นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ในช่วงรุ่งเช้าตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์เป็นต้นไปตลอดทั้งเดือนจะสังเกตเห็นแนวใจกลางทางช้างเผือกบริเวณขอบฟ้าทางทิศตะวันออก ระหว่างกลุ่มดาวแมงป่องกับกลุ่มดาวคนยิงธนู ตั้งแต่เวลาประมาณ 05.30 น. จนถึงก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น มีดาวศุกร์สว่างปรากฏบริเวณด้านซ้ายของใจกลางทางช้างเผือกด้วย และหลังจากนั้นจะสามารถสังเกตเห็นทางช้างเผือกได้ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากแนวทางช้างเผือกจะโผล่พ้นขอบฟ้าเร็วขึ้น ปรากฏอยู่สูงจากขอบฟ้าแนวทางช้างเผือกจะค่อยๆ เปลี่ยนทิศทางปรากฏเป็นแนวพาดบริเวณกลางฟ้า จนในช่วงปลายเดือนเมษายนจะสามารถเห็นแนวทางช้างเผือกได้ตั้งแต่เวลาเที่ยงคืน ทำให้มีเวลาชื่นชมความสวยงามและบันทึกภาพทางช้างเผือกได้ยาวนานขึ้น และเนื่องจากใจกลางทางช้างเผือกอยู่ในบริเวณกลุ่มดาวทางซีกฟ้าใต้ ทำให้ทางตอนใต้ของไทย มีโอกาสสังเกตใจกลางทางช้างเผือกได้ดีกว่าภูมิภาคอื่นๆ จะมองเห็นแนวใจกลางทางช้างเผือกอยู่สูงจากขอบฟ้ามากกว่าภูมิภาคอื่นของประเทศทำให้ผู้คนในแถบภาคใต้สามารถสังเกตทางช้างเผือกได้อย่างชัดเจน
สำหรับใจกลางทางช้างเผือก(Galactic Center) คือส่วนที่สว่างที่สุดของทางช้างเผือก ประกอบด้วยวัตถุท้องฟ้ามากมาย เช่น ดาวฤกษ์ กระจุกดาว รวมทั้งเนบิวลาด้วย ซึ่งทางช้างเผือกเป็นวัตถุท้องฟ้าที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีความสวยงาม โดยจะเห็นทางช้างเผือกพาดเป็นแนวยาวกลางฟ้าตั้งแต่ทิศเหนือจรดทิศใต้นับเป็นวัตถุท้องฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดเมื่อมองจากโลก
สำหรับใจกลางทางช้างเผือก(Galactic Center) คือส่วนที่สว่างที่สุดของทางช้างเผือก ประกอบด้วยวัตถุท้องฟ้ามากมาย เช่น ดาวฤกษ์ กระจุกดาว รวมทั้งเนบิวลาด้วย ซึ่งทางช้างเผือกเป็นวัตถุท้องฟ้าที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีความสวยงาม โดยจะเห็นทางช้างเผือกพาดเป็นแนวยาวกลางฟ้าตั้งแต่ทิศเหนือจรดทิศใต้นับเป็นวัตถุท้องฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดเมื่อมองจากโลก