นายแพทย์ชัยวัฒน์ จัตตุพร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวว่า หน้าร้อนนี้กรมอุตุนิยมวิทยาประเมินว่า กลางเดือนมีนาคม - กลางเดือนเมษายน อากาศร้อนจัด อุณหภูมิสูงสุดอาจสูง 43-44 องศาเซลเซียส อาจก่อให้เกิดโรคที่เกิดจากอากาศร้อนที่พบบ่อยและอันตรายถึงเสียชีวิตคือ โรคลมแดดหรือฮีทสโตรก (Heat Stroke) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการเจ็บป่วยที่รุนแรง เกิดจากการอยู่หรือออกกาลังกายหรือทางานในที่อากาศร้อนจัดเป็นเวลานานจนร่างกายไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนในร่างกายได้ มีผลกับการทางานของระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งระบบประสาทส่งผลทาให้เสียชีวิตจากอวัยวะต่างๆ ทำงานล้มเหลวได้ จึงมอบหมายให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ความรู้ คำแนะนาในการดูแลสุขภาพ และการป้องกันโรคลมแดดให้แก่ระชาชน โดยเฉพาะกลุ่มนักกีฬาที่จะต้องมีการแข่งขัน กลางสนาม และ 6 กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ 1.ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดด เช่น ออกกำลังกาย กรรมกร ก่อสร้าง เกษตรกร 2.เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบและผู้สูงอายุ 3.ผู้ที่มีโรคประจาตัว เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง 4.คนอ้วน 5.ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ และ 6.ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
นายแพทย์ชัยวัฒน์ กล่าวอีกว่า ผู้ที่เป็นโรคลมแดด จะมีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ปวดศีรษะ ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็ว ชัก มึนงง หน้ามืด หากไม่ได้รับการดูแลอย่างทันท่วงทีอาจทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้ ดังนั้นหากพบผู้มีอาการโรคลมแดด ขอให้รีบนำเข้าที่ร่ม ซึ่งมีอากาศถ่ายเทสะดวก แล้วให้นอนราบยกเท้าทั้งสองข้างขึ้นสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียน ถอดเสื้อผ้าให้เหลือน้อยชิ้น คลายชุดชั้นใน ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกคอ หน้าผาก รักแร้ ขาหนีบร่วมกับใช้พัด เพื่อระบายความร้อนและลดอุณหภูมิร่างกายให้ต่ำลงอย่างรวดเร็วที่สุด และรีบนนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว หรือโทรสายด่วน 1669
นายแพทย์ชัยวัฒน์ กล่าวอีกว่า ผู้ที่เป็นโรคลมแดด จะมีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ปวดศีรษะ ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็ว ชัก มึนงง หน้ามืด หากไม่ได้รับการดูแลอย่างทันท่วงทีอาจทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้ ดังนั้นหากพบผู้มีอาการโรคลมแดด ขอให้รีบนำเข้าที่ร่ม ซึ่งมีอากาศถ่ายเทสะดวก แล้วให้นอนราบยกเท้าทั้งสองข้างขึ้นสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียน ถอดเสื้อผ้าให้เหลือน้อยชิ้น คลายชุดชั้นใน ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกคอ หน้าผาก รักแร้ ขาหนีบร่วมกับใช้พัด เพื่อระบายความร้อนและลดอุณหภูมิร่างกายให้ต่ำลงอย่างรวดเร็วที่สุด และรีบนนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว หรือโทรสายด่วน 1669