นายธีรัชย์ อัตนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยถึงหนี้สาธารณะคงค้างสิ้นเดือนมกราคม 2559 ว่า มีจำนวน 5,980,660.67 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 44.06 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมกราคม ลดลงสุทธิ 24,383.29 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นหนี้ของรัฐบาล 4,387,486.67 ล้านบาท ลดลง 22,809.60 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,044,617.03 ล้านบาท ลดลง 431 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 531,131.18 ล้านบาท ลดลง 1,137.60 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ 17,425.79 ล้านบาท ลดลง 5.09 ล้านบาท
ทั้งนี้ หนี้สาธารณะสิ้นเดือนมกราคม 2559 แบ่งเป็น หนี้ในประเทศ 5,630,311.25 ล้านบาท หรือร้อยละ 94.14 และหนี้ต่างประเทศ 350,349.42 ล้านบาท หรือประมาณ 9,999.16 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 5.86 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด และแบ่งเป็นหนี้ระยะยาว 5,689,950.19 ล้านบาท หรือร้อยละ 95.14 และหนี้ระยะสั้น 290,710.48 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.86 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด
ขณะที่หนี้ของรัฐบาล 4,387,486.67 ล้านบาท มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ได้แก่ การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 23,941.02 ล้านบาท การกู้เงินเพื่อการลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ 8,862.61 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,044,617.03 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงเกิดจากผลของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้หนี้ต่างประเทศสกุลต่าง ๆ ลดลง 1,280.83 ล้านบาท การเบิกจ่ายมากกว่าการชำระหนี้เงินต้น ทำให้หนี้เพิ่มขึ้น 849.83 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการเบิกจ่ายเงินกู้ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพื่อใช้ในการบริหารสภาพคล่องปี 2558 จำนวน 1,511 ล้านบาท และการเบิกจ่ายเงินกู้ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เพื่อใช้ในการดำเนินการก่อสร้างทางพิเศษบูรพาวิถีและทางพิเศษสายบางพลี–สุขสวัสดิ์ 1,900 ล้านบาท
นอกจากนี้ หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 531,131.18 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระหนี้เงินต้นของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กู้มาเพื่อดำเนินโครงการรับจำนำผลิตผลทางการเกษตร 1,051 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ 17,425.79 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระหนี้เงินต้นของสำนักงานธนานุเคราะห์ จำนวน 14.89 ล้านบาท
ทั้งนี้ หนี้สาธารณะสิ้นเดือนมกราคม 2559 แบ่งเป็น หนี้ในประเทศ 5,630,311.25 ล้านบาท หรือร้อยละ 94.14 และหนี้ต่างประเทศ 350,349.42 ล้านบาท หรือประมาณ 9,999.16 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 5.86 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด และแบ่งเป็นหนี้ระยะยาว 5,689,950.19 ล้านบาท หรือร้อยละ 95.14 และหนี้ระยะสั้น 290,710.48 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.86 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด
ขณะที่หนี้ของรัฐบาล 4,387,486.67 ล้านบาท มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ได้แก่ การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 23,941.02 ล้านบาท การกู้เงินเพื่อการลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ 8,862.61 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,044,617.03 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงเกิดจากผลของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้หนี้ต่างประเทศสกุลต่าง ๆ ลดลง 1,280.83 ล้านบาท การเบิกจ่ายมากกว่าการชำระหนี้เงินต้น ทำให้หนี้เพิ่มขึ้น 849.83 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการเบิกจ่ายเงินกู้ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพื่อใช้ในการบริหารสภาพคล่องปี 2558 จำนวน 1,511 ล้านบาท และการเบิกจ่ายเงินกู้ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เพื่อใช้ในการดำเนินการก่อสร้างทางพิเศษบูรพาวิถีและทางพิเศษสายบางพลี–สุขสวัสดิ์ 1,900 ล้านบาท
นอกจากนี้ หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 531,131.18 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระหนี้เงินต้นของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กู้มาเพื่อดำเนินโครงการรับจำนำผลิตผลทางการเกษตร 1,051 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ 17,425.79 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระหนี้เงินต้นของสำนักงานธนานุเคราะห์ จำนวน 14.89 ล้านบาท