การประมูลคลื่นความถี่ 900MHz กลับมาสู้กันต่อในวันที่ 4 ในเวลา 00.01 น.หลังจากหยุดพักไป 3 ชั่วโมง ยังคงเคาะราคาแข่งขันกันอย่างต่อเนื่องจนถึงกำหนดหยุกพักการประมูลอีกครั้งในเช้าวันนี้ และยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลง ราคาใบอนุญาตทั้ง 2 ใบทะลุ 1.3 แสนล้านบาทไปแล้ว ขณะที่เช้านี้ผู้เข้าประมูลขออนุญาตฝากของออกมาจากห้องเพื่อทำบุญใส่บาตร
ทั้งนี้ทางกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ออกมาชี้แจงสื่อมวลชน กรณีเปลี่ยนแปลงไม่ให้ผู้ประมูล 4G คลื่น 900MHz ลงมาใส่บาตรบริเวณด้านล่างของอาคารสำนักงานกสทช. ตามกำหนดที่จะมีขึ้นในช่วง 6 โมงเช้าวันนี้ แต่ให้นำของขึ้นไปให้อธิษฐาน และให้ตัวแทนบริษัทใส่แทน เพื่อป้องกันครหา หลังจากเริ่มมีผู้ออกมาท้วงติงผ่านโซเชียลมีเดีย แสดงความเป็นห่วงกรณีแผนการของกสทช.ที่ให้ผู้ประมูลตักบาตรเช้านี้ อาจจะเป็นการเปิดช่องให้คนจ้องฟ้องล้มประมูลคลื่น 900MHz
ในส่วนของการประมูล เมื่อเข้าสู่ชั่วโมงที่ 54 การประมูลรอบที่ 160 ใบที่ 1 เสนอราคา 63,096 ล้านบาท มีผู้แข่งราคา 1 ราย ใบที่ 2 เสนอราคา 65,672. ล้านบาท มีผู้แข่งราคา 2 ราย, รอบที่ 161 ใบที่ 1 เสนอราคา 63,740 ล้านบาท มีผู้แข่งราคา 1 ราย ใบที่ 2 เสนอราคา 65,672 ล้านบาท มีผู้แข่งราคา 2 ราย และ รอบที่ 162 ใบที่ 1 เสนอราคา 64,062 ล้านบาท มีผู้แข่งราคา 1 ราย ใบที่ 2 เสนอราคา 66,316 ล้านบาท มีผู้แข่งราคา 2 ราย
รวมราคาประมูลทั้งสองใบอนุญาตขณะนี้มาอยู่ที่ 130,378 ล้านบาท หลังจากนี้จะพักการประมูล 3 ชั่วโมง 6.00-9.00 น.
สำหรับผู้เข้าประมูลทั้ง 4 ราย ได้แก่ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน), ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ในเครือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค, บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ในเครือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือ เอไอเอส และ บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ในเครือ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ยังคงสู้ราคากันอย่างดุเดือดต่อเนื่อง
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กทค. กล่าวว่า จากผลประมูลรอบล่าสุดแสดงให้เห็นว่าผู้เข้าร่วมประมูลอยู่ครบ 4 ราย และระดับความต่างของราคาใบอนุญาตที่ 1 และ 2 ทำให้คาดว่าจะมีการเคาะราคาประมูลกันต่อไป ขณะเดียวกัน ยังได้เห็นสงครามการแข่งขันราคาเพื่อกันรายใหม่เข้าสู่ตลาด และจัดการคู่แข่งที่เป็นรายเก่าที่ไม่ได้คลื่น 1800 เมกะเฮิร์ต ในการประมูลเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เพื่อที่จะได้เหลือรายใหญ่ในตลาดเพียง 2 ราย ในระหว่างที่ยังไม่มีความแน่นอนในการเปิดประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิร์ต รอบต่อไปหลังปี 2561 เพราะจะทำให้ส่วนแบ่งการตลาดลดลงอย่างรวดเร็ว และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าใบอนุญาตให้กับผู้ที่ชนะประมูลที่ กทค.ได้ผ่อนคลายระยะเวลา เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้มีการเคาะราคาขึ้นไปสูงอย่างต่อเนื่อง
“อย่างไรก็ตาม หากราคาประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิร์ต ยังไม่เกิน 2 เท่าของราคาคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ต ก็ยังไม่น่ากังวล เพราะยังเป็นสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นกับการประมูลความถี่ในย่านเดียวกันในต่างประเทศที่เคยมีการทำสถิติสูงสุด 6.8 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้คาดว่ามีโอกาสที่ราคาประมูลในครั้งนี้จะแตะสถิติโลกหากยืดเยื้อไปถึงวันที่ 18 ธันวาคม” นพ.ประวิทย์ กล่าว และว่า ราคาประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิร์ต ยังไม่แพงเกินไป และยังไม่ถึงระดับราคาที่ไร้เหตุผล หรือเสี่ยงต่อการล้มเหลวทางธุรกิจ เพราะผู้ประกอบการแต่ละราย ต่างต้องการผลประโยชน์หลายประการ ซึ่งได้จากการยิงกระสุน 900 เมกะเฮิร์ต เพียงนัดเดียว
ทั้งนี้ทางกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ออกมาชี้แจงสื่อมวลชน กรณีเปลี่ยนแปลงไม่ให้ผู้ประมูล 4G คลื่น 900MHz ลงมาใส่บาตรบริเวณด้านล่างของอาคารสำนักงานกสทช. ตามกำหนดที่จะมีขึ้นในช่วง 6 โมงเช้าวันนี้ แต่ให้นำของขึ้นไปให้อธิษฐาน และให้ตัวแทนบริษัทใส่แทน เพื่อป้องกันครหา หลังจากเริ่มมีผู้ออกมาท้วงติงผ่านโซเชียลมีเดีย แสดงความเป็นห่วงกรณีแผนการของกสทช.ที่ให้ผู้ประมูลตักบาตรเช้านี้ อาจจะเป็นการเปิดช่องให้คนจ้องฟ้องล้มประมูลคลื่น 900MHz
ในส่วนของการประมูล เมื่อเข้าสู่ชั่วโมงที่ 54 การประมูลรอบที่ 160 ใบที่ 1 เสนอราคา 63,096 ล้านบาท มีผู้แข่งราคา 1 ราย ใบที่ 2 เสนอราคา 65,672. ล้านบาท มีผู้แข่งราคา 2 ราย, รอบที่ 161 ใบที่ 1 เสนอราคา 63,740 ล้านบาท มีผู้แข่งราคา 1 ราย ใบที่ 2 เสนอราคา 65,672 ล้านบาท มีผู้แข่งราคา 2 ราย และ รอบที่ 162 ใบที่ 1 เสนอราคา 64,062 ล้านบาท มีผู้แข่งราคา 1 ราย ใบที่ 2 เสนอราคา 66,316 ล้านบาท มีผู้แข่งราคา 2 ราย
รวมราคาประมูลทั้งสองใบอนุญาตขณะนี้มาอยู่ที่ 130,378 ล้านบาท หลังจากนี้จะพักการประมูล 3 ชั่วโมง 6.00-9.00 น.
สำหรับผู้เข้าประมูลทั้ง 4 ราย ได้แก่ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน), ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ในเครือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค, บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ในเครือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือ เอไอเอส และ บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ในเครือ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ยังคงสู้ราคากันอย่างดุเดือดต่อเนื่อง
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กทค. กล่าวว่า จากผลประมูลรอบล่าสุดแสดงให้เห็นว่าผู้เข้าร่วมประมูลอยู่ครบ 4 ราย และระดับความต่างของราคาใบอนุญาตที่ 1 และ 2 ทำให้คาดว่าจะมีการเคาะราคาประมูลกันต่อไป ขณะเดียวกัน ยังได้เห็นสงครามการแข่งขันราคาเพื่อกันรายใหม่เข้าสู่ตลาด และจัดการคู่แข่งที่เป็นรายเก่าที่ไม่ได้คลื่น 1800 เมกะเฮิร์ต ในการประมูลเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เพื่อที่จะได้เหลือรายใหญ่ในตลาดเพียง 2 ราย ในระหว่างที่ยังไม่มีความแน่นอนในการเปิดประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิร์ต รอบต่อไปหลังปี 2561 เพราะจะทำให้ส่วนแบ่งการตลาดลดลงอย่างรวดเร็ว และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าใบอนุญาตให้กับผู้ที่ชนะประมูลที่ กทค.ได้ผ่อนคลายระยะเวลา เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้มีการเคาะราคาขึ้นไปสูงอย่างต่อเนื่อง
“อย่างไรก็ตาม หากราคาประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิร์ต ยังไม่เกิน 2 เท่าของราคาคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ต ก็ยังไม่น่ากังวล เพราะยังเป็นสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นกับการประมูลความถี่ในย่านเดียวกันในต่างประเทศที่เคยมีการทำสถิติสูงสุด 6.8 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้คาดว่ามีโอกาสที่ราคาประมูลในครั้งนี้จะแตะสถิติโลกหากยืดเยื้อไปถึงวันที่ 18 ธันวาคม” นพ.ประวิทย์ กล่าว และว่า ราคาประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิร์ต ยังไม่แพงเกินไป และยังไม่ถึงระดับราคาที่ไร้เหตุผล หรือเสี่ยงต่อการล้มเหลวทางธุรกิจ เพราะผู้ประกอบการแต่ละราย ต่างต้องการผลประโยชน์หลายประการ ซึ่งได้จากการยิงกระสุน 900 เมกะเฮิร์ต เพียงนัดเดียว