ศาลฎีกาอ่านคำพิพากษาคดีอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร 2 และธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) หรือบีบีซี ร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องนายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ หรือ เสี่ยตั้ว อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บีบีซี ซึ่งเสียชีวิตแล้วด้วยโรคมะเร็งปอด และลิ้นหัวใจรั่ว นายจิตตสร ปราโมช ณ อยุธยา อดีตรองผู้อำนวยการสำนักกรรมการผู้จัดการใหญ่ หม่อมราชวงศ์ดำรงเดช ดิศกุล อดีตผู้บริหารอาวุโส สำนักบริหารเงินและวิเทศกิจ และหม่อมราชวงศ์หญิงสุภาณี สารสิน หรือดิศกุล อดีตรองผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดบีบีซี ฐานร่วมกันยักยอกทรัพย์ และความผิดตาม พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 หลังร่วมกับพวก และนายราเกซ สักเสนา อดีตที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่บีบีซี อนุมัติขายหุ้นเพิ่มทุนของบีบีซีโดยไม่ตรวจสอบประวัติฐานะของบริษัทผู้เข้ามาจองซื้อหุ้น และร่วมกันอนุมัติสินเชื่อให้กับบริษัทเอกชน เมื่อช่วงปี 2538 ถึง 2539
ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้วเห็นว่าคดีนี้เป็นอาชญากรรมทางธุรกิจ มีความซับซ้อนวางแผนเป็นขั้นตอน มีผู้ร่วมกระทำผิดหลายคน พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบมานั้นไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ พิพากษาว่าการรับโอนและการขายหุ้นไม่มีการชำระค่าหุ้น แต่นำเงินสินเชื่อที่อนุมัติให้กับหลายบริษัท ซึ่งไม่ได้ประกอบธุรกิจจริง นำกลับมาซื้อหุ้นเพิ่มทุนบีบีซี ก่อนจะโอนกลับเข้าสู่บัญชีจำเลยที่ 2-4 และนำหุ้นบีบีซีไปขายในราคาที่สูงกว่า เพื่อเก็งกำไรโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายของบีบีซี และประชาชน
ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย พิพากษายืน ให้จำคุกจำเลยที่ 2 ถึง 4 คนละ 6 ปี 8 เดือน และปรับคนละ 666,666 บาท และร่วมกันชดใช้เงินกว่า 85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ส่วนนายเกริกเกียรติ ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ พิพากษา จำคุก 50 ปี แต่ตามกฎหมายให้จำคุก 20 ปี และให้คืนเงินบีบีซีกว่า 167 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้จำหน่ายคดีในส่วนของนายเกริกเกียรติ ออกจากระบบ
นอกจากนี้ ศาลฎีกายังได้อ่านพิพากษาคดีที่หม่อมราชวงศ์อรอนงค์ เทพาคำ อดีตรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารเงินและวิเทศธนกิจ และนางสาวเยาวลักษณ์ นิตย์ธีรานนท์ อดีตรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารเงินและวิเทศธนกิจ คดีที่อัยการยื่นฟ้องเป็นจำเลยร่วมกับนายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ ฐานร่วมกันยักยอกทรัพย์ เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการสินทรัพย์กระทำผิดต่อหน้าที่โดยทุจริต และความผิดตามพระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.253 กรณีร่วมกับนายราเกซ สักเสนา อดีตที่ปรึกษา กรรมการผู้จัดการใหญ่บีบีซี ยักยอกทรัพย์บีบีซี มูลค่ากว่า 1,228 ล้านบาท จากการลงนามทำสัญญาแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ธนบัตร ระหว่างบีบีซี กับบริษัท ดิเวลลอปเมนท์ ไฟแนนซ์ แอนด์ อินเวสเมนท์ จำกัด เมื่อเดือนพฤษภาคม 2538
ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้วเห็นว่าพยานหลักฐานของฝ่ายจำเลย ไม่สามารถหักล้างพยานของฝ่ายโจทก์ได้ ที่ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ พิพากษามานั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย พิพากษายืนจำคุก หม่อมราชวงศ์อรอนงค์ และนางสาวเยาวลักษณ์ คนละ 20 ปี ปรับ 1,157 ล้านบาท พร้อมชดใช้เงินคืนแก่บีบีซี จำนวน 589 ล้านบาท และจำหน่ายนายเกริกเกียรติ จำเลยที่ 1 ออกจากสารบบ
อีกคดีเป็นคดีที่นายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ จำเลยที่ 1 นางพรจันทร์ จันทรขจร จำเลยที่ 2 และนางสุภาพร ทิพยศักดิ์ จำเลยที่ 3 ตกเป็นจำเลย โดยทนายของจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลว่านายเกริกเกียรติเสียชีวิต แจ้งให้ศาลพิจารณาเรื่องการเสียชีวิตและการพิจารณาสำนวนใหม่ ขณะที่จำเลยที่ 2 วันนี้ไม่มาฟังคำพิพากษา ศาลจึงออกหมายจับนำตัวมาดำเนินคดี และได้ส่งสำนวนคดีทั้งหมดให้กับศาลฎีกา พิจารณาสำนวนใหม่เกี่ยวกับกรณีการเสียชีวิตของจำเลยที่ 1 นายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ และเตรียมนัดฟังคำพิพากษาอีกครั้ง
ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้วเห็นว่าคดีนี้เป็นอาชญากรรมทางธุรกิจ มีความซับซ้อนวางแผนเป็นขั้นตอน มีผู้ร่วมกระทำผิดหลายคน พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบมานั้นไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ พิพากษาว่าการรับโอนและการขายหุ้นไม่มีการชำระค่าหุ้น แต่นำเงินสินเชื่อที่อนุมัติให้กับหลายบริษัท ซึ่งไม่ได้ประกอบธุรกิจจริง นำกลับมาซื้อหุ้นเพิ่มทุนบีบีซี ก่อนจะโอนกลับเข้าสู่บัญชีจำเลยที่ 2-4 และนำหุ้นบีบีซีไปขายในราคาที่สูงกว่า เพื่อเก็งกำไรโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายของบีบีซี และประชาชน
ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย พิพากษายืน ให้จำคุกจำเลยที่ 2 ถึง 4 คนละ 6 ปี 8 เดือน และปรับคนละ 666,666 บาท และร่วมกันชดใช้เงินกว่า 85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ส่วนนายเกริกเกียรติ ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ พิพากษา จำคุก 50 ปี แต่ตามกฎหมายให้จำคุก 20 ปี และให้คืนเงินบีบีซีกว่า 167 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้จำหน่ายคดีในส่วนของนายเกริกเกียรติ ออกจากระบบ
นอกจากนี้ ศาลฎีกายังได้อ่านพิพากษาคดีที่หม่อมราชวงศ์อรอนงค์ เทพาคำ อดีตรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารเงินและวิเทศธนกิจ และนางสาวเยาวลักษณ์ นิตย์ธีรานนท์ อดีตรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารเงินและวิเทศธนกิจ คดีที่อัยการยื่นฟ้องเป็นจำเลยร่วมกับนายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ ฐานร่วมกันยักยอกทรัพย์ เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการสินทรัพย์กระทำผิดต่อหน้าที่โดยทุจริต และความผิดตามพระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.253 กรณีร่วมกับนายราเกซ สักเสนา อดีตที่ปรึกษา กรรมการผู้จัดการใหญ่บีบีซี ยักยอกทรัพย์บีบีซี มูลค่ากว่า 1,228 ล้านบาท จากการลงนามทำสัญญาแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ธนบัตร ระหว่างบีบีซี กับบริษัท ดิเวลลอปเมนท์ ไฟแนนซ์ แอนด์ อินเวสเมนท์ จำกัด เมื่อเดือนพฤษภาคม 2538
ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้วเห็นว่าพยานหลักฐานของฝ่ายจำเลย ไม่สามารถหักล้างพยานของฝ่ายโจทก์ได้ ที่ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ พิพากษามานั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย พิพากษายืนจำคุก หม่อมราชวงศ์อรอนงค์ และนางสาวเยาวลักษณ์ คนละ 20 ปี ปรับ 1,157 ล้านบาท พร้อมชดใช้เงินคืนแก่บีบีซี จำนวน 589 ล้านบาท และจำหน่ายนายเกริกเกียรติ จำเลยที่ 1 ออกจากสารบบ
อีกคดีเป็นคดีที่นายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ จำเลยที่ 1 นางพรจันทร์ จันทรขจร จำเลยที่ 2 และนางสุภาพร ทิพยศักดิ์ จำเลยที่ 3 ตกเป็นจำเลย โดยทนายของจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลว่านายเกริกเกียรติเสียชีวิต แจ้งให้ศาลพิจารณาเรื่องการเสียชีวิตและการพิจารณาสำนวนใหม่ ขณะที่จำเลยที่ 2 วันนี้ไม่มาฟังคำพิพากษา ศาลจึงออกหมายจับนำตัวมาดำเนินคดี และได้ส่งสำนวนคดีทั้งหมดให้กับศาลฎีกา พิจารณาสำนวนใหม่เกี่ยวกับกรณีการเสียชีวิตของจำเลยที่ 1 นายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ และเตรียมนัดฟังคำพิพากษาอีกครั้ง