เมื่อวันที่ 6 มี.ค. นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ขณะนี้สถานการณ์โรคไข้เลือด ออกในประเทศยังน่าเป็นห่วง โดยข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-1 มี.ค. 2559 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 9,639 คน เสียชีวิต 3 คนยังสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกัน ของปีที่ผ่านมาถึง 2 เท่า โดยในปี 2558 มีรายงานผู้ป่วยเพียง 4,783 คน มากสุดในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคเหนือ และกรุงเทพมหานคร มาตรการป้องกันโรคที่ดีที่สุดคือ การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยขอความร่วมมือประชาชนทุกบ้าน ต้องร่วมกันไม่ให้บ้านเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกสัปดาห์ โดยใช้มาตรการ 3 เก็บ คือ เก็บบ้าน เก็บขยะ เก็บน้ำ เพื่อป้องกัน 3 โรค ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หากสามารถทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจะช่วยลดการแพร่ระบาดของโรคได้ ป้องกันไม่ให้ยุงกัดใช้ยาทากันยุง นอนกางมุ้ง ขณะเดียวกันในวันที่ 8 มี.ค. กระทรวงจะมีการอบรมการเตรียมความพร้อมด้านการวินิจฉัย ดูแลรักษาโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ โรคติดเชื้อไวรัสซิกา โรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลาย ที่เกิดจากยุงลายให้กับบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องด้วย
สำหรับโรคไข้เลือดออก เป็นได้ในทุกกลุ่มอายุ โดยพบมากในช่วงอายุ 5-10 ปี อาการส่วนใหญ่มักจะมีไข้สูงไข้ ไม่ลด นอนซม เด็กโตจะปวดศีรษะ ปวดรอบกระบอกตา ซึ่งพบได้ในผู้ใหญ่เช่นเดียวกัน ในระยะไข้นี้บางรายอาจมีอาการเบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้องร่วมด้วย ซึ่งในระยะแรกจะปวดทั่วๆไปและอาจปวดที่ชายโครงขวาในระยะ ที่มีตับโต จะต้องติดตามดูอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด หากมีลักษณะอาการดังกล่าวกับมีไข้สูงเกิน 2 วัน แต่อาการที่รุนแรงอาจพบได้ตั้งแต่วันที่ 4 ของโรค หากผู้ป่วยมีอาการซึมลง กินอาหารดื่มน้ำไม่ได้ อาจเข้าสู่ภาวะช็อก ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันการเสียชีวิต โรคไข้เลือดรักษาตามอาการ ให้กินยา พาราเซตามอลลดไข้ อย่าซื้อยาแก้ปวดที่มีระคายเคืองกระเพาะอาหาร เสี่ยงเลือดออกในกระเพาะอาหาร อันตรายถึงเสียชีวิต
สำหรับโรคไข้เลือดออก เป็นได้ในทุกกลุ่มอายุ โดยพบมากในช่วงอายุ 5-10 ปี อาการส่วนใหญ่มักจะมีไข้สูงไข้ ไม่ลด นอนซม เด็กโตจะปวดศีรษะ ปวดรอบกระบอกตา ซึ่งพบได้ในผู้ใหญ่เช่นเดียวกัน ในระยะไข้นี้บางรายอาจมีอาการเบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้องร่วมด้วย ซึ่งในระยะแรกจะปวดทั่วๆไปและอาจปวดที่ชายโครงขวาในระยะ ที่มีตับโต จะต้องติดตามดูอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด หากมีลักษณะอาการดังกล่าวกับมีไข้สูงเกิน 2 วัน แต่อาการที่รุนแรงอาจพบได้ตั้งแต่วันที่ 4 ของโรค หากผู้ป่วยมีอาการซึมลง กินอาหารดื่มน้ำไม่ได้ อาจเข้าสู่ภาวะช็อก ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันการเสียชีวิต โรคไข้เลือดรักษาตามอาการ ให้กินยา พาราเซตามอลลดไข้ อย่าซื้อยาแก้ปวดที่มีระคายเคืองกระเพาะอาหาร เสี่ยงเลือดออกในกระเพาะอาหาร อันตรายถึงเสียชีวิต