นายพินิต เลิศอุดมธนา รองผู้อำนวยการสำนักการโยธากรุงเทพมหานคร(กทม.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาโครงการพัฒนาทางเดินริมแม่น้ำเจ้าพระยา กล่าวว่า ตนได้ทำเรื่องเสนอผู้บริหารกทม. ในการขอยกเลิกการประกวดราคาคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาที่จะทำหน้าที่ศึกษาและออกแบบโครงการ เนื่องจากมีเพียงบริษัทเดียวที่เสนอตัวเข้ามา ทำให้ไม่มีข้อเปรียบเทียบและการแข่งขันพร้อมเสนอแนวคิดเจรจาจัดจ้างสถาบันการศึกษาเข้ามาทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาโครงการฯ แทนโดยจะเชิญสถาบันที่สนใจขณะนี้ได้ประสานไปยังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว ซึ่งต้องรอการพิจารณาของคณะผู้บริหารกทม.ว่าจะเห็นชอบแนวทางนี้หรือไม่
ทั้งนี้การให้สถาบันการศึกษาเป็นที่ปรึกษาโครงการมีข้อดีคือ กระบวนการคัดเลือกจะเร็วกว่าแน่นอน อีกทั้งทางสถาบันส่วนใหญ่จะมีหลายศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอาทิ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์ ซึ่งเป็นไปตามระเบียบราชพัสดุ ที่เปิดให้จัดจ้างสถาบันการศึกษาได้
ด้านผศ.ดร.ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ หัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตนและทางจุฬาฯได้รับทราบแล้ว กรณีที่กทม.จะเปลี่ยนวิธีการคัดเลือกบริษัทเอกชนแล้วมาเจรจากับสถาบันการศึกษาให้เป็นที่ปรึกษาแทน ซึ่งจุฬาฯ ได้รับการประสานจากสำนักการโยธากทม.แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณา แต่โดยส่วนตัวมีความเห็นว่าหากกทม.ยังไม่แก้ไขร่างประกวดราคาหรือทีโออาร์ ที่มีแนวทางไม่ถูกต้องและชัดเจน เพราะกำหนดเวลาให้ที่ปรึกษาทำการศึกษาในระยะเวลาเพียง 7 เดือนเท่านั้น คิดว่าคงไม่มีผู้ใดทำสำเร็จ จึงขอเสนอให้กทม.ควรเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดทีโออาร์ให้มีระยะเวลาศึกษาที่มากกว่านี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
ทั้งนี้การให้สถาบันการศึกษาเป็นที่ปรึกษาโครงการมีข้อดีคือ กระบวนการคัดเลือกจะเร็วกว่าแน่นอน อีกทั้งทางสถาบันส่วนใหญ่จะมีหลายศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอาทิ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์ ซึ่งเป็นไปตามระเบียบราชพัสดุ ที่เปิดให้จัดจ้างสถาบันการศึกษาได้
ด้านผศ.ดร.ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ หัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตนและทางจุฬาฯได้รับทราบแล้ว กรณีที่กทม.จะเปลี่ยนวิธีการคัดเลือกบริษัทเอกชนแล้วมาเจรจากับสถาบันการศึกษาให้เป็นที่ปรึกษาแทน ซึ่งจุฬาฯ ได้รับการประสานจากสำนักการโยธากทม.แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณา แต่โดยส่วนตัวมีความเห็นว่าหากกทม.ยังไม่แก้ไขร่างประกวดราคาหรือทีโออาร์ ที่มีแนวทางไม่ถูกต้องและชัดเจน เพราะกำหนดเวลาให้ที่ปรึกษาทำการศึกษาในระยะเวลาเพียง 7 เดือนเท่านั้น คิดว่าคงไม่มีผู้ใดทำสำเร็จ จึงขอเสนอให้กทม.ควรเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดทีโออาร์ให้มีระยะเวลาศึกษาที่มากกว่านี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง