พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยสถานการณ์การใช้พลังงานปี 2558 ว่า มีการใช้น้ำมันทุกชนิดปรับขึ้นประมาณร้อยละ 4.2 หรือ 131.6 ล้านลิตรต่อวัน โดยเฉพาะกลุ่มเบนซิน มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 และดีเซลเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันดิบดูไบลดลงต่อเนื่องถึง 70 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่ความต้องการใช้แก๊สแอลพีจีลดลงร้อยละ 5.4 หรือ 23.2 ล้านลิตรต่อวัน หลังจากกระทรวงพลังงานปรับโครงสร้างราคาแอลพีจีให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ทำให้ราคาปรับขึ้นใกล้เคียงกับน้ำมัน ประชาชนจึงกลับมาใช้น้ำมันมากขึ้น
ส่วนแนวโน้มการใช้พลังงานปี 2559 จะเพิ่มขึ้นจากปี 2558 ร้อยละ 3 สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพี ที่ประมาณการณ์ว่าจะเติบโตร้อยละ 3 - 4 แบ่งเป็นเบนซินเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 ดีเซลเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ส่วนก๊าซแอลพีจีจะลดลงต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 2.5 ตามราคาน้ำมันตลาดโลกที่เป็นช่วงขาลง คาดว่าจะอยู่ในระดับ 35 - 45 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เช่นเดียวกับความต้องการใช้ก๊าซเอ็นจีวีจะลดลงร้อยละ 1
ส่วนประเมินสถานการณ์ด้านไฟฟ้าปีนี้ คาดว่าจะใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ตามภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และประเมินว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด หรือพีค อยู่ที่ 29,000 เมกะวัตต์ และยืนยันว่า จะดูแลอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือเอฟที ให้อยู่ในระดับเดิมที่ -4.8 สตางค์ต่อหน่วย หรือปรับลดลง แต่ต้องพิจารณาอัตราแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิด เนื่องจากทุกการเปลี่ยนแปลง 1 ดอลลาร์สหรัฐ จะส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าประมาณ 6 สตางค์
ส่วนแนวโน้มการใช้พลังงานปี 2559 จะเพิ่มขึ้นจากปี 2558 ร้อยละ 3 สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพี ที่ประมาณการณ์ว่าจะเติบโตร้อยละ 3 - 4 แบ่งเป็นเบนซินเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 ดีเซลเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ส่วนก๊าซแอลพีจีจะลดลงต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 2.5 ตามราคาน้ำมันตลาดโลกที่เป็นช่วงขาลง คาดว่าจะอยู่ในระดับ 35 - 45 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เช่นเดียวกับความต้องการใช้ก๊าซเอ็นจีวีจะลดลงร้อยละ 1
ส่วนประเมินสถานการณ์ด้านไฟฟ้าปีนี้ คาดว่าจะใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ตามภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และประเมินว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด หรือพีค อยู่ที่ 29,000 เมกะวัตต์ และยืนยันว่า จะดูแลอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือเอฟที ให้อยู่ในระดับเดิมที่ -4.8 สตางค์ต่อหน่วย หรือปรับลดลง แต่ต้องพิจารณาอัตราแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิด เนื่องจากทุกการเปลี่ยนแปลง 1 ดอลลาร์สหรัฐ จะส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าประมาณ 6 สตางค์