นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับนายมีชัย ฤชุพันธ์ ที่เสนอให้สมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว. มาจากการเลือกไขว์กันจากองค์กร หรือกลุ่มวิชาชีพ 20 กลุ่ม ซึ่ง สนช. เห็นว่าการสรรหาแบบดังกล่าวจะเกิดปัญหาหลายอย่าง จึงเสนอไปยังกรรมการร่างรัฐธรรมนูญให้ใช้ระบบการเลือก ส.ว. แบบสรรหา เพราะเป็นวิธีที่มีจุดอ่อน หรือจุดเสียน้อยที่สุด และยืนยันไม่มีการสืบทอดอำนาจอย่างแน่นอน
ส่วนกรณีการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 เพื่อเตรียมจัดทำประชามติร่างรัฐธรมนูญใน 5 ประเด็น ประกอบด้วย กำหนดเกณฑ์การลงประชามติ กำหนดอายุของผู้มีสิทธิออกเสียง แก้ไขเรื่องหลักเกณฑ์ในการแจกจ่ายรัฐธรรมนูญก่อนทำประชามติ กำหนดให้องค์กรอื่นตั้งคำถามประชามติเพิ่มเติมได้ และหลักเกณฑ์การรณรงค์หรือชี้แจงร่างรัฐธรรมนูญนั้น จะมาถึง สนช. ในวันนี้ และคาดว่าจะสามารถบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมได้ในสัปดาห์หน้า
นายพรเพชร กล่าวถึงการตั้งคำถามประชามติเพิ่มเติม ว่า ในส่วนของ สนช. จะตั้งหรือไม่ตั้งคำถามนั้น ขึ้นอยู่กับดุลพินิจ และต้องเห็นร่างรัฐธรรมนูญร่างสุดท้ายในวันที่ 29 มีนาคมนี้ก่อน
ส่วนกรณีการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 เพื่อเตรียมจัดทำประชามติร่างรัฐธรมนูญใน 5 ประเด็น ประกอบด้วย กำหนดเกณฑ์การลงประชามติ กำหนดอายุของผู้มีสิทธิออกเสียง แก้ไขเรื่องหลักเกณฑ์ในการแจกจ่ายรัฐธรรมนูญก่อนทำประชามติ กำหนดให้องค์กรอื่นตั้งคำถามประชามติเพิ่มเติมได้ และหลักเกณฑ์การรณรงค์หรือชี้แจงร่างรัฐธรรมนูญนั้น จะมาถึง สนช. ในวันนี้ และคาดว่าจะสามารถบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมได้ในสัปดาห์หน้า
นายพรเพชร กล่าวถึงการตั้งคำถามประชามติเพิ่มเติม ว่า ในส่วนของ สนช. จะตั้งหรือไม่ตั้งคำถามนั้น ขึ้นอยู่กับดุลพินิจ และต้องเห็นร่างรัฐธรรมนูญร่างสุดท้ายในวันที่ 29 มีนาคมนี้ก่อน