ผศ.ดร.กัมปนาท เพ็ญสุภา รองคณบดีฝ่ายวิจัยและผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร ได้วิเคราะห์ข้อคิดเห็นของเกษตรกรในมาตรการการช่วยเหลือของรัฐบาลทั้ง 8 มาตรการ 26 กิจกรรม พบว่า ทั้ง 8 มาตรการเป็นโครงการที่ดีและมีประโยชน์ต่อเกษตรกร แต่ยังไม่ตรงตามความต้องการของเกษตรกรอย่างแท้จริง เนื่องจากแต่ละท้องที่มีลักษณะต่างกัน ซึ่งความแตกต่างในพื้นที่เหล่านี้ส่งผลให้ความต้องการการช่วยเหลือแตกต่างกันออกไปด้วย
ทั้งนี้ ผลการศึกษาในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคกลาง คือ สิงห์บุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา และสระบุรี ในภาพรวมพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 53.5 ปี มีพื้นที่ทำนาเฉลี่ยครัวเรือนละ 36.6 ไร่ เป็นเจ้าของเฉลี่ยครัวเรือนละ 17.2 ไร่ เป็นพื้นที่นาเช่าเฉลี่ยครัวเรือนละ 28.4 ไร่ และเมื่อสอบถามถึงการทำนาปรังในปีที่ผ่านมานั้นพบว่า เกษตรกรยังคงทำนาปรังเฉลี่ย 23.4 ไร่
ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร ยังระบุด้วยว่า ในการงดทำนาปรังปีที่ผ่านมา มีเกษตรกรส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 83.5 ที่ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐ มีเพียงร้อยละ 16.5 ที่ได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ สำหรับการข่วยเหลือจากภาครัฐที่เกษตรกรได้รับมากที่สุด คือ ด้านพืช คิดเป็นร้อยละ 12.8 ส่วนเกษตรกรที่ยอมรับสภาพน้ำแล้งมีการหยุดทำนาปรังร้อยละ 76.3 มีการปลูกพืชทดแทนและทำอาชีพนอกภาคเกษตร คิดเป็นร้อยละ 17.5 และ 6.2 ตามลำดับ
สำหรับข้อเสนอแนะนั้น เนื่องจากเกษตรกรมีอายุเฉลี่ยสูงถึง 53.5 ปี บางโครงการที่ใช้แรงงานจึงไม่เหมาะสม เรื่องระยะเวลาการจ้างงานของโครงการต่าง ๆ ควรมีความชัดเจน โครงการเสริมสร้างศักยภาพเกษตรกรต้องเริ่มดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม และภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการคัดเลือกเกษตรกรเป้าหมายเพื่อเป็นแนวทางในการถ่ายทอดความสำเร็จ โดยควรคัดเลือกจากเกษตรกรรายเล็ก เป็นต้น
ทั้งนี้ ผลการศึกษาในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคกลาง คือ สิงห์บุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา และสระบุรี ในภาพรวมพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 53.5 ปี มีพื้นที่ทำนาเฉลี่ยครัวเรือนละ 36.6 ไร่ เป็นเจ้าของเฉลี่ยครัวเรือนละ 17.2 ไร่ เป็นพื้นที่นาเช่าเฉลี่ยครัวเรือนละ 28.4 ไร่ และเมื่อสอบถามถึงการทำนาปรังในปีที่ผ่านมานั้นพบว่า เกษตรกรยังคงทำนาปรังเฉลี่ย 23.4 ไร่
ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร ยังระบุด้วยว่า ในการงดทำนาปรังปีที่ผ่านมา มีเกษตรกรส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 83.5 ที่ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐ มีเพียงร้อยละ 16.5 ที่ได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ สำหรับการข่วยเหลือจากภาครัฐที่เกษตรกรได้รับมากที่สุด คือ ด้านพืช คิดเป็นร้อยละ 12.8 ส่วนเกษตรกรที่ยอมรับสภาพน้ำแล้งมีการหยุดทำนาปรังร้อยละ 76.3 มีการปลูกพืชทดแทนและทำอาชีพนอกภาคเกษตร คิดเป็นร้อยละ 17.5 และ 6.2 ตามลำดับ
สำหรับข้อเสนอแนะนั้น เนื่องจากเกษตรกรมีอายุเฉลี่ยสูงถึง 53.5 ปี บางโครงการที่ใช้แรงงานจึงไม่เหมาะสม เรื่องระยะเวลาการจ้างงานของโครงการต่าง ๆ ควรมีความชัดเจน โครงการเสริมสร้างศักยภาพเกษตรกรต้องเริ่มดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม และภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการคัดเลือกเกษตรกรเป้าหมายเพื่อเป็นแนวทางในการถ่ายทอดความสำเร็จ โดยควรคัดเลือกจากเกษตรกรรายเล็ก เป็นต้น