พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ชื่มชมเกษตรกรที่มีความเข้าใจสถานการณ์น้ำของประเทศ และให้ความร่วมมือกับนโยบายการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืชหน้าแล้ง จากข้าวนาปรังเป็นปลูกพืชน้ำน้อยและเลี้ยงปศุสัตว์แทน รวมถึงเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาลชดเชยการสูญเสียรายได้
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลจะเดินหน้าส่งเสริมมาตรการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรและอุตสาหกรรมมูลค่ากว่า 17,000 ล้านบาท เพื่อให้เกษตรกรมีทางเลือกปลูกพืชอื่นทดแทนข้าว และเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันของสินค้าเกษตรในตลาดโลก อาทิ กิจการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง มันสำปะหลัง รำข้าว ข้าวโพด ปลาป่น จ.ลพบุรี กิจการผลิตเครื่องดื่มจากถั่วเหลือง จ.สระบุรี กิจการผลิตสารให้ความหวาน จ.ปราจีนบุรี กิจการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง จ.กำแพงเพชร และกิจการผลิตเยื่อกระดาษฟอกขาว จ.บุรีรัมย์
ขณะเดียวกัน รัฐบาลจะให้การสนับสนุนด้านความรู้ ลงทุน เพื่อยกระดับให้สินค้าเกษตรธรรมดากลายเป็นสินค้าเกษตรอุตสาหกรรมที่ใช้นวัตกรรมเข้ามาช่วย พร้อมทั้งจะเร่งรัดโครงการที่จะช่วยขับเคลื่อนในเรื่องนี้ให้สำเร็จโดยเร็ว เช่น โครงการ 1 ตำบล 1 SME เกษตร ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีมองการแก้ปัญหาด้านการเกษตรอย่างเป็นระบบ โดยต้องการให้เกษตรกรได้พัฒนาความรู้และเปลี่ยนมุมมองให้รู้จักการทำอาชีพทางการเกษตรที่หลากหลาย เป็นสมาร์ทฟาร์เมอร์ (Smart farmer) เพราะการทำสิ่งเดิม ๆ เมื่อเกิดปัญหาภัยธรรมชาติขึ้น เกษตรกรก็จะได้รับความเดือดร้อนซ้ำแล้วซ้ำเล่า
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลจะเดินหน้าส่งเสริมมาตรการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรและอุตสาหกรรมมูลค่ากว่า 17,000 ล้านบาท เพื่อให้เกษตรกรมีทางเลือกปลูกพืชอื่นทดแทนข้าว และเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันของสินค้าเกษตรในตลาดโลก อาทิ กิจการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง มันสำปะหลัง รำข้าว ข้าวโพด ปลาป่น จ.ลพบุรี กิจการผลิตเครื่องดื่มจากถั่วเหลือง จ.สระบุรี กิจการผลิตสารให้ความหวาน จ.ปราจีนบุรี กิจการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง จ.กำแพงเพชร และกิจการผลิตเยื่อกระดาษฟอกขาว จ.บุรีรัมย์
ขณะเดียวกัน รัฐบาลจะให้การสนับสนุนด้านความรู้ ลงทุน เพื่อยกระดับให้สินค้าเกษตรธรรมดากลายเป็นสินค้าเกษตรอุตสาหกรรมที่ใช้นวัตกรรมเข้ามาช่วย พร้อมทั้งจะเร่งรัดโครงการที่จะช่วยขับเคลื่อนในเรื่องนี้ให้สำเร็จโดยเร็ว เช่น โครงการ 1 ตำบล 1 SME เกษตร ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีมองการแก้ปัญหาด้านการเกษตรอย่างเป็นระบบ โดยต้องการให้เกษตรกรได้พัฒนาความรู้และเปลี่ยนมุมมองให้รู้จักการทำอาชีพทางการเกษตรที่หลากหลาย เป็นสมาร์ทฟาร์เมอร์ (Smart farmer) เพราะการทำสิ่งเดิม ๆ เมื่อเกิดปัญหาภัยธรรมชาติขึ้น เกษตรกรก็จะได้รับความเดือดร้อนซ้ำแล้วซ้ำเล่า