไอเอ็มเอฟกล่าว "ภาวะเติบโตชะลอตัวอย่างรื้อรังส่งผลกระทบที่น่ากลัว ที่จะอาจกัดเซาะผลิตผล อุปสงค์และการลงทุน"