นายชยพล พงษ์สีดา รอง ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พ.ศ.) กล่าวถึงกรณีกลุ่มประชาชนผู้ธำรงพุทธศาสนาและเทิดทูนสถาบัน ยื่น สปท.-สนช.แก้ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535 ถวายคืนพระราชอำนาจแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชว่า จริง ๆ แล้ว ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชเป็นพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อทูลเกล้าฯเสนอชื่อไปแล้ว พระองค์จะทรงโปรดเกล้าฯลงมาหรือไม่นั้น เป็นพระราชอำนาจ ไม่มีผู้ใดมีสิทธิก้าวล่วง โดยพ.ร.บ.คณะสงฆ์เดิมมีแค่วรรคแรกเท่านั้น ซึ่งระบุว่าพระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช พอถึง พ.ศ.2535 เติมสรรค 2 และ 3 เพิ่มไป ระบุว่าให้นายกรัฐมนตรีนำรายชื่อสมเด็จพระราชาคณะที่ผ่านความเห็นชอบของขึ้นทูลเกล้า โดยต้องเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ทีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มเติมวรรค 2 และ 3 นั้น แค่เป็นการกำหนดขั้นตอนการดำเนินการเท่านั้น แต่การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชยังคงเป็นพระราชอำนาจตามเดิม
ทั้งนี้ พ.ศ.จะไปศึกษาดูว่า ขั้นตอนการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชในอดีตนั้น ตามกฏหมายและโบราณราชประเพณี ดำเนินการกันอย่างไร เพราะ พ.ศ.เอง ไม่ได้ศึกษาย้อนหลังไปมากนัก ยึดตาม พ.ร.บ.สงฆ์ พ.ศ.2535 เป็นหลัก อย่างไรก็ดี การแก้ไขกฏหมายนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเป็นเรื่องใหญ่และมีความละเอียดอ่อน ต้องดูเจตนารมณ์เดิมของกฎหมาย และวัตถุประสงค์ของการเสนอแก้ด้วย
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มเติมวรรค 2 และ 3 นั้น แค่เป็นการกำหนดขั้นตอนการดำเนินการเท่านั้น แต่การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชยังคงเป็นพระราชอำนาจตามเดิม
ทั้งนี้ พ.ศ.จะไปศึกษาดูว่า ขั้นตอนการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชในอดีตนั้น ตามกฏหมายและโบราณราชประเพณี ดำเนินการกันอย่างไร เพราะ พ.ศ.เอง ไม่ได้ศึกษาย้อนหลังไปมากนัก ยึดตาม พ.ร.บ.สงฆ์ พ.ศ.2535 เป็นหลัก อย่างไรก็ดี การแก้ไขกฏหมายนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเป็นเรื่องใหญ่และมีความละเอียดอ่อน ต้องดูเจตนารมณ์เดิมของกฎหมาย และวัตถุประสงค์ของการเสนอแก้ด้วย