น.ส.กุลยา ตันคิเตมิท ผู้อำนวยการ สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนมกราคม 2559 พบว่า เศรษฐกิจได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐและภาคการท่องเที่ยว แต่ยังต้องติดตามการใช้จ่ายภาคเอกชน ที่มีสัญญาณชะลอตัวลง สะท้อนจากยอดจัดเก็บภาษีหดตัวร้อยละ -1.2 ต่อปี ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดในรอบ 4 เดือน อยู่ที่ 64.6 จากผู้บริโภคยังกังวลต่อเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกที่ผันผวน ด้านรายได้เกษตรกรหดตัวเล็กน้อยร้อยละ -3.5 การลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณชะลอตัวลง โดยเฉพาะหมวดการก่อสร้าง ด้านสถานการณ์การคลัง การลงทุนภาครัฐขยายตัวในระดับสูง เบิกจ่ายงบประมาณรวม 259,900 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 20.5 การจัดเก็บรายได้สุทธิ 156,400 ล้านบาท หดตัวลงร้อยละ -2.6 ขาดดุลงบประมาณ -109,700 ล้านบาท ด้านอุปสงค์ต่างประเทศผ่านการส่งออกหดตัวต่อเนื่อง มูลค่าส่งออกหดตัวร้อยละ -8.9 แต่การส่งออกกลุ่ม CLMV ยังขยายตัวเป็นบวก
ทั้งนี้ เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน ได้รับแรงสนับสนุนภาคการท่องเที่ยวยังขยายตัว จากนักท่องเที่ยวเดือนมกราคม มีถึง 3 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 15.0 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 2.8 จากปริมาณผลผลิตที่ออกมา นอกจากนี้ เสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.9 หรือ 346,000 คน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังหดตัวร้อยละ -0.5 เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 0.6 สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 44.4 ทุนสำรองระหว่างประเทศ อยู่ที่ 160,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 3 เท่า
ทั้งนี้ เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน ได้รับแรงสนับสนุนภาคการท่องเที่ยวยังขยายตัว จากนักท่องเที่ยวเดือนมกราคม มีถึง 3 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 15.0 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 2.8 จากปริมาณผลผลิตที่ออกมา นอกจากนี้ เสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.9 หรือ 346,000 คน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังหดตัวร้อยละ -0.5 เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 0.6 สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 44.4 ทุนสำรองระหว่างประเทศ อยู่ที่ 160,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 3 เท่า