รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 29 มี.ค. ราชกิจจานุเบกษาได้ออกประกาศคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 13/2559 เรื่อง การป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดบางประการที่เป็นภยันตราย ต่อความสงบเรียบร้อยหรือบ่อนทำลายระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ระบุว่า ด้วยปรากฏว่าได้มีบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์กระทำความผิดอาญาบางประการที่เป็นภยันตรายต่อความสงบเรียบร้อยหรือบ่อนทำลายระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยการข่มเหง ขู่เข็ญ รังแก หรือแสดงตน อันเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเกรงกลัว ไม่กล้าขัดขืน หรือร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพราะเกรงภัยจะเกิดแก่ตน นอกจากนี้ ยังปรากฏว่ามีบุคคลที่ดำรงชีพด้วยการกระทำผิดกฎหมาย เช่น ค้ายาเสพติด เป็นเจ้ามือพนัน มีพฤติการณ์ซ่องสุมอาวุธ เพื่อให้สามารถได้รับประโยชน์ต่างๆ ที่มิชอบด้วยกฎหมาย การที่จะนำตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีจึงมีความยุ่งยาก ซับซ้อน หรืออาจเกิดความเสี่ยงภัยต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
จึงจำเป็นต้องกำหนดกระบวนการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดอาญาที่มีลักษณะดังกล่าวเป็นพิเศษ เพื่อเป็นมาตรการเสริมกระบวนการบังคับใช้กฎหมายที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน อันจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดอาญา รวมทั้งคุ้มครองความสงบเรียบร้อย และระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ตลอดจนเป็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพให้แก่สุจริตชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในคําสั่งนี้ “เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปราม” หมายความว่า ข้าราชการทหารซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นร้อยตรี เรือตรี หรือเรืออากาศตรี ขึ้นไป ซึ่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามคําสั่งนี้
“ผู้ช่วยเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปราม” หมายความว่า ข้าราชการทหารซึ่งมียศต่ํากว่า ชั้นร้อยตรี เรือตรี หรือเรืออากาศตรี ลงมา และให้หมายความรวมถึง ทหารประจําการ ทหารกองประจําการ และอาสาสมัครทหารพราน ซึ่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามคําสั่งนี้
ข้อ 2 ให้เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามดําเนินการป้องกันและปราบปรามการกระทํา อันเป็นความผิดตามที่กําหนดไว้ในบัญชีท้ายคําสั่งนี้ บุคคลซึ่งเป็นผู้กระทําความผิดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ากระทําความผิดตามวรรคหนึ่งซึ่งจะ อยู่ในบังคับตามคําสั่งนี้ ต้องเป็นผู้มีพฤติการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ ที่มิชอบด้วยกฎหมาย ดังต่อไปนี้
(1) กระทําความผิดโดยการข่มขืนใจให้กระทําการใด ไม่กระทําการใด หรือจํายอมต่อสิ่งใด
โดยทําให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเอง หรือของผู้อื่น
(2) แสดงตนให้บุคคลอื่นเกรงกลัว ไม่กล้าขัดขืนหรือร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ดําเนินการ เพราะเกรงภัยจะเกิดแก่ตน
(3) ดํารงชีพด้วยการกระทําผิดกฎหมาย การกระทําตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงการใช้ จ้างวาน หรือสนับสนุนการกระทําใดๆ ที่เป็นการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่งด้วย
ข้อ 3 ในการดําเนินการตามข้อ 2 ให้เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) ออกคําสั่งเรียกให้บุคคลใดมารายงานตัวต่อเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปราม
หรือมาให้ถ้อยคํา หรือส่งมอบเอกสารหรือหลักฐานใดที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดตามข้อ 2
(2) จับกุมตัวบุคคลที่กระทําความผิดซึ่งหน้า และควบคุมตัวผู้ถูกจับนําส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดําเนินการต่อไป
(3) ช่วยเหลือ สนับสนุน หรือเข้าร่วมในการสอบสวนกับพนักงานสอบสวนในความผิด ตามข้อ 2 โดยในการเข้าร่วมดังกล่าวให้ถือว่าเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามเป็นพนักงานสอบสวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(4) เข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ใดๆ เพื่อตรวจค้น รวมตลอดทั้งค้นบุคคลหรือยานพาหนะใดๆ ทั้งนี้ เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยโดยมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลซึ่งกระทําความผิด ตามข้อ 2 หลบซ่อนอยู่ หรือมีทรัพย์สินซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยการกระทําความผิด หรือได้ใช้หรือจะใช้ในการกระทําความผิด ตามข้อ 2 หรือซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ประกอบกับมีเหตุอันควรเชื่อว่า เนื่องจากการเนิ่นช้ากว่า จะเอาหมายค้นมาได้ บุคคลนั้นจะหลบหนีไป หรือทรัพย์สินนั้นจะถูกโยกย้าย ซุกซ่อน ทําลาย หรือทําให้ เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม
(5) ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่ค้นพบตาม (4)
(6) กระทําการอื่นใดตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
ข้อ 4 ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยโดยมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดได้กระทําความผิด ตามข้อ 2 ให้เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามมีอํานาจเรียกตัวบุคคลนั้นมาเพื่อสอบถามข้อมูล หรือให้ถ้อยคําอันจะเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินการตามข้อ 2 และในกรณีที่ยังสอบถามไม่แล้วเสร็จ จะควบคุมตัวบุคคลนั้นไว้ก็ได้แต่ต้องไม่เกินเจ็ดวัน แต่การควบคุมตัวดังกล่าวต้องควบคุมไว้ในสถานที่อื่น ที่มิใช่สถานีตํารวจ ที่คุมขัง ทัณฑสถาน หรือเรือนจํา และจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นในลักษณะเป็นผู้ต้องหามิได้ เมื่อมีเหตุอันจะต้องดําเนินคดีต่อบุคคลที่กระทําความผิดตามวรรคหนึ่งในฐานะเป็นผู้ต้องหา ให้เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามในฐานะเป็นพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตํารวจดําเนินการต่อไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ 5 ในกรณีที่บุคคลใดถูกควบคุมตัวตามข้อ 4 วรรคหนึ่ง เนื่องจากการกระทําความผิด ตามข้อ 2 เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามอาจปล่อยตัวไปโดยมีหรือไม่มีเงื่อนไขก็ได้ เงื่อนไขในการปล่อยตัวตามวรรคหนึ่ง หมายถึง การกําหนดวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามมาตรา 39 (2) ถึง (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา การห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักรเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย หรือการสั่งระงับธุรกรรมทางการเงินผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการปล่อยตัว ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรบั
ข้อ 6 ให้ผู้ช่วยเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามมีหน้าที่ช่วยเหลือเจ้าพนักงานป้องกัน และปราบปรามในการปฏิบัติหน้าที่ตามคําสั่งนี้ตามที่เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามสั่งการหรือมอบหมาย
ข้อ 7 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามคําสั่งนี้ ให้เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามและผู้ช่วย เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ 8 การกระทําตามคําสั่งนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
ข้อ 9 เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามและผู้ช่วยเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปราม ที่กระทําการไปตามอํานาจหน้าที่โดยสุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่เกินกว่า กรณีจําเป็น ย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 17 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการตามกฎหมาย ว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
ข้อ 10 คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
จึงจำเป็นต้องกำหนดกระบวนการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดอาญาที่มีลักษณะดังกล่าวเป็นพิเศษ เพื่อเป็นมาตรการเสริมกระบวนการบังคับใช้กฎหมายที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน อันจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดอาญา รวมทั้งคุ้มครองความสงบเรียบร้อย และระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ตลอดจนเป็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพให้แก่สุจริตชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในคําสั่งนี้ “เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปราม” หมายความว่า ข้าราชการทหารซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นร้อยตรี เรือตรี หรือเรืออากาศตรี ขึ้นไป ซึ่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามคําสั่งนี้
“ผู้ช่วยเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปราม” หมายความว่า ข้าราชการทหารซึ่งมียศต่ํากว่า ชั้นร้อยตรี เรือตรี หรือเรืออากาศตรี ลงมา และให้หมายความรวมถึง ทหารประจําการ ทหารกองประจําการ และอาสาสมัครทหารพราน ซึ่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามคําสั่งนี้
ข้อ 2 ให้เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามดําเนินการป้องกันและปราบปรามการกระทํา อันเป็นความผิดตามที่กําหนดไว้ในบัญชีท้ายคําสั่งนี้ บุคคลซึ่งเป็นผู้กระทําความผิดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ากระทําความผิดตามวรรคหนึ่งซึ่งจะ อยู่ในบังคับตามคําสั่งนี้ ต้องเป็นผู้มีพฤติการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ ที่มิชอบด้วยกฎหมาย ดังต่อไปนี้
(1) กระทําความผิดโดยการข่มขืนใจให้กระทําการใด ไม่กระทําการใด หรือจํายอมต่อสิ่งใด
โดยทําให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเอง หรือของผู้อื่น
(2) แสดงตนให้บุคคลอื่นเกรงกลัว ไม่กล้าขัดขืนหรือร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ดําเนินการ เพราะเกรงภัยจะเกิดแก่ตน
(3) ดํารงชีพด้วยการกระทําผิดกฎหมาย การกระทําตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงการใช้ จ้างวาน หรือสนับสนุนการกระทําใดๆ ที่เป็นการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่งด้วย
ข้อ 3 ในการดําเนินการตามข้อ 2 ให้เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) ออกคําสั่งเรียกให้บุคคลใดมารายงานตัวต่อเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปราม
หรือมาให้ถ้อยคํา หรือส่งมอบเอกสารหรือหลักฐานใดที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดตามข้อ 2
(2) จับกุมตัวบุคคลที่กระทําความผิดซึ่งหน้า และควบคุมตัวผู้ถูกจับนําส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดําเนินการต่อไป
(3) ช่วยเหลือ สนับสนุน หรือเข้าร่วมในการสอบสวนกับพนักงานสอบสวนในความผิด ตามข้อ 2 โดยในการเข้าร่วมดังกล่าวให้ถือว่าเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามเป็นพนักงานสอบสวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(4) เข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ใดๆ เพื่อตรวจค้น รวมตลอดทั้งค้นบุคคลหรือยานพาหนะใดๆ ทั้งนี้ เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยโดยมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลซึ่งกระทําความผิด ตามข้อ 2 หลบซ่อนอยู่ หรือมีทรัพย์สินซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยการกระทําความผิด หรือได้ใช้หรือจะใช้ในการกระทําความผิด ตามข้อ 2 หรือซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ประกอบกับมีเหตุอันควรเชื่อว่า เนื่องจากการเนิ่นช้ากว่า จะเอาหมายค้นมาได้ บุคคลนั้นจะหลบหนีไป หรือทรัพย์สินนั้นจะถูกโยกย้าย ซุกซ่อน ทําลาย หรือทําให้ เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม
(5) ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่ค้นพบตาม (4)
(6) กระทําการอื่นใดตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
ข้อ 4 ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยโดยมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดได้กระทําความผิด ตามข้อ 2 ให้เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามมีอํานาจเรียกตัวบุคคลนั้นมาเพื่อสอบถามข้อมูล หรือให้ถ้อยคําอันจะเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินการตามข้อ 2 และในกรณีที่ยังสอบถามไม่แล้วเสร็จ จะควบคุมตัวบุคคลนั้นไว้ก็ได้แต่ต้องไม่เกินเจ็ดวัน แต่การควบคุมตัวดังกล่าวต้องควบคุมไว้ในสถานที่อื่น ที่มิใช่สถานีตํารวจ ที่คุมขัง ทัณฑสถาน หรือเรือนจํา และจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นในลักษณะเป็นผู้ต้องหามิได้ เมื่อมีเหตุอันจะต้องดําเนินคดีต่อบุคคลที่กระทําความผิดตามวรรคหนึ่งในฐานะเป็นผู้ต้องหา ให้เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามในฐานะเป็นพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตํารวจดําเนินการต่อไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ 5 ในกรณีที่บุคคลใดถูกควบคุมตัวตามข้อ 4 วรรคหนึ่ง เนื่องจากการกระทําความผิด ตามข้อ 2 เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามอาจปล่อยตัวไปโดยมีหรือไม่มีเงื่อนไขก็ได้ เงื่อนไขในการปล่อยตัวตามวรรคหนึ่ง หมายถึง การกําหนดวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามมาตรา 39 (2) ถึง (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา การห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักรเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย หรือการสั่งระงับธุรกรรมทางการเงินผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการปล่อยตัว ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรบั
ข้อ 6 ให้ผู้ช่วยเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามมีหน้าที่ช่วยเหลือเจ้าพนักงานป้องกัน และปราบปรามในการปฏิบัติหน้าที่ตามคําสั่งนี้ตามที่เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามสั่งการหรือมอบหมาย
ข้อ 7 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามคําสั่งนี้ ให้เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามและผู้ช่วย เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ 8 การกระทําตามคําสั่งนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
ข้อ 9 เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามและผู้ช่วยเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปราม ที่กระทําการไปตามอํานาจหน้าที่โดยสุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่เกินกว่า กรณีจําเป็น ย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 17 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการตามกฎหมาย ว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
ข้อ 10 คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป