ดร.สุเทพ เลิศศรีมงคล ผู้อำนวยการเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำเขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งเป็นเขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และเป็นแหล่งเก็บกักน้ำทั้งเพื่ออุปโภคบริโภค การเกษตรและผลิตกระแสไฟฟ้า ปัจจุบันได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งที่รุนแรงและยาวนาน ซึ่งปริมาณน้ำที่มีอยู่ในปัจจุบัน ลดต่ำสุดในรอบ 30 ปี ของการก่อสร้างเขื่อนสิริกิติ์ และมีน้ำเหลือใช้ถึงสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ หรือ 120 วัน
ทั้งนี้เขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณที่สามารถใช้งานได้อยู่เพียง 1,208 ล้านลูกบาศก์เมตร ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา 1,000 ล้านลูกบาศก์เมตร จากที่สามารถรับน้ำได้สูงถึง 9,500 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยกำหนดปล่อยน้ำตามแผนที่กรมชลประทานกำหนดวันละ 10 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อการอุปโภคบริโภค สำหรับประชาชนท้ายเขื่อนสิริกิติ์ เพื่อผลิตน้ำประปาในส่วนของการประปานครหลวง 6 ล้านลูกบาศก์เมตร และเพื่อผลักดันน้ำเค็ม เท่านั้น ไม่ได้ปล่อยเพื่อการเกษตรแต่อย่างใด
ดร.สุเทพ กล่าวว่า เนื่องจากปริมาณน้ำที่ไหลเข้ามีเพียงวันละ 1 ล้านลูกบาศก์เมตร จึงจำเป็นต้องเน้นให้ประชาชนท้ายเขื่อนสิริกิติ์ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า และอย่าฝืนทำนาหรือการเกษตรที่อาจได้รับผลกระทบหากน้ำไม่เพียงพอ รอถึงฤดูฝนที่จะถึง ปริมาณน้ำ 1,208 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังต้องกำหนดช่วงที่เวลาปล่อย 2 ครั้งต่อวัน ในเวลา 07.00 น.และ 20.00 น. เพื่อให้ปริมาณน้ำไหลสู่แม่น้ำน่านท้ายเขื่อน เขตชุมชนในช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้น้ำสูงสุด ควบคู่กับการนำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า จึงทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้น้ำที่มีอยู่ของเขื่อนสิริกิติ์ ดังนั้นช่วงเวลาที่เขื่อนสิริกิติ์หยุดการปล่อยน้ำ จะทำให้มองเห็นโขดหินอย่างชัดเจน จนสามารถเดินทางข้ามได้ ซึ่งไม่ต้องการให้ประชาชน นักท่องเที่ยว ตื่นตระหนกเพราะเป็นช่วงเวลาไม่ได้ปล่อยน้ำ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์น้ำเขื่อนสิริกิติ์ปัจจุบันถือว่าทรงตัว และมีน้ำกินน้ำใช้ไปถึงก่อนฤดูฝนในปีนี้
ทั้งนี้เขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณที่สามารถใช้งานได้อยู่เพียง 1,208 ล้านลูกบาศก์เมตร ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา 1,000 ล้านลูกบาศก์เมตร จากที่สามารถรับน้ำได้สูงถึง 9,500 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยกำหนดปล่อยน้ำตามแผนที่กรมชลประทานกำหนดวันละ 10 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อการอุปโภคบริโภค สำหรับประชาชนท้ายเขื่อนสิริกิติ์ เพื่อผลิตน้ำประปาในส่วนของการประปานครหลวง 6 ล้านลูกบาศก์เมตร และเพื่อผลักดันน้ำเค็ม เท่านั้น ไม่ได้ปล่อยเพื่อการเกษตรแต่อย่างใด
ดร.สุเทพ กล่าวว่า เนื่องจากปริมาณน้ำที่ไหลเข้ามีเพียงวันละ 1 ล้านลูกบาศก์เมตร จึงจำเป็นต้องเน้นให้ประชาชนท้ายเขื่อนสิริกิติ์ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า และอย่าฝืนทำนาหรือการเกษตรที่อาจได้รับผลกระทบหากน้ำไม่เพียงพอ รอถึงฤดูฝนที่จะถึง ปริมาณน้ำ 1,208 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังต้องกำหนดช่วงที่เวลาปล่อย 2 ครั้งต่อวัน ในเวลา 07.00 น.และ 20.00 น. เพื่อให้ปริมาณน้ำไหลสู่แม่น้ำน่านท้ายเขื่อน เขตชุมชนในช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้น้ำสูงสุด ควบคู่กับการนำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า จึงทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้น้ำที่มีอยู่ของเขื่อนสิริกิติ์ ดังนั้นช่วงเวลาที่เขื่อนสิริกิติ์หยุดการปล่อยน้ำ จะทำให้มองเห็นโขดหินอย่างชัดเจน จนสามารถเดินทางข้ามได้ ซึ่งไม่ต้องการให้ประชาชน นักท่องเที่ยว ตื่นตระหนกเพราะเป็นช่วงเวลาไม่ได้ปล่อยน้ำ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์น้ำเขื่อนสิริกิติ์ปัจจุบันถือว่าทรงตัว และมีน้ำกินน้ำใช้ไปถึงก่อนฤดูฝนในปีนี้