ประธานาธิบดีบารัค โอบามาแห่งสหรัฐฯ เมื่อวันศุกร์(1เม.ย.) ออกโรงเตือนโลกไม่สามารถวางใจเกี่ยวกับความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ ขณะที่ภัยคุกคามก่อการร้ายทางนิวเคลียร์มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางข้อมูลที่บ่งชี้ว่าพวกรัฐอิสลาม(ไอเอส) กำลังมีความทะเยอทะยานทางอาวุธนิวเคลียร์
ความกังวลต่อกรณีไอเอสอาจกำลังเสาะหาอาวุธนิวเคลียร์ปรากฏขึ้น ณ ที่ประชุมประชุมสุดยอดผู้นำว่าด้วยความมั่นคงทางนิวเคลียร์ในวอชิงตันในวันศุกร์(1เม.ย.) โดย โอบามา บอกกับผู้นำคนอื่นๆว่าความท้าทายในเวลานี้คือการขัดขวางกลุ่มต่างๆอย่างเช่นไอเอส ซึ่งแสวงหาวัสดุนิวเคลียร์ จากการได้มาซึ่งอาวุธนิวเคลียร์หรืออาวุธทำลายล้างใดๆ และหากปล่อยให้พวกก่อการร้ายทำสำเร็จ "แน่นอนว่าพวกเขาจะใช้มันสังหารผู้คนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้"
โอบามา เปิดการประชุมในตอนเช้าวันศุกร์(1เม.ย.) ด้วยการพุ่งเป้าไปที่ความสำเร็จครั้งสำคัญของเขาในด้านนิวเคลียร์ระหว่างการดำรงตำแหน่ง อันได้แก่ข้อตกลงตัดทอนโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน แม้ข้อตกลงที่เพิ่งเริ่มบังคับใช้นี้ยังจะต้องเผชิญบททดสอบต่างๆนานาในช่วงหลายเดือนหรือหลายปีข้างหน้า โดยประธานาธิบดีสหรัฐฯชี้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นตัวอย่างของรูปแบบความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมที่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ผ่านการเจรจา
หลังจากการประชุมในช่วงเช้าอุทิศเวลาให้กับประเด็นนิวเคลียร์อิหร่าน การประชุมหลังจากนั้นถูกใช้ไปกับภัยคุกคามก่อการร้าย "ที่ประธานาธิบดีโอบามา นำพาเกือบ 50 ประเทศมาอยู่ร่วมกัน ณ ซัมมิตความมั่นคงทางนิวเคลลียร์ ไม่ใช่แค่มาพูดคุยกันเกี่ยวกับการปกป้องวัสดุนิวเคลียร์ แต่ยังมีส่วนที่เป็นอันตรายระหว่างก่อการร้ายกับอาวุธนิวเคลียร์" เบรตต์ แม็คกูร์ค ทูตพิเศษของผู้นำสหรัฐประจำกลุ่มพันธมิตรต่อต้านไอเอสบอกกับซีเอ็นเอ็น
ความกังวลต่อกรณีไอเอสอาจกำลังเสาะหาอาวุธนิวเคลียร์ปรากฏขึ้น ณ ที่ประชุมประชุมสุดยอดผู้นำว่าด้วยความมั่นคงทางนิวเคลียร์ในวอชิงตันในวันศุกร์(1เม.ย.) โดย โอบามา บอกกับผู้นำคนอื่นๆว่าความท้าทายในเวลานี้คือการขัดขวางกลุ่มต่างๆอย่างเช่นไอเอส ซึ่งแสวงหาวัสดุนิวเคลียร์ จากการได้มาซึ่งอาวุธนิวเคลียร์หรืออาวุธทำลายล้างใดๆ และหากปล่อยให้พวกก่อการร้ายทำสำเร็จ "แน่นอนว่าพวกเขาจะใช้มันสังหารผู้คนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้"
โอบามา เปิดการประชุมในตอนเช้าวันศุกร์(1เม.ย.) ด้วยการพุ่งเป้าไปที่ความสำเร็จครั้งสำคัญของเขาในด้านนิวเคลียร์ระหว่างการดำรงตำแหน่ง อันได้แก่ข้อตกลงตัดทอนโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน แม้ข้อตกลงที่เพิ่งเริ่มบังคับใช้นี้ยังจะต้องเผชิญบททดสอบต่างๆนานาในช่วงหลายเดือนหรือหลายปีข้างหน้า โดยประธานาธิบดีสหรัฐฯชี้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นตัวอย่างของรูปแบบความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมที่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ผ่านการเจรจา
หลังจากการประชุมในช่วงเช้าอุทิศเวลาให้กับประเด็นนิวเคลียร์อิหร่าน การประชุมหลังจากนั้นถูกใช้ไปกับภัยคุกคามก่อการร้าย "ที่ประธานาธิบดีโอบามา นำพาเกือบ 50 ประเทศมาอยู่ร่วมกัน ณ ซัมมิตความมั่นคงทางนิวเคลลียร์ ไม่ใช่แค่มาพูดคุยกันเกี่ยวกับการปกป้องวัสดุนิวเคลียร์ แต่ยังมีส่วนที่เป็นอันตรายระหว่างก่อการร้ายกับอาวุธนิวเคลียร์" เบรตต์ แม็คกูร์ค ทูตพิเศษของผู้นำสหรัฐประจำกลุ่มพันธมิตรต่อต้านไอเอสบอกกับซีเอ็นเอ็น