พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายสุเทพ น้อยไพโรจน์ อธิบดีกรมชลประทาน นายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันแถลงข่าวสถานการณ์น้ำ การจัดสรรน้ำ และการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาผลกระทบภัยแล้ง
พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า รัฐบาลได้บูรณาการแก้ไขวิกฤตภัยแล้งอย่างดีที่สุดในทุกวิถีทาง ยืนยันว่าน้ำอุปโภคบริโภคมีเพียงพอถึงเดือนกรกฎาคม 59 แต่ต้องขอความร่วมมือประชาชนประหยัดการใช้น้ำในครัวเรือนลง อย่างน้อยร้อยละ 20 ล่าสุด พบว่ามี 10 เขื่อนใหญ่ที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนแม่งัด เขื่อนห้วยหลวง เขื่อนคลองสียัด เขื่อนบางพระ เขื่อนกระเสียว เขื่อนลําปาว เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนแม่กวง และ เขื่อนลําพระเพลิง ได้สั่งการทั้งการปรับแผนการส่งน้ำ การผันน้ำจากเขื่อนอื่นมาเติม และการนําน้ำก้นเขื่อนมาใช้ เช่น เขื่อนอุบลรัตน์
สำหรับน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคนั้น ปัจจุบันมีประปาสาขาที่เฝ้าระวัง จํานวน 25 สาขา แบ่งเป็น จ่ายน้ำเป็นเวลา แบ่งโซนจ่ายน้ำ จํานวน 3 แห่ง ลดแรงดัน ลดอัตราจ่าย จํานวน 17 แห่ง และในพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำ จํานวน 5 แห่ง มีมาตรการแก้ปัญหาเรียบร้อยแล้ว ส่วนการจัดหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งดำเนินการแล้ว ได้แก่ การขุดเจาะบ่อบาดาลในภาพรวม ซึ่งตามแผน 6,922 บ่อ ดําเนินการแล้ว 2,687 บ่อ คงเหลือ 4,235 บ่อ การช่วยเหลือแจกจ่ายน้ำ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 58 - 27 มีนาคม 59 จากทุกหน่วยงาน แบ่งเป็นรถน้ำ รวม 546.07 ล้านลิตร สูบน้ำ 108.89 ล้านลูกบาศก์เมตร การปฏิบัติการฝนหลวง ช่วงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 27 มีนาคม 59 ขึ้นบิน 24 วัน 250 เที่ยวบิน มีฝนตก 31 จังหวัด โดยเมื่อวันที่ 27 มีนาคม สภาพอากาศเอื้ออํานวย ขึ้นบิน 42 เที่ยวบิน มีฝนตก 15 จังหวัด ทั้งนี้คาดการณ์ปริมาณฝน ช่วงวันที่ 28 มีนาคม - 11 เมษายน 59 มีแนวโน้มที่ฝนจะตกครอบคลุมประเทศไทย คาดว่าสถานการณ์ฝนจะเป็นไปตามที่คาดไว้ คือ ฝนมาเร็ว ซึ่งถือว่าโชคดี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับการเล่นน้ำในช่วงเทศกาลสงกรานต์นั้น ขอย้ำว่าไม่มีนโยบายห้ามประชาชนเล่นน้ำ เพียงแต่ขอให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงการประหยัดน้ำให้มากที่สุด ซึ่งอ่างเก็บน้ำต่างๆ ยังมีการส่งน้ำตามแผนการใช้น้ำที่ได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด จึงขอให้ประชาชนเล่นน้ำกันพอประมาณและประหยัดน้ำให้มากที่สุด เพื่อไม่ให้กระทบต่อปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่อย่างจำกัด
ทั้งนี้ พล.อ.ฉัตรชัย ได้กล่าวถึงมูลค่าความเสียหายจากภัยแล้ง นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 58 ถึงปัจจุบันว่า มีพื้นที่เสียหาย 1.65 ล้านไร่ คิดเป็นปริมาณผลผลิต 996,525.52 ตัน มีมูลค่าความเสียหายประมาณ 7,092.17 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้ใช้จ่ายงบเชิงป้องกันหรือยับยั้ง รวมกรอบวงเงินทั้งสิ้น 125.26 ล้านบาท
พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า รัฐบาลได้บูรณาการแก้ไขวิกฤตภัยแล้งอย่างดีที่สุดในทุกวิถีทาง ยืนยันว่าน้ำอุปโภคบริโภคมีเพียงพอถึงเดือนกรกฎาคม 59 แต่ต้องขอความร่วมมือประชาชนประหยัดการใช้น้ำในครัวเรือนลง อย่างน้อยร้อยละ 20 ล่าสุด พบว่ามี 10 เขื่อนใหญ่ที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนแม่งัด เขื่อนห้วยหลวง เขื่อนคลองสียัด เขื่อนบางพระ เขื่อนกระเสียว เขื่อนลําปาว เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนแม่กวง และ เขื่อนลําพระเพลิง ได้สั่งการทั้งการปรับแผนการส่งน้ำ การผันน้ำจากเขื่อนอื่นมาเติม และการนําน้ำก้นเขื่อนมาใช้ เช่น เขื่อนอุบลรัตน์
สำหรับน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคนั้น ปัจจุบันมีประปาสาขาที่เฝ้าระวัง จํานวน 25 สาขา แบ่งเป็น จ่ายน้ำเป็นเวลา แบ่งโซนจ่ายน้ำ จํานวน 3 แห่ง ลดแรงดัน ลดอัตราจ่าย จํานวน 17 แห่ง และในพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำ จํานวน 5 แห่ง มีมาตรการแก้ปัญหาเรียบร้อยแล้ว ส่วนการจัดหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งดำเนินการแล้ว ได้แก่ การขุดเจาะบ่อบาดาลในภาพรวม ซึ่งตามแผน 6,922 บ่อ ดําเนินการแล้ว 2,687 บ่อ คงเหลือ 4,235 บ่อ การช่วยเหลือแจกจ่ายน้ำ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 58 - 27 มีนาคม 59 จากทุกหน่วยงาน แบ่งเป็นรถน้ำ รวม 546.07 ล้านลิตร สูบน้ำ 108.89 ล้านลูกบาศก์เมตร การปฏิบัติการฝนหลวง ช่วงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 27 มีนาคม 59 ขึ้นบิน 24 วัน 250 เที่ยวบิน มีฝนตก 31 จังหวัด โดยเมื่อวันที่ 27 มีนาคม สภาพอากาศเอื้ออํานวย ขึ้นบิน 42 เที่ยวบิน มีฝนตก 15 จังหวัด ทั้งนี้คาดการณ์ปริมาณฝน ช่วงวันที่ 28 มีนาคม - 11 เมษายน 59 มีแนวโน้มที่ฝนจะตกครอบคลุมประเทศไทย คาดว่าสถานการณ์ฝนจะเป็นไปตามที่คาดไว้ คือ ฝนมาเร็ว ซึ่งถือว่าโชคดี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับการเล่นน้ำในช่วงเทศกาลสงกรานต์นั้น ขอย้ำว่าไม่มีนโยบายห้ามประชาชนเล่นน้ำ เพียงแต่ขอให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงการประหยัดน้ำให้มากที่สุด ซึ่งอ่างเก็บน้ำต่างๆ ยังมีการส่งน้ำตามแผนการใช้น้ำที่ได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด จึงขอให้ประชาชนเล่นน้ำกันพอประมาณและประหยัดน้ำให้มากที่สุด เพื่อไม่ให้กระทบต่อปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่อย่างจำกัด
ทั้งนี้ พล.อ.ฉัตรชัย ได้กล่าวถึงมูลค่าความเสียหายจากภัยแล้ง นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 58 ถึงปัจจุบันว่า มีพื้นที่เสียหาย 1.65 ล้านไร่ คิดเป็นปริมาณผลผลิต 996,525.52 ตัน มีมูลค่าความเสียหายประมาณ 7,092.17 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้ใช้จ่ายงบเชิงป้องกันหรือยับยั้ง รวมกรอบวงเงินทั้งสิ้น 125.26 ล้านบาท