หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และมลพิษหมอกควัน ของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ เชียงใหม่ พร้อมด้วยนายคมสัน สุวรรณอัมพา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 10 ลำปาง เข้าร่วมการรับฟังแผนการปฏิบัติงานของศูนย์ฝนหลวงภาคเหนือ พบว่า ในระยะนี้มีความเป็นไปได้ยากที่จะทำให้ฝนตก เนื่องจากความชื้นสัมพัทธ์ไม่เพียงพอต่อการทำฝนหลวง ซึ่งปริมาณความชื้นที่เหมาะแก่การทำฝนหลวง เมื่อทำแล้วมีแนวโน้มที่จะเกิดฝนตกคือ ต้องมีความชื้นสัมพัทธ์ 60 เปอร์เซ็นต์ ประกอบกับขณะนี้มีหมอกควันข้ามแดนจากประเทศเพื่อนบ้านและจุดความร้อน หรือฮอตสปอต (Hotspot) ในประเทศเพื่อนบ้านยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะพื้นที่ติดกับจังหวัดเชียงรายและแม่ฮ่องสอน จากการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา แจ้งว่า ระหว่างวันที่ 26 – 28 มีนาคมนี้ จะมีพายุฤดูร้อนในพื้นที่ภาคเหนือ
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทางรัฐบาลมีความห่วงใย เรื่องปัญหาภัยแล้ง ปัญหาไฟป่าหมอกควัน กำชับให้ทุกภาคส่วนบูรณาการทำงานร่วมกัน จากการรับฟังรายงานของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ ทำให้ทราบว่า ระยะต่อจากนี้ไปจะมีแนวโน้มที่จะมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีความชื้นในอากาศเพิ่มมากขึ้น ฝนจะเริ่มโปรยลงมาในหลายพื้นที่ ผลลัพธ์ของการปฏิบัติงานอย่างเต็มกำลังของทุกภาคส่วนที่ผ่านมา ส่งผลให้จุดฮอตสปอตลดลง ในด้านการป้องปรามของเจ้าหน้าที่ก็ต้องดำเนินการควบคู่กันไป
ทั้งนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ขึ้นเครื่องบินเพื่อบินสำรวจสภาพพื้นที่ เพื่อปล่อยสารฝนหลวงยูเรีย ช่วยดูดซับฝุ่นควัน เพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ เพิ่มปริมาณเมฆให้ดูดซับฝุ่นควันเข้าไปในเมฆและเพิ่มการไหลเวียนของอากาศเพื่อบรรเทาปัญหาหมอกควันและไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือ
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทางรัฐบาลมีความห่วงใย เรื่องปัญหาภัยแล้ง ปัญหาไฟป่าหมอกควัน กำชับให้ทุกภาคส่วนบูรณาการทำงานร่วมกัน จากการรับฟังรายงานของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ ทำให้ทราบว่า ระยะต่อจากนี้ไปจะมีแนวโน้มที่จะมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีความชื้นในอากาศเพิ่มมากขึ้น ฝนจะเริ่มโปรยลงมาในหลายพื้นที่ ผลลัพธ์ของการปฏิบัติงานอย่างเต็มกำลังของทุกภาคส่วนที่ผ่านมา ส่งผลให้จุดฮอตสปอตลดลง ในด้านการป้องปรามของเจ้าหน้าที่ก็ต้องดำเนินการควบคู่กันไป
ทั้งนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ขึ้นเครื่องบินเพื่อบินสำรวจสภาพพื้นที่ เพื่อปล่อยสารฝนหลวงยูเรีย ช่วยดูดซับฝุ่นควัน เพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ เพิ่มปริมาณเมฆให้ดูดซับฝุ่นควันเข้าไปในเมฆและเพิ่มการไหลเวียนของอากาศเพื่อบรรเทาปัญหาหมอกควันและไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือ