นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยมาตรการป้องและแก้ไขปัญหาภัยแล้งต่อโรงงานอุตสาหกรรม ว่า ปัจจุบันมีโรงงานตั้งอยู่นอกนิคมอุตสาหกรรมรวม 139,797 โรงงาน และโรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ประมาณ 3 พันกว่าโรง พบว่า ขณะนี้ยังไม่มีโรงงานที่ปิดตัวลงจากปัญหาขาดแคลนน้ำในกระบวนการผลิต แต่อาจกระทบบ้างโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งมีผลผลิตการเกษตรที่ใช้เป็นวัตถุดิบลดลงหรือคุณภาพไม่คงที่ และมีราคาสูงขึ้น ส่วนอุตสาหกรรมใช้น้ำมาก มีการเตรียมการรองรับวิกฤตแล้ว ทั้งนี้ ในเบื้องต้นกระทรวงอุตสาหกรรมมีแนวทางช่วยเหลือภาคการเกษตรรอบโรงงานอุตสาหกรรม ให้มีน้ำใช้บรรเทาผลกระทบช่วงหน้าแล้ง โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้อนุญาตโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร นำน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดได้ค่ามาตรฐานไปใช้ประโยชน์ในภาคเกษตรรอบ ๆ โรงงานได้ โดยจะต้องผ่านการอนุมัติจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดก่อน ซึ่งเบื้องต้นมีโรงงานที่สามารถปล่อยน้ำช่วยเหลือเกษตรกรได้ 2,300 โรงงาน จากโรงงานทั้งหมดกว่า 6,000 โรงงาน คาดว่าจะมีน้ำช่วยภาคการเกษตรได้ 500,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรได้ประมาณ 50,000 ไร่ ซึ่งจะใช้ได้นาน 120 วัน จนถึงวันที่ 30 มิถุนายนนี้
ด้านการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการ กนอ. เฝ้าระวังภัยแล้ง โดยเบื้องต้นยังไม่พบปัญหาขาดแคลนน้ำในนิคมอุตสาหกรรมที่มีจำนวน 43 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งมีการใช้น้ำรวม 7แสนลูกบาศก์เมตรต่อวัน ขณะที่ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย จะสนับสนุนสินเชื่อพัฒนาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำในไร่อ้อย วงเงินปีละ 500 ล้านบาท รวม 3 ปี เป็นเงิน 1,500 ล้านบาท เพื่อนำไปขุดสระกักเก็บน้ำ การเจาะน้ำบาดาล และการสร้างระบบส่งน้ำ
นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมจะนำน้ำจากขุมเหมืองไปใช้ประโยชน์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน เบื้องต้นพบว่าทั่วประเทศมีน้ำขุมเหมือง สามารถใช้เป็นแหล่งน้ำได้ 238 ประทานบัตร มีปริมาณน้ำรวมประมาณ 166,019,100 ลูกบาศ์กเมตร ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการนำน้ำมาใช้ประโยชน์แล้ว และคาดว่าจะใช้น้ำได้จนถึงสิ้นเดือนมีนาคมนี้
ด้านการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการ กนอ. เฝ้าระวังภัยแล้ง โดยเบื้องต้นยังไม่พบปัญหาขาดแคลนน้ำในนิคมอุตสาหกรรมที่มีจำนวน 43 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งมีการใช้น้ำรวม 7แสนลูกบาศก์เมตรต่อวัน ขณะที่ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย จะสนับสนุนสินเชื่อพัฒนาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำในไร่อ้อย วงเงินปีละ 500 ล้านบาท รวม 3 ปี เป็นเงิน 1,500 ล้านบาท เพื่อนำไปขุดสระกักเก็บน้ำ การเจาะน้ำบาดาล และการสร้างระบบส่งน้ำ
นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมจะนำน้ำจากขุมเหมืองไปใช้ประโยชน์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน เบื้องต้นพบว่าทั่วประเทศมีน้ำขุมเหมือง สามารถใช้เป็นแหล่งน้ำได้ 238 ประทานบัตร มีปริมาณน้ำรวมประมาณ 166,019,100 ลูกบาศ์กเมตร ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการนำน้ำมาใช้ประโยชน์แล้ว และคาดว่าจะใช้น้ำได้จนถึงสิ้นเดือนมีนาคมนี้