นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ตามปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) พร้อมกับการกำหนดให้ผู้ผลิต และผู้นำเข้าต้องติดป้ายแสดงการประหยัดพลังงาน และปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) หรือ ECO Sticker ในวันที่ 1 มกราคม 2559 นั้น โดยขณะนี้ทางกระทรวงได้ทำงานร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมในการอนุมัติป้าย ECO Sticker พร้อมกับทยอยให้กับผู้ประกอบการรถยนต์แล้ว โดยอนุมัติไปแล้วกว่า 667 รุ่นทั้งรถยนต์ขนาดเล็ก เครื่องยนต์ 1.2 พันซีซี รถยนต์ขนาดกลาง ที่มีเครื่องยนต์ 1.8-2 พันซีซี และรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ ในกลุ่มรถซุปเปอร์คาร์
สำหรับการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ตามปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) พร้อมกับให้มีการติดป้าย ECO Sticker นั้นเพราะต้องการให้ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบคุณสมบัติที่แท้จริงของรถยนต์แต่ละรุ่น ทั้งด้านความสะอาด ประหยัดพลังงาน และความปลอดภัย เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ได้อย่างตรงกับความต้องการ และเพื่อให้สามารถจัดเก็บภาษีทั้งในส่วนของผู้บริโภค ผู้ประกอบการ และภาครัฐได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน
สำหรับในปีหน้าประมาณการณ์ว่า จะสามารถจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ได้เพิ่มขึ้นประมาณ 7-8 พันล้านบาท ขณะที่ทั้งปี 2559 คาดว่าจะสามารถจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ได้รวมราว 9.3 หมื่นล้านบาท จากปีนี้ที่ยอดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์อยู่ที่ประมาณ 8 หมื่นล้านบาท และเมื่อเทียบกับปี 2557 ที่ผ่านมากลับพบว่ายอดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ลดลง เพราะในปีนั้นสามารถจัดเก็บได้มากถึง 9.3 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้เป็นผลมาจากสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกเติบโตลดลง ส่งผลให้การสั่งซื้อรถยนต์ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ลดลง
อย่างไรก็ตาม มองว่าแม้ในปีหน้าการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์เพิ่มขึ้นนั้นจะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคมากนัก เพราะมั่นใจว่าผู้ประกอบการรถยนต์จะไม่สามารถปรับราคาสูงได้มากนัก แม้ว่ารถยนต์จะไม่ได้เป็นสินค้าควบคุมก็ตาม และมองว่าถ้าผู้ประกอบการปรับราคาสูงมากเกินไป จะส่งผลเสียต่อบริษัทของตนเองมากกว่า เนื่องจากผู้บริโภคจะหันไปซื้อรถยนต์ที่มีขนาดเดียวกัน รุ่นเดียวกันกับค่ายอื่นทดแทน
สำหรับการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ตามปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) พร้อมกับให้มีการติดป้าย ECO Sticker นั้นเพราะต้องการให้ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบคุณสมบัติที่แท้จริงของรถยนต์แต่ละรุ่น ทั้งด้านความสะอาด ประหยัดพลังงาน และความปลอดภัย เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ได้อย่างตรงกับความต้องการ และเพื่อให้สามารถจัดเก็บภาษีทั้งในส่วนของผู้บริโภค ผู้ประกอบการ และภาครัฐได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน
สำหรับในปีหน้าประมาณการณ์ว่า จะสามารถจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ได้เพิ่มขึ้นประมาณ 7-8 พันล้านบาท ขณะที่ทั้งปี 2559 คาดว่าจะสามารถจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ได้รวมราว 9.3 หมื่นล้านบาท จากปีนี้ที่ยอดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์อยู่ที่ประมาณ 8 หมื่นล้านบาท และเมื่อเทียบกับปี 2557 ที่ผ่านมากลับพบว่ายอดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ลดลง เพราะในปีนั้นสามารถจัดเก็บได้มากถึง 9.3 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้เป็นผลมาจากสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกเติบโตลดลง ส่งผลให้การสั่งซื้อรถยนต์ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ลดลง
อย่างไรก็ตาม มองว่าแม้ในปีหน้าการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์เพิ่มขึ้นนั้นจะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคมากนัก เพราะมั่นใจว่าผู้ประกอบการรถยนต์จะไม่สามารถปรับราคาสูงได้มากนัก แม้ว่ารถยนต์จะไม่ได้เป็นสินค้าควบคุมก็ตาม และมองว่าถ้าผู้ประกอบการปรับราคาสูงมากเกินไป จะส่งผลเสียต่อบริษัทของตนเองมากกว่า เนื่องจากผู้บริโภคจะหันไปซื้อรถยนต์ที่มีขนาดเดียวกัน รุ่นเดียวกันกับค่ายอื่นทดแทน