นายธนวรรธ์ พลวิชัย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า จากคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจไทยตลอดปี 2558 มีโอกาสขยายตัวในระดับร้อยละ 3 ปรับลดจากก่อนหน้านี้ ที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 3.1 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรมของรัฐบาล
ส่วนภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2559 มีโอกาสขยายตัวในระดับประมาณร้อยละ 4 โดยการส่งออกสินค้าตลอดทั้งปี 2559 มีโอกาสที่ขยายตัวอยู่ในระดับร้อยละ 4 เช่นกัน โดยมีปัจจัยบวกหลายปัจจัย หนึ่งในนั้นคือมาตรการกระตุ้นการบริโภค การลงทุน ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนในไตรมาสที่ 1/2559 เป็นต้นไป รวมทั้งภาคการท่องเที่ยว ยังมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเป็นทางการ รวมไปถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา
สำหรับปัจจัยลบที่มีผลต่อเศรษฐกิจปี 2559 ได้แก่ การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (เฟด) ซึ่งมีผลทำให้การเงินผันผวน ปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือน ปัญหาภัยแล้งที่ยาวนาน อีกทั้งต้นทุนการผลิต ค่าครองชีพมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน จากการปรับนโยบายเศรษฐกิจที่เน้นการใช้สินค้าในประเทศ ลดการนำเข้า รวมถึงความกังวลต่อภาวะสงครามและก่อการร้าย
ส่วนภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2559 มีโอกาสขยายตัวในระดับประมาณร้อยละ 4 โดยการส่งออกสินค้าตลอดทั้งปี 2559 มีโอกาสที่ขยายตัวอยู่ในระดับร้อยละ 4 เช่นกัน โดยมีปัจจัยบวกหลายปัจจัย หนึ่งในนั้นคือมาตรการกระตุ้นการบริโภค การลงทุน ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนในไตรมาสที่ 1/2559 เป็นต้นไป รวมทั้งภาคการท่องเที่ยว ยังมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเป็นทางการ รวมไปถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา
สำหรับปัจจัยลบที่มีผลต่อเศรษฐกิจปี 2559 ได้แก่ การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (เฟด) ซึ่งมีผลทำให้การเงินผันผวน ปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือน ปัญหาภัยแล้งที่ยาวนาน อีกทั้งต้นทุนการผลิต ค่าครองชีพมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน จากการปรับนโยบายเศรษฐกิจที่เน้นการใช้สินค้าในประเทศ ลดการนำเข้า รวมถึงความกังวลต่อภาวะสงครามและก่อการร้าย