พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย หรือ (ACD) ครั้งที่ 14 โดยกล่าวว่า รู้สึกยินดีที่ทุกประเทศให้ความสำคัญกับการประชุม ACD ซึ่งที่ผ่านมามีการกำหนดเป้าหมายไว้ 3 ประการ คือ การทำเพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชนของแต่ละชาติ เพื่อประโยชน์ของภูมิภาค และประโยชน์ของประชาคมโลก ซึ่งทุกชาติจะต้องร่วมใจ และให้ความร่วมมืออย่างมีเอกภาพ
ทั้งนี้ หลักการสำคัญที่ทุกชาติสมาชิกจะต้องช่วยกันคิดและวางอนาคตร่วมกัน คือการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ลดความหวาดระแวง และสร้างผลประโยชน์ที่เท่าเทียม โดยการหารือในครั้งนี้อยู่ภายใต้กรอบความร่วมมือในระดับภูมิภาค เพื่อสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน พร้อมกล่าวถึงการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ว่า รัฐบาลพยายามขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้งานออกมาอย่างเป็นรูปธรรม
นายกรัฐมนตรี ย้ำด้วยว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ โดยรัฐบาลปัจจุบันพยายามวางรากฐานให้ประเทศ ด้วยการทำรัฐธรรมมนูญให้มีความยั่งยืน แต่จะไม่ก้าวก่ายการทำงานของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี จะเป็นกรอบการบริหารประเทศ ที่รัฐบาลชุดต่อไปจะต้องเข้ามาสานต่อ เพื่อให้การพัฒนาประเทศเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้กล่าวถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และแนวทางพัฒนา เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ซึ่งจะทำให้เราได้รู้จักการพอประมาณ ซึ่งจะเป็นภูมิคุ้มกันไม่ให้เกิดความล้มเหลวในอนาคต
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีย้ำว่า ขณะนี้ทุกชาติสมาชิกจะต้องศึกษาปัญหาในอดีต เพื่อให้ทราบสาเหตุ และนำไปสู่การแก้ไขปัญหา รวมถึงต้องแสวงหาความร่วมมือในทุกมิติ สร้างความเข้มแข็งจากภายใน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ของสหประชาชาติ
ทั้งนี้ หลักการสำคัญที่ทุกชาติสมาชิกจะต้องช่วยกันคิดและวางอนาคตร่วมกัน คือการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ลดความหวาดระแวง และสร้างผลประโยชน์ที่เท่าเทียม โดยการหารือในครั้งนี้อยู่ภายใต้กรอบความร่วมมือในระดับภูมิภาค เพื่อสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน พร้อมกล่าวถึงการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ว่า รัฐบาลพยายามขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้งานออกมาอย่างเป็นรูปธรรม
นายกรัฐมนตรี ย้ำด้วยว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ โดยรัฐบาลปัจจุบันพยายามวางรากฐานให้ประเทศ ด้วยการทำรัฐธรรมมนูญให้มีความยั่งยืน แต่จะไม่ก้าวก่ายการทำงานของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี จะเป็นกรอบการบริหารประเทศ ที่รัฐบาลชุดต่อไปจะต้องเข้ามาสานต่อ เพื่อให้การพัฒนาประเทศเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้กล่าวถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และแนวทางพัฒนา เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ซึ่งจะทำให้เราได้รู้จักการพอประมาณ ซึ่งจะเป็นภูมิคุ้มกันไม่ให้เกิดความล้มเหลวในอนาคต
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีย้ำว่า ขณะนี้ทุกชาติสมาชิกจะต้องศึกษาปัญหาในอดีต เพื่อให้ทราบสาเหตุ และนำไปสู่การแก้ไขปัญหา รวมถึงต้องแสวงหาความร่วมมือในทุกมิติ สร้างความเข้มแข็งจากภายใน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ของสหประชาชาติ