นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยถึงการสรุปการปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งคาดว่าจะมีการเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในช่วงเดือนมีนาคมนี้ ว่า กรมสรรพากรยังยืนยันในหลักการปรับปรุงภาษีดังกล่าว ว่าผู้เสียภาษีทุกคนจะได้รับประโยชน์จากการปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยในเบื้องต้นได้เพิ่มการหักค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล จาก 6 หมื่น เป็น 1-1.2 แสนบาท และมีการปรับปรุงขั้นเสียภาษีใหม่ รวมถึงปรับปรุงรายได้ในแต่ละขั้นใหม่ด้วย ซึ่งการปรับโครงสร้างภาษีครั้งนี้ จะทำให้กรมสรรพากรเสียรายได้หลายหมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ตาม นายประสงค์ กล่าวต่อว่า กรมสรรพากรมีความตั้งใจที่จะประกาศใช้โครงสร้างใหม่ในปีภาษี 2560 สำหรับการปรับอัตราภาษีสูงสุด 35 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ที่มีรายได้สุทธิเกินกว่า 4 ล้านบาทนั้น ตรงนี้ขึ้นอยู่กับคณะรัฐมนตรีคงเปิดเผยรายละเอียดมากไม่ได้ ต้องรอให้ผ่าน ครม. ก่อน แต่ทั้งนี้ก็ไม่อยากให้นำไปเปรียบเทียบกับภาษีเงินนิติบุคคล ที่เก็บสูงสุด 20 เปอร์เซ็นต์ และหากนำไปรวมกับเงินปันผลอีก 8 เปอร์เซ็นต์ รวมเป็น 28 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าต่ำกว่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เก็บอัตราสูงสุด 35 เปอร์เซ็นต์ ตรงนี้ต้องไม่ลืมว่าในการเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมนั้น จะคิดแบบขั้นบันไดของรายได้ถึง 7 ขั้น และมีการลดหย่อนมากกว่า ไม่เหมือนกับเงินได้นิติบุคคล
อย่างไรก็ตาม นายประสงค์ กล่าวต่อว่า กรมสรรพากรมีความตั้งใจที่จะประกาศใช้โครงสร้างใหม่ในปีภาษี 2560 สำหรับการปรับอัตราภาษีสูงสุด 35 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ที่มีรายได้สุทธิเกินกว่า 4 ล้านบาทนั้น ตรงนี้ขึ้นอยู่กับคณะรัฐมนตรีคงเปิดเผยรายละเอียดมากไม่ได้ ต้องรอให้ผ่าน ครม. ก่อน แต่ทั้งนี้ก็ไม่อยากให้นำไปเปรียบเทียบกับภาษีเงินนิติบุคคล ที่เก็บสูงสุด 20 เปอร์เซ็นต์ และหากนำไปรวมกับเงินปันผลอีก 8 เปอร์เซ็นต์ รวมเป็น 28 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าต่ำกว่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เก็บอัตราสูงสุด 35 เปอร์เซ็นต์ ตรงนี้ต้องไม่ลืมว่าในการเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมนั้น จะคิดแบบขั้นบันไดของรายได้ถึง 7 ขั้น และมีการลดหย่อนมากกว่า ไม่เหมือนกับเงินได้นิติบุคคล