เมื่อวันที่ 20 มีนาคม นายธีรพล ขุนเมือง ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงานกล่าวถึงกรณี น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ยื่นข้อเรียกร้องปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจาก 300 บาท เป็น 360 บาททั่วประเทศ และให้ปฏิรูประบบประกันสังคมให้โปร่งใสว่า ในการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นการพิจารณาร่วมกันทั้งฝ่ายลูกจ้าง นายจ้าง ภาครัฐ ในลักษณะไตรภาคี ภายใต้คณะกรรมการค่าจ้าง โดยรับข้อเสนอมาจากอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของทุกจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ซึ่งอนุกรรมการฯมีองค์ประกอบร่วม 3 ฝ่าย เช่นเดียวกับส่วนกลาง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาข้อเสนอของทุกจังหวัด
สำหรับคณะทำงานฯ ที่แต่งตั้งขึ้น โดยคณะกรรมการค่าจ้างกลาง ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด 3 ประการคือ 1.สภาพเศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่และภาพรวมของประเทศ 2.ความจำเป็นในการครองชีพของลูกจ้าง และ3.ความสามารถในการจ่ายของนายจ้าง ดังนั้น การพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแต่ละจังหวัดจึงขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจแต่ละจังหวัดเป็นหลัก
“อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการค่าจ้างกลางได้ให้ความเห็นชอบอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานครั้งล่าสุดอีก 20 สาขา ใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม โดยมีอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานต่ำที่สุดอยู่ที่ 360 บาท/วัน สูงสุดอยู่ที่ 550 บาท/วัน ซึ่งจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.)วันที่ 22 มีนาคมนี้”
ในส่วนการปฏิรูปประกันสังคมนั้น พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รมว.แรงงานให้ความสำคัญเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นเงินกองทุนทั้งของผู้ใช้แรงงาน นายจ้าง และรัฐบาล โดยมุ่งเน้นปฏิรูปเพื่อให้กองทุนมีเสถียรภาพ เพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตน พัฒนาระบบบริการเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ประกันตนทุกคน ซึ่งภายใต้รัฐบาลชุดนี้ได้เพิ่มสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตนหลายประการ เช่น ค่าคลอดบุตร เงินสงเคราะห์บุตร เงินทดแทนกรณีทุพพลภาพ
สำหรับงบประมาณ 69 ล้านบาท ของสำนักงานประกันสังคมในปี 2558 เพื่อไปดูงานต่างประเทศนั้น ได้มีการปรับลดจากปี 2557 ประมาณ 47% และในปี 2559 ได้ปรับลดลงอีก 13.73% โดยให้ยกเลิกโครงการเดินทางของคณะกรรมการต่างๆจำนวน 8 คณะ โดยถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 3 มีนาคม 2558 อย่างเคร่งครัด โดยการเดินทางไปจะเป็นการประชุมว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่างๆ ที่จะส่งผลดีต่อการบริหารกองทุนในอนาคต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกันตนเอง
ส่วนการจัดสรรงบให้สภาองค์การนายจ้าง-ลูกจ้าง จัดอบรม สัมมนา ภายใต้วงเงิน 50 ล้านบาท สำนักงานประกันสังคมเห็นว่า สภาองค์การทั้ง 2 กลุ่มนี้ได้ขึ้นทะเบียนตามกฎหมายของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน แต่ละองค์การมี 14 แห่ง 2 องค์กร 28 แห่ง เพื่อให้ความรู้ได้ทั่วถึงในฐานะผู้แทนของแต่ละฝ่าย ซึ่งสถานประกอบการในระบบมีกว่า 4 แสนแห่ง ผู้ประกันตนกว่า 13 ล้านคน และปัจจุบันได้ให้สหภาพแรงงานที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสภาฯทั้ง 28 แห่ง สามารถขอรับการสนับสนุนวิทยากรได้ทั่วประเทศด้วย
สำหรับคณะทำงานฯ ที่แต่งตั้งขึ้น โดยคณะกรรมการค่าจ้างกลาง ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด 3 ประการคือ 1.สภาพเศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่และภาพรวมของประเทศ 2.ความจำเป็นในการครองชีพของลูกจ้าง และ3.ความสามารถในการจ่ายของนายจ้าง ดังนั้น การพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแต่ละจังหวัดจึงขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจแต่ละจังหวัดเป็นหลัก
“อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการค่าจ้างกลางได้ให้ความเห็นชอบอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานครั้งล่าสุดอีก 20 สาขา ใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม โดยมีอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานต่ำที่สุดอยู่ที่ 360 บาท/วัน สูงสุดอยู่ที่ 550 บาท/วัน ซึ่งจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.)วันที่ 22 มีนาคมนี้”
ในส่วนการปฏิรูปประกันสังคมนั้น พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รมว.แรงงานให้ความสำคัญเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นเงินกองทุนทั้งของผู้ใช้แรงงาน นายจ้าง และรัฐบาล โดยมุ่งเน้นปฏิรูปเพื่อให้กองทุนมีเสถียรภาพ เพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตน พัฒนาระบบบริการเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ประกันตนทุกคน ซึ่งภายใต้รัฐบาลชุดนี้ได้เพิ่มสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตนหลายประการ เช่น ค่าคลอดบุตร เงินสงเคราะห์บุตร เงินทดแทนกรณีทุพพลภาพ
สำหรับงบประมาณ 69 ล้านบาท ของสำนักงานประกันสังคมในปี 2558 เพื่อไปดูงานต่างประเทศนั้น ได้มีการปรับลดจากปี 2557 ประมาณ 47% และในปี 2559 ได้ปรับลดลงอีก 13.73% โดยให้ยกเลิกโครงการเดินทางของคณะกรรมการต่างๆจำนวน 8 คณะ โดยถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 3 มีนาคม 2558 อย่างเคร่งครัด โดยการเดินทางไปจะเป็นการประชุมว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่างๆ ที่จะส่งผลดีต่อการบริหารกองทุนในอนาคต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกันตนเอง
ส่วนการจัดสรรงบให้สภาองค์การนายจ้าง-ลูกจ้าง จัดอบรม สัมมนา ภายใต้วงเงิน 50 ล้านบาท สำนักงานประกันสังคมเห็นว่า สภาองค์การทั้ง 2 กลุ่มนี้ได้ขึ้นทะเบียนตามกฎหมายของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน แต่ละองค์การมี 14 แห่ง 2 องค์กร 28 แห่ง เพื่อให้ความรู้ได้ทั่วถึงในฐานะผู้แทนของแต่ละฝ่าย ซึ่งสถานประกอบการในระบบมีกว่า 4 แสนแห่ง ผู้ประกันตนกว่า 13 ล้านคน และปัจจุบันได้ให้สหภาพแรงงานที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสภาฯทั้ง 28 แห่ง สามารถขอรับการสนับสนุนวิทยากรได้ทั่วประเทศด้วย