นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า มูลนิธิป๋วย อึ๊งภากรณ์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เสนอไปยังรัฐบาลไทยตั้งแต่ปีที่แล้ว เพื่อให้เสนอชื่ออาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์เป็นบุคคลสำคัญของโลก ซึ่งล่าสุดได้ผ่านกระบวนการพิจารณาขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) เรียบร้อยแล้ว
"ในช่วงเวลา 16:00 น. ของเมื่อวันที่ 18 พ.ย.2558 ที่ผ่านมา ที่กรุงปารีส ที่ประชุมใหญ่ยูเนสโกได้ให้ความเห็นชอบตามที่อนุกรรมการเสนอให้ยกย่องอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยเมื่อยูเนสโกมีมติแล้ว รัฐบาลเจ้าภาพจะต้องจัดงานเฉลิมฉลอง ซึ่ง มธ.ได้เตรียมการไว้แล้ว"
ทั้งนี้การเสนอชื่อ อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นบุคคลสำคัญของโลกดังกล่าว อยู่ในช่วงครบรอบ 100 ปีชาตกาล โดยได้รับการสนับสนุนจาก ฟิลิปปินส์ และ เวียดนาม
อาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย เคยเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย สมาชิกขบวนการเสรีไทย และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ใน พ.ศ. 2508 และเป็นเจ้าของข้อเขียน "คุณภาพชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน"
ในช่วงปี 2519 หลังเกิดรัฐประหารนำโดย พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ อาจารย์ป๋วยได้เดินทางออกนอกประเทศไปยุโรป ก่อนจะเดินทางกลับมาในประเทศไทย ช่วงปี 2530 และกลับไปใช้ชีวิตในต่างประเทศอีก ก่อนจะถึงแก่กรรมที่บ้านพักในกรุงลอนดอน เมื่อปี 2542 ในวัย 83 ปี
"ในช่วงเวลา 16:00 น. ของเมื่อวันที่ 18 พ.ย.2558 ที่ผ่านมา ที่กรุงปารีส ที่ประชุมใหญ่ยูเนสโกได้ให้ความเห็นชอบตามที่อนุกรรมการเสนอให้ยกย่องอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยเมื่อยูเนสโกมีมติแล้ว รัฐบาลเจ้าภาพจะต้องจัดงานเฉลิมฉลอง ซึ่ง มธ.ได้เตรียมการไว้แล้ว"
ทั้งนี้การเสนอชื่อ อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นบุคคลสำคัญของโลกดังกล่าว อยู่ในช่วงครบรอบ 100 ปีชาตกาล โดยได้รับการสนับสนุนจาก ฟิลิปปินส์ และ เวียดนาม
อาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย เคยเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย สมาชิกขบวนการเสรีไทย และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ใน พ.ศ. 2508 และเป็นเจ้าของข้อเขียน "คุณภาพชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน"
ในช่วงปี 2519 หลังเกิดรัฐประหารนำโดย พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ อาจารย์ป๋วยได้เดินทางออกนอกประเทศไปยุโรป ก่อนจะเดินทางกลับมาในประเทศไทย ช่วงปี 2530 และกลับไปใช้ชีวิตในต่างประเทศอีก ก่อนจะถึงแก่กรรมที่บ้านพักในกรุงลอนดอน เมื่อปี 2542 ในวัย 83 ปี