วันที่ 11 มีนาคม ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) พ.อ.ปิยพงศ์ กลิ่นพันธ์ รองหัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ส่วนงานรักษาความสงบ สำนักงานเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แถลงข่าวชี้แจงกรณีคำสั่ง คสช.ที่ 9/2559 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดยมีเนื้อหาให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ซึ่งรับผิดชอบโครงการหรือกิจการที่อยู่ระหว่างรอผลการพิจารณารายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (EHIA) สามารถเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติให้ดำเนินโครงการไปพลางก่อนได้ว่า สาระสำคัญของคำสั่งฉบับดังกล่าว เป็นเพียงการให้หน่วยงานซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการที่มีความเร่งด่วนด้านคมนาคม การขนส่ง งานชลประทาน การป้องกันสาธารณะภัย โรงพยาบาล หรือที่อยู่อาศัย เสนอให้ ครม. พิจารณาอนุมัติเพื่อให้ได้มาซึ่งบริษัทเอกชนผู้รับดำเนินการตามโครงการไปพลางก่อนได้ ในระหว่างรอการพิจารณา EIA และ EHIA แต่ยังไม่สามารถลงนามผูกพันในสัญญาหรือให้สิทธิกับเอกชนได้
ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานเป็นการลดระยะเวลาไม่ได้ลดขั้นตอนของการปฏิบัติ ขั้นตอนบางอย่างสามารถดำเนินการควบคู่กันไปได้ เพื่อให้ดำเนินการกิจกรรมได้รวดเร็วแต่จะต้องให้มีผลการพิจารณา EIA และ EHIA เสียก่อน ไม่ใช่ว่าจะตัดขั้นตอนนี้ไป
ขณะที่ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องเดี่ยวกันว่า เรื่องนี้รัฐบาลพยายามผลักดันเพื่อให้โครงการต่างๆ เกิดขึ้นในเชิงปฏิบัติ เพราะได้กำหนดแผนดำเนินการไว้ แต่ติดบางขั้นตอน เราจึงหาวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เช่น การทำคู่ขนานกัน เหมือนก่อนหน้านี้ที่พอมีโครงการอะไรแต่ไม่สามารถเดินหน้าได้ จนกว่าจะได้รับการอนุมัติงบประมาณ จึงมีการเปลี่ยนให้ดำเนินการได้ในส่วนที่ไม่ผูกพันงบประมาณ แต่จะยังลงนามไม่ได้จนกว่าจะมีการอนุมัติงบประมาณออกมา เช่นเดียวกับเรื่องนี้โครงการที่เป็นประโยชน์กับประชาชน สามารถอนุมัติตามกรอบคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่9/2559 ได้ โดยกระบวนการทำ EIA และ EHIA ก็ยังต้องเดินหน้าต่อไป เมื่อสมบูรณ์แล้วจึงลงนามได้ ยืนยันว่าไม่ใช่การบีบเพื่อทำให้ EIA และ EHIA ผ่าน เพราะทราบดีว่าเรื่องนี้มีความสำคัญ
นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเช่นกันว่า ตัวแทนภาคประชาชนและองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) ในสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ได้ทำการศึกษาเรื่องนี้ร่วมกันใน สปท. ซึ่งรัฐบาลเห็นด้วยกับประเด็นที่เป็นหลักการใหญ่ตามที่ สปท. และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เสนอ โดยเฉพาะเรื่องการปฏิรูปการทำ EIA และ EHIA ดังกล่าว
ทั้งนี้ฟังดูจากกลุ่มที่เขาคัดค้าน เขาบอกต้องการให้มีการปฏิรูปและเขาเห็นด้วยกับการปฏิรูป ซึ่งรัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ และการเร่งรัดการปฏิรูปไม่ได้หมายความว่า จะเร่งรัดเพื่อลดขั้นตอน แต่เร่งรัดเพื่อให้ดำเนินการตามแผนปฏิรูปที่ สปท. เสนอ นี่คือหัวใจของเรื่องนี้
“คำสั่งดังกล่าวที่ออกมาก็ว่ากันไป ส่วนการปฏิรูปในเรื่องนี้ก็ว่าไป ในเมื่อต่างฝ่ายต่างเห็นด้วยเรื่องการปฏิรูปก็จะเดินไปคู่กันตามนี้ การเร่งรัดเรื่องการปฏิรูปของผม ไม่ได้แปลว่าเร่งรัดเพื่อลดขั้นตอนอย่างที่เข้าใจ ไม่ใช่การกระเหี้ยนกระหือรือเพื่อจะทำอะไรอย่างที่มีการวิจารณ์ ขอย้ำว่า คำว่าลดขั้นตอนนั้นเป็นการลดขั้นตอนเพื่อทำให้ทุกอย่างสั้นลง แต่ไม่เสียคุณภาพ เพราะทางเอกชนก็บอกว่าบางขั้นตอนล่าช้า เราก็ต้องหาวิธีการทำให้เร็วโดยมีคุณภาพ เรื่องนี้อยู่ในกรอบของการปฏิรูป ไม่ใช่เรื่องใหม่ ไม่ใช่เรื่องที่รัฐบาลไปกำหนดกฎกติกาใหม่” นายสุวพันธุ์ กล่าว
ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานเป็นการลดระยะเวลาไม่ได้ลดขั้นตอนของการปฏิบัติ ขั้นตอนบางอย่างสามารถดำเนินการควบคู่กันไปได้ เพื่อให้ดำเนินการกิจกรรมได้รวดเร็วแต่จะต้องให้มีผลการพิจารณา EIA และ EHIA เสียก่อน ไม่ใช่ว่าจะตัดขั้นตอนนี้ไป
ขณะที่ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องเดี่ยวกันว่า เรื่องนี้รัฐบาลพยายามผลักดันเพื่อให้โครงการต่างๆ เกิดขึ้นในเชิงปฏิบัติ เพราะได้กำหนดแผนดำเนินการไว้ แต่ติดบางขั้นตอน เราจึงหาวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เช่น การทำคู่ขนานกัน เหมือนก่อนหน้านี้ที่พอมีโครงการอะไรแต่ไม่สามารถเดินหน้าได้ จนกว่าจะได้รับการอนุมัติงบประมาณ จึงมีการเปลี่ยนให้ดำเนินการได้ในส่วนที่ไม่ผูกพันงบประมาณ แต่จะยังลงนามไม่ได้จนกว่าจะมีการอนุมัติงบประมาณออกมา เช่นเดียวกับเรื่องนี้โครงการที่เป็นประโยชน์กับประชาชน สามารถอนุมัติตามกรอบคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่9/2559 ได้ โดยกระบวนการทำ EIA และ EHIA ก็ยังต้องเดินหน้าต่อไป เมื่อสมบูรณ์แล้วจึงลงนามได้ ยืนยันว่าไม่ใช่การบีบเพื่อทำให้ EIA และ EHIA ผ่าน เพราะทราบดีว่าเรื่องนี้มีความสำคัญ
นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเช่นกันว่า ตัวแทนภาคประชาชนและองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) ในสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ได้ทำการศึกษาเรื่องนี้ร่วมกันใน สปท. ซึ่งรัฐบาลเห็นด้วยกับประเด็นที่เป็นหลักการใหญ่ตามที่ สปท. และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เสนอ โดยเฉพาะเรื่องการปฏิรูปการทำ EIA และ EHIA ดังกล่าว
ทั้งนี้ฟังดูจากกลุ่มที่เขาคัดค้าน เขาบอกต้องการให้มีการปฏิรูปและเขาเห็นด้วยกับการปฏิรูป ซึ่งรัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ และการเร่งรัดการปฏิรูปไม่ได้หมายความว่า จะเร่งรัดเพื่อลดขั้นตอน แต่เร่งรัดเพื่อให้ดำเนินการตามแผนปฏิรูปที่ สปท. เสนอ นี่คือหัวใจของเรื่องนี้
“คำสั่งดังกล่าวที่ออกมาก็ว่ากันไป ส่วนการปฏิรูปในเรื่องนี้ก็ว่าไป ในเมื่อต่างฝ่ายต่างเห็นด้วยเรื่องการปฏิรูปก็จะเดินไปคู่กันตามนี้ การเร่งรัดเรื่องการปฏิรูปของผม ไม่ได้แปลว่าเร่งรัดเพื่อลดขั้นตอนอย่างที่เข้าใจ ไม่ใช่การกระเหี้ยนกระหือรือเพื่อจะทำอะไรอย่างที่มีการวิจารณ์ ขอย้ำว่า คำว่าลดขั้นตอนนั้นเป็นการลดขั้นตอนเพื่อทำให้ทุกอย่างสั้นลง แต่ไม่เสียคุณภาพ เพราะทางเอกชนก็บอกว่าบางขั้นตอนล่าช้า เราก็ต้องหาวิธีการทำให้เร็วโดยมีคุณภาพ เรื่องนี้อยู่ในกรอบของการปฏิรูป ไม่ใช่เรื่องใหม่ ไม่ใช่เรื่องที่รัฐบาลไปกำหนดกฎกติกาใหม่” นายสุวพันธุ์ กล่าว