กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงเกี่ยวกับการทบทวนปรับปรุงการพิจารณาการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว รหัส M ให้แก่สื่อมวลชนต่างประเทศ ระบุว่า ตามที่กระทรวงการต่างประเทศได้ประกาศแนวทางการพิจารณาการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว รหัส M หรือ “วีซ่าผู้สื่อข่าวต่างชาติ” ให้แก่สื่อมวลชนต่างประเทศ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 1559 และได้มีสื่อมวลชนนำเสนอข่าวว่ากระทรวงการต่างประเทศไม่ต่ออายุวีซ่าให้แก่ผู้สื่อข่าวต่างชาติ นั้น
กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนว่า การทบทวนปรับปรุงแนวทางการพิจารณาให้วีซ่านักข่าวต่างประเทศมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความชัดเจนในการจำแนกผู้สื่อข่าวต่างชาติ ที่สามารถขอรับวีซ่าประเภทนี้ เนื่องจากปัจจุบันมีการขยายตัวของสื่อแนวใหม่ และสื่อออนไลน์ ที่ทำให้ผู้สื่อข่าวอิสระประสงค์ขอรับวีซ่าประเภทนี้มากขึ้น กอปรกับที่ผ่านมา ได้มีการกำหนดเกณฑ์การพิจารณาให้วีซ่านักข่าวต่างชาตินั้นไว้อย่างกว้าง และมิได้ให้คำจำกัดความหรือกำหนดประเภทของสื่อมวลชนที่สามารถขอรับวีซ่าอย่างชัดเจน ทำให้มีกลุ่มชาวต่างชาติจำนวนหนึ่งใช้วีซ่าประเภทนี้ในการประกอบอาชีพอื่นแอบแฝง หรือใช้สิทธิประโยชน์จากบัตรประจำตัวสื่อมวลชน
อย่างไรก็ดี แนวทางการพิจารณาใหม่ไม่ได้ปิดกั้นผู้ที่มีลักษณะไม่ตรงตามแนวทางพิจารณา ไม่ให้ทำงานในราชอาณาจักรไทย โดยจะมีการแจ้งผู้ขอรับวีซ่าหรือขอต่ออายุวีซ่าทราบในเบื้องต้น และแนะนำให้ขอวีซ่าประเภทที่เหมาะสมกับการทำงานของตน ก่อนที่กระทรวงการต่างประเทศจะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอขยายระยะเวลาของวีซ่าเดิมออกไปในระยะที่เหมาะสม (grace period) ให้ผู้ขอรับวีซ่าสามารถเตรียมเอกสารในการขอวีซ่าประเภทใหม่ต่อไป
ทั้งนี้ กระบวนการทบทวนปรับปรุงแนวทางการพิจารณานี้ ได้มีการรวบรวมข้อมูลแนวปฏิบัติในเรื่องนี้ของนานาประเทศ รวมทั้งได้หารือและปรับแก้ไขร่วมกับหน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้บริหารระดับสูงของสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) อย่างต่อเนื่องด้วย ซึ่งแสดงถึงความโปร่งใสและการดำเนินการที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล
สำหรับกรณีที่มีรายงานข่าวว่า ผู้สื่อข่าวต่างชาติ โดยเฉพาะช่างภาพ ถูกปฏิเสธการต่ออายุวีซ่านั้น ขอเรียนว่า กระทรวงการต่างประเทศไม่ได้ปฏิเสธวีซ่าของผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นช่างภาพอิสระ แต่ได้พูดคุยและแนะนำผู้ที่เกี่ยวข้องให้เปลี่ยนประเภทวีซ่า เป็นประเภทที่เหมาะสม เช่น รหัส “B” หรือประเภทการติดต่อธุรกิจหรือทำงาน และหากมีความจำเป็นต้องใช้บัตรสื่อมวลชนในการปฏิบัติหน้าที่ถ่ายภาพให้กับสำนักข่าว ก็สามารถแสดงความจำนงขอรับบัตรผู้สื่อข่าวได้ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะพิจารณา และแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป นอกจากนี้ช่างภาพที่สังกัดสำนักข่าวที่ได้รับการจดทะเบียนอย่างถูกต้องในประเทศไทยหรือในต่างประเทศจะไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ จากแนวทางการพิจารณานี้
ปัจจุบันมีผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่ยื่นคำร้องขอวีซ่าผ่านกระทรวงการต่างประเทศ และพำนักอยู่ในประเทศไทยจำนวนกว่า 500 คน โดยจากการตรวจสอบพบว่า มีผู้ที่ไม่เข้าข่ายขอรับวีซ่าผู้สื่อข่าวตามแนวทางข้างต้นเพียงประมาณร้อยละ 10
กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนว่า การทบทวนปรับปรุงแนวทางการพิจารณาให้วีซ่านักข่าวต่างประเทศมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความชัดเจนในการจำแนกผู้สื่อข่าวต่างชาติ ที่สามารถขอรับวีซ่าประเภทนี้ เนื่องจากปัจจุบันมีการขยายตัวของสื่อแนวใหม่ และสื่อออนไลน์ ที่ทำให้ผู้สื่อข่าวอิสระประสงค์ขอรับวีซ่าประเภทนี้มากขึ้น กอปรกับที่ผ่านมา ได้มีการกำหนดเกณฑ์การพิจารณาให้วีซ่านักข่าวต่างชาตินั้นไว้อย่างกว้าง และมิได้ให้คำจำกัดความหรือกำหนดประเภทของสื่อมวลชนที่สามารถขอรับวีซ่าอย่างชัดเจน ทำให้มีกลุ่มชาวต่างชาติจำนวนหนึ่งใช้วีซ่าประเภทนี้ในการประกอบอาชีพอื่นแอบแฝง หรือใช้สิทธิประโยชน์จากบัตรประจำตัวสื่อมวลชน
อย่างไรก็ดี แนวทางการพิจารณาใหม่ไม่ได้ปิดกั้นผู้ที่มีลักษณะไม่ตรงตามแนวทางพิจารณา ไม่ให้ทำงานในราชอาณาจักรไทย โดยจะมีการแจ้งผู้ขอรับวีซ่าหรือขอต่ออายุวีซ่าทราบในเบื้องต้น และแนะนำให้ขอวีซ่าประเภทที่เหมาะสมกับการทำงานของตน ก่อนที่กระทรวงการต่างประเทศจะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอขยายระยะเวลาของวีซ่าเดิมออกไปในระยะที่เหมาะสม (grace period) ให้ผู้ขอรับวีซ่าสามารถเตรียมเอกสารในการขอวีซ่าประเภทใหม่ต่อไป
ทั้งนี้ กระบวนการทบทวนปรับปรุงแนวทางการพิจารณานี้ ได้มีการรวบรวมข้อมูลแนวปฏิบัติในเรื่องนี้ของนานาประเทศ รวมทั้งได้หารือและปรับแก้ไขร่วมกับหน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้บริหารระดับสูงของสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) อย่างต่อเนื่องด้วย ซึ่งแสดงถึงความโปร่งใสและการดำเนินการที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล
สำหรับกรณีที่มีรายงานข่าวว่า ผู้สื่อข่าวต่างชาติ โดยเฉพาะช่างภาพ ถูกปฏิเสธการต่ออายุวีซ่านั้น ขอเรียนว่า กระทรวงการต่างประเทศไม่ได้ปฏิเสธวีซ่าของผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นช่างภาพอิสระ แต่ได้พูดคุยและแนะนำผู้ที่เกี่ยวข้องให้เปลี่ยนประเภทวีซ่า เป็นประเภทที่เหมาะสม เช่น รหัส “B” หรือประเภทการติดต่อธุรกิจหรือทำงาน และหากมีความจำเป็นต้องใช้บัตรสื่อมวลชนในการปฏิบัติหน้าที่ถ่ายภาพให้กับสำนักข่าว ก็สามารถแสดงความจำนงขอรับบัตรผู้สื่อข่าวได้ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะพิจารณา และแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป นอกจากนี้ช่างภาพที่สังกัดสำนักข่าวที่ได้รับการจดทะเบียนอย่างถูกต้องในประเทศไทยหรือในต่างประเทศจะไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ จากแนวทางการพิจารณานี้
ปัจจุบันมีผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่ยื่นคำร้องขอวีซ่าผ่านกระทรวงการต่างประเทศ และพำนักอยู่ในประเทศไทยจำนวนกว่า 500 คน โดยจากการตรวจสอบพบว่า มีผู้ที่ไม่เข้าข่ายขอรับวีซ่าผู้สื่อข่าวตามแนวทางข้างต้นเพียงประมาณร้อยละ 10