เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 6 ม.ค.2559 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.กล่าวถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ทำหนังสือขออนุญาตมายัง คสช.เพื่อขอประชุมพรรคว่า ไม่อนุญาตให้พรรคประชาธิปัตย์เรียกประชุมพรรค พร้อมกล่าวย้ำถึงหลักการของ คสช.ที่ห้ามพรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมทางการเมืองใดๆ
"ยังไม่ให้ประชุม แล้วที่มาพูดปากเปล่า ตามสื่อต่างๆ ผมยังไม่ได้เล่นงานเลย" นายกรัฐมนตรี กล่าว
นายกรัฐมนตรียังระบุถึงปัญหาความไม่ชอบมาพากลในการบริหารงานของกรุงเทพมหานครว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไป รวมถึงการตรวจสอบโครงการแสงสีแห่งความสุข หรืออุโมงค์ไฟแอลอีดี ที่กรุงเทพมหานคร จัดงบประมาณดำเนินการกว่า 39 ล้านบาทด้วย
ก่อนหน้านี้พรรคประชาธิปัตย์ ชี้แจงหลักการในการขออนุญาต คสช.เพื่อเรียกประชุมพรรคไว้ 3 เหตุผล คือ การเรียกประชุมเพื่อจัดระบบการบริหารจัดการภายในพรรค และการคลี่คลายความเคลือบแคลงสงสัย ในการบริหารงานของกรุงเทพมหานครภายใต้การกำกับดูแลของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. ซึ่งมีสถานะเป็นสมาชิกพรรค และแม้ว่าเหตุผลสุดท้ายพรรคประชาธิปัตย์จะปฏิเสธ แต่ก็มีข้อสังเกตว่าจะเป็น 1 ใน 3 เหตุผลที่พรรคประชาธิปัตย์ต้องเรียกประชุม นั่น คือความเห็นต่างของสมาชิกต่อผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชชาชีวะ ซึ่งเกิดจากกระแสข่าวที่นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ แสดงความพร้อมที่จะลงชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนใหม่
ด้านนายจุติ ไกรฤกษ์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า หลังจากนี้จะหารือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เพราะพรรคมีความจำเป็นในการทำกิจกรรมระดมเงินทุนเพื่อทำกิจกรรมของพรรค และยังมีความจำเป็นในการคลี่คลายความเคลือบแคลงสงสัยในการบริหารงานของกรุงเทพมหานครของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.ในฐานะสมาชิกพรรค โดยเฉพาะโครงการอุโมงค์ไฟแอลอีดี ของกรุงเทพมหานคร ที่ใช้งบประมาณ 39 ล้านบาท และยอมรับว่าส่งผลต่อฐานคะแนนเสียงของพรรค
"สิ่งที่พรรคคำนึงถึงคือความไม่สบายใจของสมาชิกพรรคที่ว่าบางคนในพรรคขัดแย้งกันเองในที่สาธารณะ เราก็พยายามทำความเข้าใจกัน ต้องขอโทษพี่น้องประชาชนเพราะหลายอย่างติดขัดทำไม่ได้ เพราะห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่ก็อยากให้เรื่องนี้จบเคลียร์ เพราะมีหน้าที่ตอบสาธารณชนเพื่อความโปร่งใส สบายใจของทุกฝ่าย" เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ระบุ
ส่วนกรณีที่นายวิลาสยื่นให้ปปช.และสตง.ตรวจสอบความโปร่งใสในการบริหารงานของกรุงเทพมหานครนั้น นายจุติระบุว่า เป็นการกระทำส่วนตัวไม่เกี่ยวกับข้องพรรค
"ยังไม่ให้ประชุม แล้วที่มาพูดปากเปล่า ตามสื่อต่างๆ ผมยังไม่ได้เล่นงานเลย" นายกรัฐมนตรี กล่าว
นายกรัฐมนตรียังระบุถึงปัญหาความไม่ชอบมาพากลในการบริหารงานของกรุงเทพมหานครว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไป รวมถึงการตรวจสอบโครงการแสงสีแห่งความสุข หรืออุโมงค์ไฟแอลอีดี ที่กรุงเทพมหานคร จัดงบประมาณดำเนินการกว่า 39 ล้านบาทด้วย
ก่อนหน้านี้พรรคประชาธิปัตย์ ชี้แจงหลักการในการขออนุญาต คสช.เพื่อเรียกประชุมพรรคไว้ 3 เหตุผล คือ การเรียกประชุมเพื่อจัดระบบการบริหารจัดการภายในพรรค และการคลี่คลายความเคลือบแคลงสงสัย ในการบริหารงานของกรุงเทพมหานครภายใต้การกำกับดูแลของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. ซึ่งมีสถานะเป็นสมาชิกพรรค และแม้ว่าเหตุผลสุดท้ายพรรคประชาธิปัตย์จะปฏิเสธ แต่ก็มีข้อสังเกตว่าจะเป็น 1 ใน 3 เหตุผลที่พรรคประชาธิปัตย์ต้องเรียกประชุม นั่น คือความเห็นต่างของสมาชิกต่อผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชชาชีวะ ซึ่งเกิดจากกระแสข่าวที่นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ แสดงความพร้อมที่จะลงชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนใหม่
ด้านนายจุติ ไกรฤกษ์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า หลังจากนี้จะหารือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เพราะพรรคมีความจำเป็นในการทำกิจกรรมระดมเงินทุนเพื่อทำกิจกรรมของพรรค และยังมีความจำเป็นในการคลี่คลายความเคลือบแคลงสงสัยในการบริหารงานของกรุงเทพมหานครของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.ในฐานะสมาชิกพรรค โดยเฉพาะโครงการอุโมงค์ไฟแอลอีดี ของกรุงเทพมหานคร ที่ใช้งบประมาณ 39 ล้านบาท และยอมรับว่าส่งผลต่อฐานคะแนนเสียงของพรรค
"สิ่งที่พรรคคำนึงถึงคือความไม่สบายใจของสมาชิกพรรคที่ว่าบางคนในพรรคขัดแย้งกันเองในที่สาธารณะ เราก็พยายามทำความเข้าใจกัน ต้องขอโทษพี่น้องประชาชนเพราะหลายอย่างติดขัดทำไม่ได้ เพราะห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่ก็อยากให้เรื่องนี้จบเคลียร์ เพราะมีหน้าที่ตอบสาธารณชนเพื่อความโปร่งใส สบายใจของทุกฝ่าย" เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ระบุ
ส่วนกรณีที่นายวิลาสยื่นให้ปปช.และสตง.ตรวจสอบความโปร่งใสในการบริหารงานของกรุงเทพมหานครนั้น นายจุติระบุว่า เป็นการกระทำส่วนตัวไม่เกี่ยวกับข้องพรรค